ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

วันนี้เรามาพูดถึงเรื่องอาหารการกินกันบ้างดีกว่าค่ะ ทว่าหาใช่อาหารของเรา ๆ ไม่ หากแต่เป็นอาหารของต้นไม้นานาพันธุ์ที่เราปลูกกันค่ะ อาหารของต้นไม้ที่ว่านั้นก็คือ  ธาตุอาหารของพืช ที่มีความจำเป็นต่อพืช โดยธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช มีธาตุอาหารหลัก ๆ แบ่งเป็นดังนี้ถ้าต้นไม้ไม่ได้รับธาตุเหล่านั้น ก็จะไม่สามารถดำรงชีพได้ครบวงจร ไม่สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปและแน่นอนว่าอาจตายลงในที่สุด แต่วันนี้เราขอแบ่ง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ อย่างง่าย สำหรับเป็นหลักให้ทุกคนเข้าใจและนำไปใช้ดูแลต้นไม้ที่รักได้กันแบบง่าย ๆ ไปดูกันดีกว่า ว่าธาตุอาหารที่จำเป็นต่อเหล่าบรรดาต้นพืชน้อยใหญ่ของเรามีอะไรบ้าง แต่ละชนิดมีหน้าที่อย่างไร และมีความสำคัญมากน้อยเพียงใดค่ะ


กลุ่มที่ 1 พืชได้รับจากน้ำและอากาศ

เป็นส่วนสำคัญที่พืชต้องการมาก โดยที่ทั่วไปแล้วอาจจะไม่ทราบกันมาก่อนว่าธาตุอาหารในอากาศจำเป็นต่อการเติบโตของต้นไม้เช่นกัน ธาตุเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างส่วนต่างๆ ของพืช ประกอบด้วย 3 ธาตุ ได้แก่ คาร์บอน (C) ไฮโดรเจน (H) ออกซิเจน (O) หากบริเวณที่ปลูกต้นไม้มีอากาศบริสุทธิ์ ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีหรือสารปนเปื้อนอื่น ๆ เหล่าต้นไม้ก็จะเติบโตได้ดีเช่นกัน

กลุ่มที่ 2 ธาตุที่มาจากดิน

เป็นที่ทราบกันดีว่าดินเป็นแหล่งสะสมอาหารสำหรับต้นไม้ หากดินดีอุดมสมบูรณ์ต้นไม้เหล่านั้นจะงอกงามเติบโตได้ดี ซึ่งโดยธรรมชาติธาตุอาหารที่อยู่ในดินนั้นมีการเสื่อมตามสภาพแวดล้อม และลดลงตามธรรมชาติ หากปลูกต้นไม้จึงจำต้องเพิ่มเติมธาตุอาหารเหล่านี้ให้ต้นไม้อยู่เสมอ เพื่อให้ได้ดูซึมและใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสง มีทั้งหมด 13 ธาตุ

ธาตุอาหารหลัก

ไนโตรเจน (N) ช่วยให้พืชมีสีเขียว เร่งการเจริญเติบโตทางใบและลำต้น กระตุ้นให้พืชเจริญเติบโต แข็งแรง อีกทั้งเพิ่มปริมาณโปรตีนให้แก่พืช

ฟอสฟอรัส (P) ส่งเสริมการออกดอกและผล ติดเมล็ด การพัฒนาเมล็ดและผล เร่งการเจริญเติบโตของราก พร้อมช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรคพืช และมีส่วนช่วยในการเร่งการสุกแก่ของผลให้เร็วขึ้น

โพแทสเซียม (K) ช่วยพืชสร้างอาหาร (สังเคราะห์แสง) และมีส่วนช่วยทำให้รากแข็งแรง ทนทานต่อโรคแมลง อีกทั้งเพิ่มขนาดผลผลิต เมล็ด และปรับปรุงคุณภาพผลผลิต

ธาตุอาหารทั้ง 3 ชนิดเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชจำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโต ซึ่งธาตุอาหารทั้ง 3 ชนิดมีจำหน่ายในรูปแบบของปุ๋ยเคมี และปุ๋ยคอกที่มาจากมูลสัตว์

ไปรู้จัก ปุ๋ย ทั้ง"ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี"ต่างกันอย่างไร

ธาตุอาหารรอง

แคลเซียม (Ca)ทำให้พืชผลิใบได้ดีและเร็ว เป็นส่วนประกอบให้ผิวของลำต้น ใบ ดอก และผลแข็งแรง ส่งเสริมการเจริญเติบโตของราก ทำงานร่วมกับธาตุโบรอนในการผสมเกสร การงอกของเมล็ด

แมกนีเซียม (Mg) เสริมสร้างการดูดใช้และลำเลียงธาตุฟอสฟอรัส (P) และน้ำตาลไปสู่ส่วนต่างๆ ของต้น มีความสำคัญต่อการสังเคราะห์แสง (การเจริญเติบโต)

กำมะถัน (S) เป็นส่วนประกอบของอะมิโน สร้างน้ำมัน โปรตีน สี กลิ่น วิตามินต่างๆ มีผลทางอ้อมต่อการสร้างคลอโรฟิลล์และการพัฒนาส่วนยอดของต้นพืชอีกด้วย

เหล็ก (Fe) ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟีลล์ มีบทบาทสำคัญต่อกระบวนการสังเคราะห์แสงและการหายใจในพืชให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์

แมงกานีส (Mn) กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ (Enzyme) ในต้นพืช ช่วยการสังเคราะห์แสง เร่งปฏิกิริยาต่างๆ เช่น กระบวนการหายใจ

สังกะสี (Zn) มีส่วนช่วยทำให้ข้อปล้องของพืชมีขนาดใหญ่และสมบูรณ์ จำเป็นต่อการสร้างแป้ง คลอโรฟีลล์ การสร้างเมล็ด ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของฟอสฟอรัสและไนโตรเจน

โบรอน (B) ส่งเสริมการออกดอก ช่วยในการผสมเกสรและการติดผล ช่วยในการเคลื่อนย้ายฮอร์โมนในต้นพืช เพิ่มความสามารถในการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล จำเป็นในการสร้างโปรตีน ให้พืชใช้ประโยชน์ธาตุอื่น เช่น ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) และ แคลเซียม (Ca) ได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งมีส่วนช่วยเพิ่มคุณภาพทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักของผลอีกด้วย

โมลิบดีนัม (Mo) ช่วยให้พืชใช้ประโยชน์จากไนโตรเจนได้ดียิ่งขึ้น สร้างโปรตีนในพืช

ทองแดง (Cu) สร้างวิตามินเอในพืช เป็นส่วนประกอบของเอ็นไซม์หลายชนิด อีกทั้งกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์นั้นๆ และช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ การหายใจ การใช้โปรตีน และแป้งในพืช

คลอรีน (CI) เร่งการสร้างแป้ง สร้างฮอร์โมนบางชนิด ช่วยเร่งการสุกแก่ให้กับพืชเร็วขึ้น ช่วยเจริญเติบโตของราก ควบคุมการอุ้มน้ำของเซลล์

อาจจะเนื้อหาเยอะ อ่านกันจนเหนื่อยสักนิดนะคะ สำหรับเรื่องอาหารของน้องต้นไม้ฉบับเบื้องต้นของเรา ซึ่งไม่ว่าพืชชนิดไหนก็ต้องการธาตุอาหารเหล่านี้ แต่ความต้องการของแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป สำหรับใครสนใจต้นไม้ชนิดไหนเป็นพิเศษก็ลองหาคู่มือของแต่ต้นนั้นๆ มาอ่านกันดูนะคะ เพียงเท่านี้ต้นไม้ที่เรารักก็จะสวยสดงดงามให้เราได้ชื่นชมกัน

ข้อมูลจาก https://www.baanlaesuan.com/144528/plant-scoop/plants_nutrients

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?