บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2022

ดินเหนียวแก้ได้ด้วยวิธีธรรมชาติ

รูปภาพ
 ดินเหนียวแก้ได้ด้วยวิธีธรรมชาติ ดินเป็นปัจจัยหลักในการปลูกพืชผักและในการทำสวนทุกอย่างล้วนใช้ดินแทบทั้งสิ้น ซึ่งหากดินมีแร่ธาตุที่ไม่พอในการปลูกพืชผักหรือในการทำสวนก็ทำให้ผลผลิตไม่ดีและไม่ได้คุณภาพ เช่น การที่ดินเหนียวมากเกินไปก็เป็นเรื่องที่ไม่ดีเช่นกัน ดินเหนียวเป็นดินที่เมื่อเปียกน้ำหรือโดนรดน้ำมากๆ ดินจะมีความยืดหยุ่นสูง ทำให้ปั้นเป็นก้อนได้ มีความเหนียวและเหนอะหนะติดมือ มีความอุ้มน้ำได้นาน จึงเป็นที่นิยมในการใช้ดินเหนียวมาปั้นเป็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นหม้อ หรือไห หรือโอ่ง ต่างก็เป็นการใช้ดินเหนียวปั้นทั้งสิ้น เมื่อต้องใช้ดินในการทำสวนของชาวเกษตรกรดินเหนียวจึงต้องทำการปรับดินให้มีสภาพร่วนซุยสามารถใช้ในการปลูกพืชผักได้ การใช้จุลินทรีย์ในการเข้ามาช่วยปรับสภาพของดินเหนียวจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์และสามารถทำเกษตรกรได้ดีขึ้น ประโยชน์ของจุลินทรีย์ก็คือ การช่วยปรับสภาพดินที่เป็นกรดเป็นด่างในน้ำได้ ช่วยแก้ปัญหาเรื่องแมลงและโรคระบาดของพืชได้ และยังช่วยปรับสภาพดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและให้อากาศผ่านได้อย่างเหมาะสม การใช้จุลินทรีย์แก้ดินเหนียวจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม

เมื่อดินมีปัญหา ต้องแก้ปัญหาให้ดิน

รูปภาพ
 30% ของพื้นที่ทั่วประเทศไทย ดินมีปัญหาขาดอินทรียวัตถุ ที่เป็นแบบนี้มีหลายสาเหตุ อาทิ ประเทศเราอยู่ในเขตร้อนชื้น เหมาะต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์, การปลูกพืชที่ไม่ใส่ใจใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือแม้แต่การเผาทำลายเศษซากวัสดุอินทรีย์ รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่ารุนแรง ล้วนเป็นสาเหตุของปัญหาดินขาดอินทรียวัตถุ อินทรียวัตถุมีบทบาทต่อดินอย่างไรเป็นอาหารของจุลินทรีย์ที่สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ส่งเสริมการเกิดเม็ดดิน ปรับปรุงโครงสร้างดิน การระบายน้ำ อากาศเพื่มความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) ดินเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาดิน (pH)เพิ่มความเสถียรของเม็ดดิน ลดการกร่อนของดินเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำของดินเพิ่มช่วงความชื้นที่เป็นประโยชน์ในดิน ทั้งนี้ เมื่อดินเกิดปัญหาขาดอินทรียวัตถุ ใช่ว่าจะเยียวยาหรือรักษาไม่ได้ ในฐานะเกษตรกรผู้ใช้ประโยชน์จากดิน เราต้องรู้จักและบำรุงรักษา และแก้ปัญหาเมื่อดินไม่โอเค การจัดการปัญหาดินที่ขาดอินทรียวัตถุมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้ การจัดการปัญหาดินที่มีอินทรียวัตถุต่ำ-ต่ำมาก ลดการไถพรวนให้น้อยที่สุด หรือทำการเกษตรแบบไม่ไถพรวน ลดการปล่อยพื้นที่ว่าง โดยใช้เศษวัสดุทางการเ

