บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2022

วิธีแก้ดิน หลังปลูก ยูคาลิปตัส - ตรวจดินในสวนยูคาลิปตัส ilab

รูปภาพ
ยูคาลิปตัส นับเป็นต้นไม้เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูก เพราะเป็นต้นไม้โตไว เลี้ยงง่าย ปล่อยทิ้งรอเวลาก็ทำได้ จึงนับเป็นต้นไม้สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ ไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามาพิจารณาคุณภาพดีหลังจากปลูกยูคาลิปตัส เรากลับพบว่า ดินที่ผ่านการปลูกยูคาลิปตัส ดินโทรมหนักมากอย่างเห็นได้ชัด สาเหตุที่ทำให้ดินเกิดปัญหาดินเสีย ก็เพราะ 1. ในใบของต้นยูคาลิปตัสจะมีน้ำมัน เมื่อใบต้นยูคาลิปตัส ตกลงพื้น น้ำมันพวกนี้ก็จะตกค้างอยู่ในดิน น้ำมันยูคาลิปตัส เมื่อไปจับดับเม็ดดินแล้ว มันจะไปเคลือบดินไว้ ทำให้ดินไม่อุ้มน้ำและปุ๋ย ใส่อะไรลงไป ดินก็จับเอาไว้ไม่ได้ ดินพัง และฟื้นฟูยาก ต้นไม้ที่ปลูกใหม่จึงไม่ค่อยได้สารอาหารจากดิน สังเกตได้ว่าแปลงที่ปลูกยูคาลิปตัส ไม่ว่าจะเคยเป็นดินอะไรมาก็ แต่จะจบด้วยการเป็นดินทรายแห้งๆ แล้งๆ 2. ต้นยูคาลิปตัส เป็นต้นไม้ที่กินจุมาก มีระบบการดูดซึม และรากที่ดีมาก การกินจุนี้ทำให้ธาตุอาหารและน้ำสะสมในดินถูกใช้ออกไปมากจนแทบจะไม่เหลือ ส่งผลให้ดินแล้ง เป็นทราย เกิดการแห้งแล้งอย่างเห็นได้ชัด 3. ใบของต้นยูคาลิปตัส เมื่อสลายตัวแล้ว สารที่ได้จะไปทำลายสมดุลของธาตุอาหารในต้นไ...

วัฏจักรไนโตรเจน - ตรวจธาตุอาหารในดิน iLab

รูปภาพ
ไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสำคัญของกรดอะมิโนซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตีนทุกชนิดในสิ่งมีชีวิต  พืชใช้ไนโตรเจนได้ใน 2 รูป คือแอมโมเนียม (ammonium  หรือ  NH4 +) และไนเตรต (nitrate หรือ NO3 -) และแม้ว่าในบรรยากาศจะประกอบด้วยไนโตรเจนถึง 80% แต่อยู่ในรูปก๊าซไนโตรเจน (N2) ซึ่งพืชไม่สามารถนำมาใช้ได้ ไนโตรเจนสามารถเข้าสู่วัฏจักรไนโตรเจนของระบบนิเวศได้ 2 ทางคือ 1. ฝนชะล้างไนโตรเจนกลายเป็นแอมโมเนียมและไนเตรต ไหลลงสู่ดิน และพืชใช้เป็นธาตุอาหารเพื่อการเจริญเติบโตโดยปฏิกิริยาแอสซิมิเลชั่น (assimilation) 2. การตรึงไนโตรเจน (nitrogen fixation) ซึ่งมีเพียงแบคทีเรียบางชนิดเท่านั้นที่สามารถใช้ก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศเปลี่ยนเป็นไนโตรเจนในรูปที่พืชสามารถนำมาใช้ได้แบคทีเรียพวกนี้มีทั้งที่อยู่ในดินและที่อยู่ในสิ่งมีชีวิต เช่น ไรโซเบียมในปมรากถั่ว  และแบคทีเรียในเฟินน้ำพวกแหนแดง (Azolla) นอกจากนั้นยังมีแบคทีเรียสีเขียวแกมน้ำเงินในน้ำบางชนิด ในปัจจุบันการผลิตปุ๋ยไนโตรเจนใช้ในเกษตรกรรมก็เป็นแหล่งไนโตรเจนสำคัญที่เติมไนโตรเจนสู่ระบบนิเวศ ไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารสำคัญที่พืชใช้ในโครงสร้างและแมทาบอลิซึม...

ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน -ฟอสฟอรัสมากเกิน 'ต้นส้ม' จะอ่อนแอ - ตรวจไนโตรเจนในดิน iLab

รูปภาพ
"ส้ม" เป็นไม้ผลที่มีการเพาะปลูกอยู่ทั่วโลกนับร้อยชนิด และได้รับความนิยมจากผู้บริโภค เนื่องจากผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน และมีคุณค่าทางโภชนาการ ประกอบด้วย แคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินเอ และวิตามินซี เปลือกส้มมีน้ำมันหอมระเหย ใช้ปรุงยาหอม แก้ลมจุกเสียด ส้มเขียวหวานเป็นส้มพันธุ์หนึ่งที่มีการปลูกในทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือซึ่งมีอากาศหนาวเย็นจะช่วยให้ผิวของผลส้มมีสีเหลืองส้มมากขึ้น โดยมีการปลูกมากในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย  น่าน  แพร่  ลำปาง  สุโขทัย พะเยา นอกจากจะเป็นผลไม้ที่ผู้บริโภคนิยมรับประทานแล้ว ยังสามารถส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศปีละหลายสิบล้านบาท โดยมีตลาดส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเอเชีย เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ และกัมพูชา ส้มเขียวหวานเป็นพืชที่ชอบดินที่มีความร่วนซุย ถ้าปลูกในดินที่มีการระบายอากาศไม่ดีมักจะมีปัญหาจากโรครากเน่า โคนเน่า ทำให้มีการใช้สารเคมีจำนวนมากในการเพาะปลูก เนื่องจากมีแมลงศัตรูและโรคพืชหลายชนิด ส่งผลให้มีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่พืชผลกลับดูดปุ๋ยไปใช้ได้เป็นส่วนน้อย จึงทำให้เกษตรกรได้ผลตอบแทนต่ำ นอกจากนี้ยังมีผลเสียต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค ตลอ...

ปลูกถั่วบำรุงดินในแปลงมันสำปะหลังกันเถอะ - ตรวจวิเคราะห์ดิน ในไร่มันสำปะหลัง iLab

รูปภาพ
จากงานวิจัยการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง  ดำเนินงานในพื้นที่โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงคลองลาน โดยนำถั่วลิสงและถั่วพร้าปลูกระหว่างร่องมันสำปะหลัง หลังจากปลูกมันสำปะหลังประมาณ 30 วัน โดยมีระยะห่างระหว่างต้นถั่วลิสงและถั่วพร้า ประมาณ 30 และ 50 เซนติเมตร ตามลำดับ ซึ่งก่อนการปลูกถั่วจะให้เกษตรกรคลุกเชื้อไรโซเบียมก่อน และมีการให้ปุ๋ยมันสำปะหลังตามค่าวิเคราะห์ดิน เมื่อถึงระยะเก็บเกี่ยวถั่ว พบว่าถั่วลิสงและถั่วพร้าที่ปลูกในร่องปลูกมันสำปะหลังพื้นที่ 1 ไร่ ให้ผลผลิต 85 และ 22.8 กิโลกรัมตามลำดับ นอกจากนี้เกษตรกรยังมีรายได้เสริมจากการปลูกถั่วลิสง 2,550 บาทต่อไร่ ซึ่งเกษตรกรมีความพึงพอใจมากเพราะมีรายได้เพิ่มจากการขายถั่วและเป็นการบำรุงดินด้วย หลังจากเก็บเกี่ยวถั่วลิสงและถั่วพร้าแล้ว ใบต้นมันสำปะหลังจะเริ่มชิดกันทำให้บังแสงแดด หญ้าจึงไม่สามารถขึ้นระหว่างร่องได้ เป็นการลดการใช้ยากำจัดวัชพืชอีกทางหนึ่ง อีกทั้งช่วยรักษาความชื้นในดินและลดการสูญเสียหน้าดินได้ด้วย ผลผลิตมันสำปะหลังแปลงที่ปลูกถั่วลิสงและถั่วพร้าระหว่างร่อง มีผลผลิต 2,554 และ 3,215 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล...

