เปลี่ยนความเข้าใจ รดน้ำแบบไหนให้ผักเติบโต

สำหรับนักปลูกผักที่อยู่ในเมือง ‘น้ำ’ เป็นปัจจัยที่ดูเหมือนไม่น่ากังวลใจมากในการปลุกผัก เนื่องจากในเขตเมืองมีระบบน้ำประปาที่ดีและทั่วถึง และคนส่วนใหญ่น่าจะรู้หลักการง่ายๆ ของการรดน้ำพืชผักอยู่แล้ว นั่นคือ รดน้ำพืชผัก 2 ครั้งต่อวัน คือเช้าและเย็น แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีเคล็ด(ไม่)ลับที่ควรรู้ เพื่อทำให้พืชผักเจริญเติบโต ได้ผลผลิตที่น่าพอใจอีกมากมายกว่านั้น และเราขอรวบรวมมาเป็นลิสต์สำหรับทำความเข้าใจให้ง่ายขึ้น

น้ำ มีความจำเป็นในการเจริญเติบโตของพืชผัก เนื่องจากน้ำทำหน้าที่ในการละลายธาตุอาหารในดิน จากนั้นรากพืชจะดูดสารอาหารนั้นมาใช้ในการเจริญเติบโต ดังนั้นสรุปได้ว่า ‘น้ำไม่เพียงพอ ผักไม่เติบโต’

ที่เรารดน้ำช่วงเช้าและเย็น ก็เนื่องจาก

ในช่วงเช้า น้ำจะทำหน้าที่เป็นสารละลายธาตุอาหารให้แก่พืชผัก ส่วนในตอนเย็น น้ำจะช่วยลดอุณหภูมิให้แก่พืชผัก

ก่อนเราจะทำการรดน้ำพืชผัก เราควรสังเกตพื้นดินในบริเวณที่ทำการปลูกผักเสียก่อน หากบริเวณนั้นมีความชื้นเพียงพอแล้ว โดยเฉพาะช่วงฤดูฝน เราไม่จำเป็นต้องรดน้ำเพิ่มเติม เพราะถ้าหากผักได้รับน้ำมากเกินไป อาจส่งผลให้ผักเน่าเสียหาย เจริญเติบโตได้ไม่ดีนัก ในทางกลับกัน หากในวันที่อากาศร้อนและแห้งมากเราก็ควรรดน้ำมากกว่าปกติเพื่อช่วยระบายความร้อน เพิ่มความชื้นให้แก่ดิน

ผักส่วนใหญ่ชอบความชื้นที่สม่ำเสมอ แต่ไม่ชอบน้ำขัง ดังนั้นหากสภาพดินปลูกระบายน้ำได้ไม่ดี ควรเติมปุ๋ยหมัก และแกลบเผาเพื่อให้ดินร่วนซุย มีการระบายน้ำได้ดีเสียก่อน

เนื่องจากในน้ำประปามีคลอรีน จึงอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่พืชผักติดดอก

เราไม่ควรนำน้ำประปามารดน้ำโดยตรง หากเป็นไปได้เราควรกักเก็บน้ำประปาอย่างน้อย ประมาณ 30 นาที แล้วค่อยรดน้ำผัก

สำหรับการปลูกในภาชนะ เราควรรดน้ำบ่อยกว่าผักที่ปลูกลงแปลง เนื่องจากน้ำระเหยได้เร็วกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าใครปลูกผักในกระถางดินเผา น้ำจะระเหยเร็วกว่าการปลูกผักในกระถางพลาสติก โดยการรดน้ำผักที่ปลูกในกระถาง เราสามารถสังเกตได้ง่ายๆ คือ รดน้ำจนมีน้ำไหลออกจากกระถาง หรือภาชนะที่ปลูกเล็กน้อย

สำหรับใครที่ปลูกผักบริเวณริมระเบียง ริมหน้าต่าง หรือปลูกผักบนดาดฟ้า อาจต้องทำการรดน้ำมากกว่าปกติ เนื่องจากบริเวณนั้นอาจได้รับแสงแดด และรับลมมากกว่าปกติ ซึ่งส่งผลต่อความชื้นของดินในภาชนะปลูกได้

เราควรคลุมแปลงปลูกหรือคลุมกระถางด้วยฟางข้าว ขุยมะพร้าวสับ ใบไผ่ หรือใบไม้แห้ง เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดิน และช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของจุลินทรีย์ จะช่วยทำให้พืชผักเจริญเติบโตได้ดี

นอกจากการรดน้ำตามเคล็ด(ไม่)ลับที่ได้นำเสนอไปแล้ว

เราควรบำรุงผักด้วยการรดน้ำหมักชีวภาพ โดยมีหลักการง่ายๆ คือ เราปลูกอะไรก็ใช้น้ำหมักชีวภาพชนิดนั้นบำรุง

ยกตัวอย่างเช่น หากเราต้องการบำรุงคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ซึ่งต้องการบำรุงต้น ราก ใบให้แข็งแรง เราก็นำเศษพืชผักสีเขียว เช่น คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้งมาหมักกับกากน้ำตาล เราจะได้น้ำหมักชีวภาพพืชสีเขียว (สัดส่วน ผัก 3 กิโลกรัม กากน้ำตาล 1 ลิตร หมักไว้ประมาณ 7 วัน) และถ้าหากเราต้องบำรุงพืชผักที่กินดอก กินผล เราจะนำผลไม้สุก เช่น มะละกอ ฟักทอง หรือกล้วยน้ำว้ามา หมักกับกากน้ำตาล เราจะได้น้ำหมักชีวภาพผลไม้ (สัดส่วน ผลไม้ 3 กิโลกรัม กากน้ำตาล 1 ลิตร หมักไว้ประมาณ 7 วัน)

วิธีการนำไปใช้งาน เราจะใช้น้ำหมักชีวภาพประมาณ 10 ซีซี หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร รดพืชผักทุกๆ 3 วัน เพียงเท่านั้นเราก็จะได้พืชผักที่เจริญเติบโต ได้ผลผลิตไว้รับประทานอย่างน่าพอใจและสบายใจแล้ว

ภาพถ่าย: กรชชนก หุตะแพทย์, ศรัณย์ แสงน้ำเพชร

ข้อมูลจาก  https://www.greenery.org/articles/suanpakrimbiang-water/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (Biochemical Sequence) - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