มลพิษในดิน

รูปภาพ
มลพิษทางดินหมายถึงดินที่เสื่อมค่าไปจากเดิมและหรือมีสารมลพิษเกินขีดจำกัดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และพลานามัย ตลอดจน การเจริญเติบโตของพืช และสัตว์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ปัญหามลพิษของดินเกิดขึ้นจากการทำลายหรืการเกิดการถดถอยของคุณภาพหรือคุณลักษณะของสภาวะใดสภาวะหนึ่ง ที่เกิดจากมลสาร (Pollutant) ที่ก่อให้เกิดมลภาวะดินเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กสามารถฟุ้งกระจายไปในอากาศดินจะมลสารที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศซึ่งความรุนแรงนั้นขึ้นอยู่กับจะขึ้นกับว่าอนุภาคดินนั้นมีองค์ประกอบอย่างไรสภาพทางอุตุนิยมวิทยาสภาพพื้นที่เป็นต้นในกรณีที่คล้ายคลึงกันหากอนุภาคดินถูกพัดพาไปยังแหล่งน้ำดินที่เป็นมลสารจะก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางน้ำโดยตรงทั้งทางคุณภาพและปริมาณอีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาโดยอ้อมเมื่ออนุภาคดินนั้นมีธาตุอาหารที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชน้ำก่อให้เกิดภาวะขาดออกซิเจนในแหล่งน้ำสัตว์น้ำในแหล่งน้ำนั้นได้รับผลกระทบเกิดกลิ่นเหม็นของก๊าซไข่เน่า (hydrogen sulfide, H2S) อันตรายจากมลพิษทางดิน  1. อันตรายต่อมนุษย์มนุษย์จะได้รับพิษของสารประกอบไนเทรต ไนไทรต์ในยาปราบศัตรูพืชจากน้ำดื่ม น้ำใช้ในแหล่งเกษตรกรรมและจากผลผล

อาการขาดธาตุอาหารต่าง ๆ ของอ้อย

รูปภาพ
 อาการขาดธาตุอาหารต่าง ๆ ของอ้อย ขาดไนโตรเจน (N) ใบแก่ เหี่ยวตายใบเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อน เป็นสีเหลืองก้านใบสั้นและเรียวส่วนปลายและขอบใบแก่ ไหม้ 2. ขาดฟอสฟอรัส (P) ปลายใบ เปลี่ยนเป็น สีแดงและสีม่วงใบเรียวลำต้นอ้อยสั้น และเรียวลีบการแตกกอไม่ดี 3. ขาดโพแทสเซียม (K) ปลายใบและขอบใบ เป็น สีเหลืองส้มลำต้น เรียวลีบใบแก่ มีสีน้ำตาล หรือ ไหม้แกนบิดเบี้ยว ปลายใบพันกัน หรือ "ฉีกแยกออก 4. ขาด แคลเซียม (Ca) ใบหยัก และ ปลายใบและขอบใบ เป็น สีเหลืองส้มแกนใบมักจะฝ่อลักษณะใบมีสีสนิม และโคนใบ ตายอย่างรวดเร็ว 5. ขาดแมกนีเซียม (Mg) ปรากฏ จุดด่างดำ ที่ปลาย และ ขอบใบมีรอยแผล สีแดงสนิม ปรากฏ บนใบภายในของเปลือกใบ เป็นสีน้ำตาล 6. ขาดซัลเฟอร์ (S) ใบอ่อน มีสีเหลืองใบ ลีบสั้น และ ลำต้นเรียวลีบ 7. ขาดทองแดง (Cu) ใบมีสีเขียวแก่จนผิดสังเกต แล้วค่อยๆ เหลืองซีดส่วนโคนใบมีจุดสีเหลืองลำต้นและ เนื้อเยื่อ ขาด และบวมพอง การแตกกอช้า และเจริญเติบโตชะงัก 8. ขาดธาตุเหล็ก (Fe) อ้อยที่ขาดเหล็กใบจะเป็น สีเหลืองเนื่องจากขาดคลอโรฟีลล์ ซึ่งคล้ายกับอาการที่พืชขาดแมกนีเซียมแต่มักเกิดกับส่วนยอดของอ้อยก่อน โดยใบที่ยอดจะเล็กผิดปกติ สีเ

ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากดินเป็นกรด

รูปภาพ
 ดินกรด หมายถึง ดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ของดินต่่ากว่า 7.0 แต่ดินกรดที่เป็นปัญหาทางด้าน การเกษตร คือ ดินกรดที่มีค่า pH ของดินต่่ากว่า 5.5 ความเป็นกรดของดินแต่ละช่วงจะมีผลต่อการปลดปล่อย ธาตุอาหารพืชในดินให้เป็นประโยชน์ ลักษณะของดินกรด ดินกรดที่มีค่า pH ต่่ากว่า 5.5 เป็นข้อจ่ากัดประเภทหนึ่งในด้านความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร การเกิดดินกรดมีสาเหตุหลายประการ ได้แก่เกิดตามธรรมชาติจากวัตถุต้นก่าเนิดดินที่เป็นกรด เกิดการชะละลายธาตุที่เป็นด่างออกไปจากดินโดยน้ำฝนหรือน น้ำาชลประทาน พืชดูดเอาธาตุที่เป็นด่างออกไปแล้วปลดปล่อยกรดลงไปแทนที่ การใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีต่างๆ ที่มีสารกำมะถันเป็นองค์ประกอบ และเกิดจากฝนกรดบริเวณใกล้โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น พบกระจัดกระจายทั่วไปทุกภาคของประเทศ มีเนื้อที่รวม 95,410,591 ไร่การสังเกตดินกรด ดินกรดไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาเหมือนดินปัญหาอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อหยาบ ดินร่วนหยาบ ดินร่วนละเอียดทั้งที่ลุ่มและในที่ดอน พื้นที่ที่มีการชะล้างหน้าดินสูง มีการใช้ปุ๋ยเคมีต่อเนื่องกันเป็นเวลานานและขาดการปรับปรุงบ่ารุงดิน ซึ่งอาจพบอาการผิดปกติของพืช เช่น รากสั้น

น้ำหมักปรับสภาพดิน ฟื้นฟูดินเสื่อมให้กลับมาปลูกพืชได้

รูปภาพ
สำหรับคนที่ปลูกพืชผัก สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ ดินที่ใช้ปลูกพืชนั่นเอง เพราะถ้าหากได้ดินที่ดี มีคุณภาพก็จะช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดีและได้รับแร่ธาตุอาหารอย่างเต็มที่ วันนี้จึงได้นำสูตร น้ำหมักปรับสภาพดิน ที่จะช่วยปรับสภาพดินให้ดี แก้ปัญหาดินแห้ง ดินแข็ง ปรับหน้าดินให้พร้อมสำหรับการปลูกพืช จะมีวิธีการทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย ประโยชน์ของน้ำหมักปรับสภาพดิน สูตรน้ำหมักบำรุงดินสูตรนี้ จะช่วยปรับสภาพดินให้พร้อมสำหรับการปลูกพืช ไมว่าจะเป็นดินแข็ง ดินเหนียว ดินดาน หรือดินลูกรัง ที่อาจจะไม่ใช่ดินดีสำหรับการปลูกพืช เมื่อเราใช้น้ำหมักสูตรนี้รดดิน จะทำให้ดินนิ่มขึ้นจนร่วนซุย และยังช่วยให้พืชเติบโตได้ดีขึ้นอีกด้วย ทำไมถึงมีผลต่อดินปลูก เมื่อเรานำนมมาหมักตามสูตรนี้ จะทำให้เกิด “กรดแลคติก ”ซึ่ง กรด ตัวนี้มีประโยชน์ในการช่วยระบายอากาศในดินได้ ทำให้ดินมีความร่วนซุยมากขึ้น ทำให้มีช่องว่างให้อากาศ และน้ำซึมเข้าไปสู่ใต้ดินได้ดียิ่งขึ้น มีออกซิเจนให้พืชได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมแร่ธาตุของพืชให้ดียิ่งขึ้น ส่วนผสม และอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม 1.น้ำตาลทรายแดง 300 มิลลิลิตร 2.จุลิน

