ทำความรู้จัก “ภัยแล้ง” กับพืชที่ควรปลูก เพิ่มผลผลิตมีรายได้เลี้ยงชีพ

 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ภัยแล้ง” เป็นปัญหาทางธรรมชาติที่เกษตรกรหลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ถึงกระนั้นเราก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เนื่องจากเมืองไทยของเรามักมีปัญหาเรื่องน้ำไม่เพียงพอต่อการเกษตรบ่อย ๆ โดยเฉพาะช่วงหน้าร้อน จะทำอย่างไรดีเพื่อให้ยังคงเพิ่มผลผลิตมีรายได้เลี้ยงชีพต่อไป เป็นสิ่งที่ต้องมองหาแนวทางอย่างถูกต้อง เพื่อรู้จักกับปัญหาดังกล่าวรวมถึงเข้าใจวิธีแก้ไข

ทำความรู้จัก “ภัยแล้ง” คืออะไร?

ต้องอธิบายว่าภัยแล้ง คือ ความแห้งแล้งที่เกิดขึ้นทางธรรมชาติจากภัยทางอากาศและพื้นดิน ที่เราไม่สามารถควบคุมหรือคาดเดาได้ เมื่อฝนที่ควรตกลงมาให้ความชุ่มชื้นกลับไม่เป็นไปตามฤดูกาล หรือตกลงมาน้อยกว่าปกติ พื้นดินจึงเกิดความแห้งแล้ง ส่งผลกระทบต่อผู้คน เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะภาคเกษตรกร ประเทศไทยเราพบได้บ่อยในภาคอีสาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะเกิดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน ทั้งความชื้นในอากาศ ความชื้นในดิน ระยะเวลาที่แห้งแล้ง ขนาดของพื้นดินที่แห้งแล้ง เป็นต้น

อย่างไรแล้ว ภัยแล้วเกิดขึ้นได้ทั้งทางธรรมชาติ อย่างที่บอกคือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป อุณหภูมิโลห ระดับน้ำทะเล ภัยทางธรรมชาติ อย่างฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลอย่างที่ควรจะเป็น ฝนตกน้อย ทิ้งช่วง เกิดแผ่นดินไหว วาตภัย (พายุ) ฯลฯ รวมทั้งเกิดจากฝีมือมนุษย์เราเอง ได้แก่ การตัดไม้ทำลายป่า พฤติกรรมที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ทำลายชั้นบรรยากาศของโลก โดยผลกระทบนั้นเกิดขึ้นครอบคลุม ทั้งขาดแคลนน้ำไว้ดื่มกิน หรือใช้งาน มีฝุ่นละอองเยอะ ภูมิทัศน์เกิดการกัดเซาะ เกิดปัญหาดินพังทลาย ผลกระทบต่อสัตว์บก สัตว์น้ำที่เป็นระบบนิเวศน์ด้านที่อยู่อาศัย ไปจนถึงภาคอุตสาหกรรมที่ไม่มีน้ำใช้

ปลูกพืชทนแล้ง ช่วยเสริมรายได้ยามฝนทิ้งช่วง ฝนตกน้อย

ด้วยความที่ต้องหาเลี้ยงชีพสร้างรายได้แม้จะอยู่ในเวลาฝนทิ้งช่วง ฝนตกน้อย แน่นอนว่าควรเลือกปลูกพืชทนแล้ง เพราะมีคุณสมบัติในการเจริญเติบโตได้ดีกรณีดินแห้งแล้งก็ไม่หวั่นไหว หรือฝนตกน้อย ฝนทิ้งช่วง สามารถทนทานและอยู่รอดได้สบาย ซึ่งลักษณะของพืชประเภทนี้จะเป็นพืชไร่ที่มีช่วงการเก็บเกี่ยวสั้น ออกผลผลิตไม่นาน แบ่งออกเป็น

พืชทางเศรษฐกิจ

งาดำ งาขาว

พืชตระกูลแตง ได้แก่ ฟักแฟง แตงโม ฟักทอง แตงกวา

ถั่วต่าง ๆ ทั้งถั่วฝักยาว ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว

ข้าวไร่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง

สมุนไพรบางชนิด เช่น ข่า มะกรูด ขมิ้นชันไพร

ผลไม้ที่ทนแล้งได้ดี อายุยืนยาว

อินทผลัม ทนทุกสภาพดินโดยเฉพาะช่วงภัยแล้ง

มะละกอ ปลูกได้ทุกสภาพดิน อายุปานกลาง ผลผลิตมีให้ต่อเนื่อง

มะพร้าว ทนแล้งได้ดีมาก

มันสำปะหลัง ปลูกในหน้าแล้งได้ดี แต่เหมาะสมจะเป็นดินร่วนปนทราย

ตะบองเพชร หรือแก้วมังกร จะทนแล้งได้ดีปลูกในพื้นที่ดอน ซึ่งแก้วมังกรจะมีรากอากาศที่เติบโตได้ดีแม้ตรงนั้นดินจะไม่มากก็ตาม

ต้องการปลูกไม้ทนแล้ง แต่ไม่รู้มีต้นอะไรบ้าง?