บอนสี ดิน น้ำ แสงแดด - ตรวจดิน ปลูกบอลสี iLab

รูปภาพ
 บอนสี Caladium การปลูกเลี้ยงและดูแลรักษา ดิน ควรเป็นดินที่มีความร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดี มีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารสูง มีส่วนผสมของขุยไผ่ ใบทองหลาง ใบมะขาม หรือใบก้ามปูที่ผุแล้ว น้ำ บอนสีเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก จึงควรให้น้ำสม่ำเสมอ ถ้าต้นบอนขาดน้ำจะชะงักการเจริญเติบโต ไม่สดใส การรดน้ำควรรดวันละ 2 ครั้งตอนเช้าและตอนเย็น ไม่ควรใช้สายยางฉีดน้ำที่โคนต้นเพราะจะทำให้กระทบกระเทือนอาจทำให้ต้นและใบของบอนสีฉีกขาดและหักได้ ถ้าปลูกในกระถางควรมีจานรองกระถางใส่น้ำไว้เสมอ แสงแดด สีผลต่อสีสันและลวดลายของใบบอนมาก ถ้าบอนสีได้รับแสงแดดน้อยเกินไปจะทำให้ใบบอนมีสีซีดไม่สวยงาม ถ้าได้รับแสงแดดมากจะทำให้ใบมีสีสด เข้ม และ ลวดลายสวยงาม แต่ถ้าได้รับแสงแดดจัดเกินไปอาจทำให้ใบห่อเหี่ยวและเป็นรอยไหม้ได้ ดังนั้นแสงแดดที่เหมาะสมในการเลี้ยงบอนคือแสงแดดรำไรในตอนเช้าหรือช่วงบ่ายที่ไม่ร้อนจัด หรืออาจใช้ที่พรางแสง 50-70% ช่วยก็ได้ ความชื้นในอากาศ บอนเป็นพืชที่ต้องการความชื้นในอากาศสูง ในฤดูหนาวและฤดูร้อนความชื้นในอากาศต่ำหัวบอนจะพักตัวและทิ้งใบหมด เมื่อถึงฤดูฝนความชื้นในอากาศสูงบอนจึงจะเริ่มผลิใบเติบโตอีกครั้ง เพื...

ผักไม่งาม ดินอาจดีไม่พอ - ตรวจดินในแปลงผัก - iLab

รูปภาพ
หากเราจะปลูกพืชต่างๆ เราควรศึกษาหาความรู้ต่างๆดินที่เราจะใช้ปลูกว่าเป็นอย่างไร  เหมาะแก่การปลูกพืชชนิดใหน วันนี้เราลองมาดู ลักษณะดินที่ดีที่เหมาะกับการเพาะปลูกกันคะ 1. ดินมีอินทรีย์วัตถุสูง อินทรีย์วัตถุ หรือ Organic Matter หรือ O.M. คือ ซากพืช ซากสัตว์ ที่ย่อยสลายแล้วสะสมอยู่ในดิน ดินที่เกิดจากการเปิดป่าใหม่เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์เพราะมีอินทรีย์วัตถุสูงมาก แต่ดินทำการเกษตรทั่วไปถ้ามีอินทรีย์วัตถุ 2-3 % ก็ถือว่าเป็นดินดีแล้ว อินทรีย์วัตถุในดินช่วยทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย มีช่องว่างในเนื้อดินไว้เก็บอากาศและอุ้มน้ำ ทำให้พืชแตกรากดี รากชอนไชไปดูดซึมธาตุอาหารได้ง่าย มีอากาศหายใจ มีน้ำเพียงพอ และยังทำให้จุลินทรีย์ในดินดำรงชีวิตอยู่ได้และขยายจำนวน อินทรีย์วัตถุในดินยังมีคุณสมบัติการแลกประจุ (CEC - Cation Exchange Capability) คือ ช่วยดูดซับธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีเอาไว้ได้ ไม่ปล่อยให้ไหลไปตามน้ำผิวดินเสียหมด อีกทั้งอินทรีย์วัตถุยังค่อยๆ ย่อยสลายตัวเองปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาให้แก่พืชอีกด้วย 2. ดินมีธาตุอาหารพืชเพียงพอ ธาตุอาหารสำหรับพืช 13 ชนิด คือ N P K Ca Mg S Fe Mn Cu Zn B Mo และ Cl เป็นธาตุอาหาร...

