ผลไม้โปแตสเซียม...ยิ่งมากยิ่งดี - ตรวจธาตุโพแทสเซียม iLab

ปุ๋ยธาตุอาหารหลัก ปุ๋ยตัว N และ P มีมากไปน้อยไป สุดท้ายผลลัพธ์เป็นอย่างไร บอกให้รู้กันไปแล้ว

...วันนี้มารู้จักปุ๋ยตัวหลังสุด ปุ๋ยตัว K โปแตสเซียม ถ้าใส่ไปมั่วๆแบบไม่รู้จักดินของตัวเอง ผลจะเป็นอย่างไร

ศ.เกียรติคุณ ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายให้รู้ ปุ๋ยตัวนี้มีสรรพคุณช่วยสร้างน้ำตาลและแป้งในไม้ผล ทำให้เนื้อมีคุณภาพดี เนื้อแน่นไม่เปื่อยยุ่ย รสชาติดี

และสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้กัน ในบรรดาแม่ปุ๋ย N–P–K...ปุ๋ยตัว K มีส่วนช่วยให้พืชมีภูมิต้านโรคและแมลงได้มากที่สุด

ถ้าขาดโปแตสเซียม อัตราการสังเคราะห์แสงลดลง ในไม้ผลจะทำ ให้คุณภาพและผลผลิตต่ำ สีไม่สวย เนื้อไม่แน่น ในพืชพวกส้มกรดซิตริกจะน้อยลง

ฉะนั้น ความเชื่อที่ว่า หากเราใส่โปแตสเซียมมากเกินไป จะทำ ให้พืชแก่ช้ากว่าปกติ ผักผลไม้นุ่ม ยุ่ย เก็บรักษาได้ไม่นฟาน...จึงเป็นความเชื่อผิดๆ

ส่วนผลเสียของการใส่ปุ๋ยตัว K มากเกินไป ไม่ได้ต่างจากปุ๋ยตัวอื่นนั่นคือ ใส่มากไปเหมือนเอาเงินไปถมดิน...แต่โปแตสเซียมมีมาก ผลข้างเคียงจะน้อยกว่าและเห็นผลช้ากว่าปุ๋ยตัวอื่น เพราะพืชมักดูดไปใช้เลี้ยงลูกผล เลยเหลือในดินน้อย เติมเข้าไปอีกจึงไม่ค่อยมีผลกระทบนัก

ข้อควรรู้อีกอย่าง หากมีปุ๋ยโปแตสเซียมมากเกินไป พืชจะดูดซึมแอมโมเนียซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของไนโตรเจนได้น้อยลง จะทำให้พืชเจริญเติบโตช้าลง

เพราะเหตุนี้นี่แหละ เลยเป็นที่มาของการผลิตปุ๋ยสูตรเสมอ สูตรปุ๋ยครอบจักรวาล...เพื่อให้ต้นพืชวัยอ่อนได้รับธาตุอาหารครบถ้วน แต่ถ้าในดินเรามีปุ๋ยตัวใดตัวหนึ่งมากเกินไปอยู่แล้ว สูตรครอบจักรวาลก็ช่วยไม่ได้

ดร.อำนาจให้ความรู้เพิ่มเติม การปลูกไม้ผลรวมถึงพืชผลกินเมล็ด เกษตรกรควรเติมโปแตสเซียมเผื่อไว้มากๆในช่วงเริ่มปลูกและติดผล ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มความหอม หวาน เนื้อนุ่มน่ารับประทาน โดยเฉพาะพืชผลที่มีกลิ่นหอมเป็นจุดขาย เช่น ข้าวหอมมะลิ มะพร้าวน้ำหอม

แต่ถ้าเป็นพืชผักกินใบ ก็ไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยตัว K ให้มากนัก เพราะจะไม่ได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า

ข้อมูลจาก https://www.thairath.co.th/content/851666

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?