การแก้ปัญหาดินเป็นกรดจัด โดยวิธีการแกล้งดิน
สาเหตุที่ดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด
สืบเนื่องมาจากดินในพื้นที่พรุมีลักษณะเป็นอินทรียวัตถุหรือซากพืชที่เน่าเปื่อยอยู่ข้างบนและช่วงระดับลึกประมาณ 1-2 เมตรมีลักษณะเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงินซึ่งมีสารประกอบกำมะถันที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์อยู่มากดังนั้นเมื่อดินแห้งสารประกอบไพไรท์จะทำปฏิกริยากับ อากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมาทำให้ดินดังกล่าวแปรสภาพเป็นกรดจัดหรือ เปรี้ยวจัดผลของการเป็นกรดจัดของดินจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายแร่ธาตุที่เป็น ประโยชน์ต่อต้นไม้และยังทำให้ธาตุบางชนิดที่อยู่ในดิน เช่นเหล็กอลูมินัมกลาย เป็นพิษต่อต้นไม้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ทรงเรียกว่า “แกล้งดิน” หน่วยดำเนินการสนองพระราชดำริในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด ของดินกำมะถันเริ่มจาก“แกล้งดินให้เปรี้ยว”ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับ กันไปเพื่อเร่งปฏิกริยาทางเคมีของดินซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกริยา กับออกซิเจนในอากาศแล้วปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น “แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด”จนกระทั่งถึงจุดที่พืชเศรษฐกิจต่างๆไม่สามารถเจริญ งอกงามให้ผลผลิตได้ หลังจากนั้นจึงให้หาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถ ปลูกพืชเศรษฐกิจได้ซึ่งวิธีการแก้ไขดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ มีดังนี้
แก้ไขโดยวิธีควบคุมระดับน้ำใต้ดิน
เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถันจึงสมควรพยายามควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์อยู่เพื่อมิให้สารประกอบไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์ ซึ่งจำเป็นต้องวางระบบการระบายน้ำควบคู่ไปกับการจัดระบบชลประทานที่เหมาะสมกล่าวโดย ระบบการระบายน้ำ ช่วยให้
ป้องกันมิให้น้ำท่วม
ช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่
ระบบชลประทาน ช่วยให้
ส่งเสริมให้น้ำใช้ชะล้างความเป็นกรด
รักษาระดับน้ำใต้ดินให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ
แกล้งดิน 2ตัวอย่างความสำเร็จของวิธีการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน คือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางนราอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ทำการก่อสร้างประตูระบายน้ำบางนรา 2 ประตู เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำและกักเก็บน้ำจืดไว้ในแม่น้ำเพื่อใช้ในการเกษตร อุปโภค บริโภค กับช่วยป้องกันมิให้น้ำเค็มไหลเข้าแม่น้ำส่วนใน ในประเด็นที่สำคัญคือ ช่วยควบคุมระดับน้ำใต้ดินในพื้นที่ราบลุ่มสองฝั่งน้ำไม่ให้ต่ำลง ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดกรดจากดินเปรี้ยวจัดที่พบอยู่ทั่วๆไปในบริเวณที่ราบลุ่มของจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย
วิธีการปรับปรุงดิน
เลือกได้ 3 วิธี ตามแต่สภาพและความเหมาะสม
ใช้น้ำชะล้างกรด-เป็นวิธีการที่ง่ายแต่ต้องมีน้ำมากพอ ใช้น้ำชะล้างดินเพื่อเพิ่มค่า pHโดยปล่อยให้น้ำท่วมขังแล้วระบายออกประมาณ 2-3 ครั้งโดยทิ้งช่วงครั้งละ 1-2 สัปดาห์ ควรเริ่มชะล้างในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำชลประทานเพราะดินจะเปรี้ยวจัดช่วงดินแห้ง และต้องกระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังผลในระยะยาว
ใช้ปูนเคล้าหน้าดิน เลือกใช้วัสดุปูนที่หาง่ายในท้องที่เช่น ภาคกลาง-ใช้ปูนมาร์ล(Marl),ภาคใต้-ใช้ปูนฝุ่น(Lime dust) หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่แล้วไถแปรหรือพลิกดินกลบปริมาณปูนที่ใช้ขึ้นกับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน
ใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เป็นวิธีที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรงและถูกปล่อยร้างเป็นเวลานานเริ่มโดยใช้ปูนเป็นการกระตุ้นครั้งแรกให้น้ำทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อัตราการใช้ปูนทั่วไป 1-2 ตันต่อไร่แล้วทำการไถกลบ จากนั้น ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดและควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์มาก กันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนปลดปล่อยกรดออกมา
การปรับสภาพพื้นที่
แกล้งดิน 3เนื่องจากพื้นที่ดินเปรี้ยวมีสภาพราบลุ่ม ดังนั้น การระบายน้ำออกจากพื้นที่จึงทำได้ลำบาก การปรับสภาพพื้นที่จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะใช้แก้ปัญหาได้ มีอยู่ 2 วิธี คือ
การปรับระดับผิวหน้าดิน ปรับระดับผิวหน้าดินให้มีความลาดเอียงพอที่จะให้น้ำไหลออกสู่คลองระบายน้ำได้ และจัดรูปตกแต่งแปลงนาและคันนาใหม่ เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำและระบายน้ำออกได้ตามต้องการ
การยกร่องปลูกพืช เป็นวิธีการใช้สำหรับการปลูกพืชไร่ ผัก ผลไม้ หรือไม้ยืนต้นที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง โดยวิธีการนี้จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำชลประทานเพื่อใช้ขังในร่องและถ่ายเทน้ำได้เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้นๆ หากมีโอกาสเสี่ยงสูงก็ไม่ควรจะทำ หรืออาจยกร่องแบบเตี้ยๆเปลี่ยนเป็นปลูกพืชล้มลุกแทนโดยสามารถปลูกหมุนเวียนกับข้าวได้ กล่าวคือ ปล่อยให้น้ำท่วมร่องสวนในฤดูฝน แล้วปลูกข้าวบนสันร่องช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องสูบน้ำออก พอพ้นฤดูฝนก็ปลูกพืชผักหรือล้มลุกตามความต้องการของตลาดช่วยเพิ่มรายได้
ข้อมูลจาก http://www.land.arch.chula.ac.th/royal-projects/trick-soil
####
iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025
1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที
2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ
3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน)
สอบถามเพิ่มเติม
โทร 090 592 8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น