ฟื้นฟูสุขภาพดิน

รูปภาพ
เป็นที่รู้กันดีว่า ดินที่มีสภาพร่วนซุยเป็นดินที่เหมาะสำหรับปลูกพืชมากที่สุด เพราะช่วยให้รากชอนไชหาน้ำและอาหารได้สะดวก ดินที่ดีนั้นควรมีความพรุ่นและช่องว่างให้น้ำและอากาศแทรกตัวอย่างพอเหมาะ มีความเป็นกรดเป็นด่างที่พอดี แต่หากดินในสวนที่เราต้องการปลูกพืชไม่ได้มีสภาพดังกล่าว เช่น เกิดปัญหาดินแข็ง ดินขาดธาตุอาหาร ดินเหนียว ดินลูกรัง ดินกรด ก็จำเป็นต้องปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกต้นไม้ต่อไป ซึ่งเทคนิคง่ายๆ ในการปรับปรุงดินทำได้ดังต่อไปนี้ ปรับปรุงดินราคาประหยัด วัสดุจากธรรมชาติ เช่น เปลือกถั่ว ฟางข้าว ใบไม้แห้ง ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด คือตัวเลือกชั้นดีที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพง ในพื้นที่ที่มีดินแข็งหรือดินลูกรัง ให้ขุดดินแล้วคลุกเคล้าวัสดุเหล่านี้ลง จะทำให้ดินโปร่งและร่วนซุยขึ้น ในปุ๋ยอินทรีย์ยังมีธาตุอาหารที่ช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดินได้อีกด้วย สำหรับฟางข้าวนั้นให้หมักไว้ในดินและรดปุ๋ยอินทรีย์น้ำ จะช่วยให้ฟางย่อยสลายเร็วขึ้น แต่หากคุณไม่ได้ทำสวนจริงจังมากนัก ก็อาจใส่ปุ๋ยอินทรีย์เฉพาะจุดที่ต้องการปรับปรุงดินก็ได้ คลุมดินทั้งง่ายและสะดวก หลักการคล้ายกับข้อแรก

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

รูปภาพ
  เกษตรกรหลายท่านอาจเกิดความสงสัยว่าปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์มีความแตกต่างกันอย่างไร เพราะบางคนก็ว่าปุ๋ยเคมีไม่ดีเพราะทำให้เกิดสารเคมีตกค้าง ใช้ปุ๋ยอินทรีย์จะดีกว่าเพราะทำมาจากธรรมชาติล้วนๆ หรือบางคนก็จะบอกว่าปุ๋ยเคมีมีธาตุอาหารสูงจะได้ช่วยเสริมลงไปในดินเพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ดังนั้นเพื่อเป็นข้อมูลในการเลือกใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมรวมทั้งข้อดีข้อด้อยของปุ๋ยแต่ละประเภทกันดีกว่าคะ ปุ๋ยเคมี เป็นสารที่ได้จากการวิเคราะห์ให้มีธาตุอาหารชนิดแบบเข้มข้น จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยมากใช้แรงงานในการทำน้อย เกษตรกรมักเลือกใช้ปุ๋ยเคมีในการแก้ปัญหาเวลาที่ผลผลิตเกิดปัญหา โดยไม่ได้ระมัดระวังถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวราคาค่อนข้างสูงจากต้นทุนการดำเนินการ กำไร และค่าขนส่งของผู้ผลิต ผู้ค้าประโยชน์มีเพียงแค่บำรุงการเจริญเติบโจลตของพืช แต่จะไม่บำรุงดินปุ๋ยเคมีชนิดที่บำรุงดินด้วย จะเห็นผลช้าทำให้เกษตรกรไม่นิยมเลือกใช้ มักเกิดผลตกค้างที่มีฤทธิ์เป็นกรด หรือเป็นเกลือส่งผลต่อการเร่งการสลายตัวของอินทรียวัตถุในดิน และการปล่อยธาตุอาหาร ทำให้ดินเกิดเสื่อมสภาพทรุดโทรมลงอย่าวรวดเร็วหากมีการใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ปุ๋ยอินทรีย์