ปุ๋ย NPK คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร - ตรวจปุ๋ย วิเคราะห์ธาตุอาหารในปุ๋ย iLab

 ปุ๋ย NPK คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

ปุ๋ย NPK เครื่องมือตัวหนึ่งที่ช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรก็คือปุ๋ย ปุ๋ยเป็นสารที่ใส่เพิ่มลงไปในดินเพื่อเติมส่วนที่พืชต้องการแต่ดินยังขาดอยู่ อาจจะเป็นเพราะความไม่อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติหรือเป็นความเสื่อมสภาพจากการใช้งานแบบผิดวิธีก็ได้ ในบ้านเราสามารถแบ่งปุ๋ยออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ทั้งหมด 2 กลุ่ม ได้แก่ ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยธรรมชาติ

– ปุ๋ยเคมี เดิมทีมีชื่อว่าปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดธาตุอาหารที่สำคัญของดิน เน้นเรื่องการปรับเปลี่ยนสภาพดินให้กลับมาพร้อมสำหรับการเพาะปลูกอีกครั้ง

– ปุ๋ยธรรมชาติ เป็นปุ๋ยที่ได้มาจากวัตถุดิบและกระบวนการทางธรรมชาติ เช่น การหมัก การบ่ม การย่อยสลาย เป็นต้น ข้อดีของปุ๋ยธรรมชาติคือมีธาตุอาหารที่หลากหลาย และช่วยบำรุงหน้าดินได้ดีซึ่งปุ๋ยทั้งสองกลุ่มยังสามารถแบ่งย่อยตามวิธีการผลิต ส่วนผสม และการใช้งานได้อีกด้วย

ปุ๋ย NPK เป็นชื่อเรียกย่อๆ ของปุ๋ยเคมี ที่นำเอาชื่อของธาตุอาหารซึ่งมีผสมอยู่ในปุ๋ยมาต่อท้าย โดยเรียกเรียงตามการเขียนสูตรที่หน้าบรรจุภัณฑ์ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หมายถึงในถุงปุ๋ยนี้มีส่วนผสมของธาตุ N จำนวน 15 ส่วน ธาตุ P จำนวน 15 ส่วน และ ธาตุ K จำนวน 15 ส่วน

ทุกครั้งที่ต้องไปซื้อปุ๋ยมาใช้ เกษตรกรก็จะต้องดูที่สัดส่วนพวกนี้เป็นหลัก ไม่ได้เน้นดูที่ยี่ห้อของปุ๋ย ดังนั้นจึงมีการเรียกติดปากเป็นปุ๋ย NPK ในเวลาต่อมา ซึ่งนั่นก็เป็นที่เข้าใจกันดีระหว่างเกษตรกรด้วยกัน และระหว่างร้านค้ากับเกษตรกร

ปุ๋ย NPK เป็นเพียงประเภทเดียวของปุ๋ยเคมี ที่เน้นให้มีสารอาหารสำคัญของพืชเป็นหลัก และมีการกำหนดสัดส่วนเอาไว้แน่นอน เพื่อให้เลือกไปใช้งานได้เหมาะสมกับความต้องการในแต่ละช่วงวัยของพืชที่เพาะปลูก ซึ่งนี่เป็นข้อดีของปุ๋ย NPK ที่ปุ๋ยธรรมชาติไม่มีอีก ด้วย ธาตุหลักที่พืชต้องการมากและขาดไม่ได้เลยมีเพียง 3 ตัวเท่านั้น ได้แก่ N (ไนโตรเจน) P(ฟอสฟอรัส) และ K(โพแทสเซียม) แต่ละธาตุมีความสำคัญดังต่อไปนี้

ธาตุ N หรือธาตุไนโตรเจน

ธาตุตัวนี้ถือเป็นองค์ประกอบใหญ่ของพืชเลย เพราะมีปราณมากถึง 18 เปอร์เซ็นต์ ไนโตรเจนที่พบในต้นพืชมักจะเป็นส่วนประกอบของโปรตีน พืชดูดซับธาตุไนโตรเจนมาใช้ผ่านทางรากในรูปของเกลือไนเตรท (NO3-) และเกลือแอมโมเนียม (NH4+)

ประโยชน์ของธาตุไนโตรเจน

– ช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของพืชในระยะแรก พืชจึงโตได้รวดเร็วและแข็งแรง