อาการต้นไม้ใบเหลือง ใบไหม้ ใบเหลืองร่วง

รูปภาพ
 อาการต้นไม้ใบเหลืองเกิดจากอะไร​ สำหรับคนที่สงสัยหรือมือใหม่หัดปลูก บางครั้งอาการต้นไม้ใบเหลืองก็ไม่ใช่เรื่องที่ถึงขนาดที่ทำให้ต้นไม้เสียหายได้ แต่ก็อาจทำให้ต้นไม้ไม่รอดได้เช่นกัน สิ่งสำคัญเราต้องรู้ว่าต้นไม้ที่แสดงอาการใบเหลืองของเรามีสาเหตุมาจากอะไร เมื่อรู้สาเหตุจะช่วยให้เราแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง และตรงจุดมากขึ้น​ อาการต้นไม้ใบเหลือง ใบไหม้ ใบเหลืองร่วง มีได้หลายสาเหตุ มาลองดูกันดีกว่า ว่าจริงๆ แล้วเกิดจากอะไร 1. ต้นไม้ใบเหลืองเพราะให้น้ำมากเกินไป​ การให้น้ำมากเกินไป ใช่ว่าจะส่งผลดีต่อต้นไม้ เหมือนกับการให้ปุ๋ยถ้าให้มากไปก็อาจทำให้ต้นไม้เกิดอาการน็อคปุ๋ยตายได้เช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่สำคัญเรื่องการให้น้ำกับต้นไม้ที่เราปลูก เราต้องรู้ลักษณะนิสัยว่าต้นไม้ชนิดนี้ชอบแบบใหน เช่น ชอบชื้นแต่ไม่แฉะ หรือต้นไม้บางประเภทชอบน้ำมากๆ ​เมื่อรู้ลักษณะนิสัยของต้นไม้ที่เราปลูกแล้ว ก็ปรับการให้น้ำให้เหมาะสม เพียงเท่านี้ต้นไม้เราก็สมบูรณ์แล้วอาการใบเหลือง ใบร่วงก็จะไม่เกิดกับต้นไม้ของเรา 2. ฝนตกต่อเนื่อง / น้ำท่วมขัง​ ให้ระบายน้ำออกจากโคนต้นหรือบริเวณที่เกิดน้ำท่วมขัง แล้วฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหา...

การใส่ปุ๋ยเคมีให้ตรงกับความต้องการของพืช เพื่อลดต้นทุนการผลิต

รูปภาพ
  พืชทุกชนิดมีความต้องการธาตุอาหารในการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งธาตุอาหารพืช  ที่จำเป็น ประกอบด้วย 17 ธาตุ แบบออกเป็น 3 กลุ่ม ยกเว้น คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ได้จากการให้น้ำและอากาศ และธาตุอาหารรอง จุลธาตุส่วนใหญ่มีอยู่ในดินในระดับหนึ่ง โดยแบ่งเป็น 1. กลุ่มธาตุอาหารหลัก (primary nutrient elements) 3 คือ ธาตุอาหารพืชที่ต้องการในปริมาณมาก 3 ธาตุ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม 2. กลุ่มธาตุอาหารรอง (secondary nutrient elements) คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยกว่ากว่ากลุ่มแรก 3 ธาตุ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน 3. กลุ่มจุลธาตุ 8 ธาตุ (micronutrient elements) คือ ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อย โดยที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารโดยน้ำหนักแห้ง เมื่อพืชเจริญเติบโตเต็มวัย ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดีนัม คลอรีน และนิเกิล หน้าที่หลักของปุ๋ยเคมี ไนโตรเจน (N) มีหน้าที่ เร่งการเจริญเติบโต ใส่แล้วพืชจะเขียวเข็ม โตเร็ว แต่อ่อนแอ ฟอสฟอรัส (P) มีหน้าที่ การสร้างแป้ง น้ำตาล ให้ต้นพืชเพื่อสะสมการออกดอก โพแทส...