เกษตรกรคนใดเกิดความสงสัยปลูกไม้ทนแล้ง อะไรบ้าง? วันนี้เราได้รวบรวมมาให้ศึกษาหลากหลาย ชนิดที่นำไปปรับใช้ได้ตามความต้องการ โดยไม้ทนแล้งจะเป็นต้นไม้ที่เราสามารถนำไปปลูกได้แม้จะอยู่ในช่วงภัยแล้งก็ตาม ยังคงเติบโตได้ดีไม่มีปัญหา ใช้น้ำน้อย ไม่มีเวลาดูแลแค่ไหนก็ไม่ตายง่าย ๆ ซึ่งไม้ทนแล้งที่น่าสนใจ ได้แก่

สะเดา ถือเป็นต้นไม้ที่ท้องตลาดต้องการ สามารถปลูกได้ทุกสภาพอากาศ ขึ้นง่าย ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกาย

หมาก เป็นไม้ยืนต้นที่เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ทนแดด ใบร่วงน้อย ลำต้นตรงเป็นปล้อง

ดาวเรือง เป็นดอกไม้ที่ท้องตลาดต้องการ สามารถนำมาทำอาหาร จำหน่ายไม้ประดับ ด้านความงาม เนื่องจากดูแลง่ายและไม่ต้องลงทุนมาก

ต้นลิ้นมังกรแคระ เป็นต้นที่มีใบเป็นแท่งกลมยาว ขอบใบเรียบ หนามัน ทนทุกสภาพอากาศจะร้อนจัด แห้งแล้ง หนาว แสงแดดน้อย ได้หมด

ทองหลาง เป็นต้นไม้ขนาดกลางที่ลำต้นจะมีหนาม ใบทน ทนต่อพื้นดินที่แห้งแล้ง โดยดูดกักเก็บน้ำไว้ในลำต้น

สับปะรดสี เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่ขยายพันธุ์ได้ง่าย จะนำไปประดับตกแต่ง ทำสวน ได้หมด ทนทุกสภาพอากาศ

กันเกรา เป็นไม้มงคลที่ขึ้นได้ทุกสภาพพื้นดิน ลำต้นสูงใหญ่ออกดอกเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอม ให้ร่มเงาได้ดี

ไผ่ตงลืมแล้ง ใช้น้ำน้อย ไม่ต้องการมาก มักถูกปลูกไว้ตามหัวไร่ปลายนา

พริก ซึ่งจัดเป็นพืชทนแล้งที่ปลูกได้ทุกสภาพพื้นดิน ออกผลผลิตตลอด ทนภัยแล้งได้ดี

แก้วมุกดา หรือโกงกางเขา ใบรูปวงรี หนา มัน เหนียว ไม้พุ่มทรงเตี้ย มีกลิ่นหอมคล้ายดอกแก้ว ไม่ค่อยผลัดใบ ชอบแสงแดดจัด ๆ

ว่านหางจระเข้ สามารถใช้ในภาคเครื่องสำอางได้ ไม่ต้องรดน้ำมากก็เจริญเติบโตได้ดี ท้องตลาดมีความต้องการอย่างที่สุด

ไทรเกาหลีเป็นไม้ทรงพุ่มสวย สามารถนำมาใช้ตกแต่งบ้านได้ กำบังสายตาได้ความเป็นส่วนตัว สามารถปลูกแล้วนำไปขายให้นักตกแต่งบ้านได้กำไรงาม

หลักการในการดูแลบรรดาไม้ทนแล้งเหล่านี้นั้น ต้องหมั่นใส่ปุ๋ยที่มีทั้งอนินทรีย์และอินทรีย์ เพื่อช่วยเร่งการเจริฐเติบโต คอยกำจัดวัชพืช ทำให้เจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น อย่างน้อยเดือนละครั้ง อาจจะคอยป้องกันสิ่งรบกวน กำจัดโรคพืชต่าง ๆ ด้วยให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาเป็นกำไรนำไปขายต่อได้ตามความต้องการท้องตลาด มีรายได้เลี้ยงชีพแม้จะอยู่ในช่วงภัยแล้งก็ไม่ต้องกลัวไปโดยปริยาย

ข้อมูลจาก https://www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id=51

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (Biochemical Sequence) - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