– เน้นบำรุงใบ กิ่งก้าน และลำต้นให้แข็งแรง

– ดูแลการออกดอกและออกผล

– ช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มพืชที่เน้นใบ

ธาตุ P หรือธาตุฟอสฟอรัส

ธาตุฟอสฟอรัสจะอยู่ในพืชในรูปของฟอสเฟตที่ท่อลำเลียงน้ำ เป็นธาตุที่มีปริมาณไม่มากเท่าไรในต้นพืช แต่พื้นดินส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยมีธาตุนี้อย่างเพียงพอด้วยเหมือนกัน สภาพของฟอสฟอรัสจะเปลี่ยนแปลงไปตามความเป็นกรด-ด่างของเนื้อดิน และบางครั้งธาตุนี้ก็ถูกยึดด้วยอนุภาคของดินเหนียวจนพืชไม่สามารถดึงขึ้นมาใช้ได้

ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัส

– ช่วยเสริมการเจริญเติบโตของพืชในส่วนของรากทุกประเภทในระยะแรกของการงอก

– ช่วยเร่งให้พืชแก่เร็ว ส่งผลต่อการติดดอกออกผลและคุณภาพของเมล็ดภายในผล

– เป็นตัวช่วยในกระบวนการดูดธาตุโพแทสเซียมของราก

– เสริมให้ลำต้นแข็งแรงไม่โค่นล้มง่าย และทนทานต่อสภาวะแวดล้อม

– ช่วยป้องกันโรคพืชขั้นพื้นฐาน

– ช่วยลดผลกระทบจากการที่ต้นพืชมีการได้รับธาตุไนโตรเจนมากเกินความจำเป็น

ธาตุ K หรือธาตุโพแทสเซียม

โพแทสเซียมเป็นธาตุที่ละลายน้ำได้ดี และมีกระจายตัวอยู่ทั่วไปที่ผิวดินและส่วนที่อยู่ลึกลงไปเล็กน้อย ปริมาณของโพแทสเซียมในดินจะเพิ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการสลายตัวของหินในชั้นดินเกิดขึ้น หรือมีการทำงานของจุลินทรีย์บางชนิดเท่านั้น พืชต้องการธาตุโพแทสเซียมประมาณ 2-5 เปอร์เซ็นต์

ประโยชน์ของธาตุโพแทสเซียม

– ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก เป็นหนึ่งตัวช่วยที่ต้องทำงานร่วมกับธาตุฟอสฟอรัส

– บำรุงให้พืชมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่รุนแรง

– เป็นตัวแปรสำคัญในการสร้างเนื้อของผล การสร้างแป้งในหัวใต้ดิน

– เป็นตัวเร่งเรื่องรสชาติ สี และกลิ่นของดอกและผล

– ลดทอนผลกระทบที่เกิดจากการดูดซับธาตุไนโตรเจนและฟอสฟอรัสที่มากเกินไปของพืช

ข้อดีของปุ๋ย NPK : ปุ๋ยแบบนี้ส่วนมากจะละลายน้ำได้ดี จึงง่ายต่อการดูดซึมของพืช สามารถปรุงแต่งให้มีสารอาหารที่ต้องการอย่างไรก็ได้ โดยมีคุณภาพที่แน่นอน เคยใช้แบบไหนก็สามารถหาแบบที่เหมือนของเดิมใช้ได้ตลอด ที่สำคัญหาซื้อได้ง่ายตามตลาดทั่วไป

ข้อเสียของปุ๋ย NPK : ไม่ใช่แค่เฉพาะปุ๋ย NPK เท่านั้น แต่ปุ๋ยทุกชนิดในกลุ่มของปุ๋ยเคมีมักจะส่งผลกระทบที่คล้ายคลึงกันก็คือ อาจทำให้อินทรียวัตถุที่มีอยู่แล้วในดินลดปริมาณน้อยลง เมื่อใช้ปุ๋ยแบบนี้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จะมีผลต่อสภาพดินโดยตรงนั่นคือ ดินจะแห้งแข็งและระบายน้ำได้ไม่ดีเหมือนเดิม ความเป็นกรด-ด่างก็จะไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ต้องมีการพักหน้าดินและฟื้นฟูกันใหม่ด้วยการใช้ปุ๋ยธรรมชาติ หรือการปลูกพืชที่สามารถปรับปรุงสภาพดินได้ดี เช่น พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น

ที่มา : https://www.phasitpuythai.com

ข้อมูลจาก http://smartgreenfarming.com/learn/detail/83

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (Biochemical Sequence) - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม