ทำอย่างไรเมื่อปลูกพืชกินผล…แต่ได้แต่ใบและดอก

หนึ่งในปัญหาที่นัก(หัด)ปลูกผักถามกันเข้ามามาก ก็คือเรื่องปลูกพืชกินผล แต่ต้นกลับบ้าใบ หรือบางครั้งก็ออกดอกมาให้ความหวังมากมาย แต่กลับร่วงโรย ไร้วี่แววของลูก ผลให้ได้เด็ดกิน…

เรามาดูกันว่าสาเหตุของปัญหาที่ว่านี้คืออะไร และมีทางใดจะช่วยแก้ไขได้บ้าง

1. ให้ปุ๋ยอย่างไร ชนิดและช่วงเวลาเหมาะสมหรือไม่

ครูวิวิช แห่งธรรมชาติฟาร์ม หรือกลุ่มเกษตรอินทรย์ บ้านโป่ง จ.ราชบุรี หนึ่งในสมาชิกโครงการสวนผักคนเมืองผู้มีประสบการณ์ทั้งจากตำราเรียนและการทดลองจริง อธิบายให้ฟังว่า สิ่งสำคัญที่ผู้ปลูกผักควรจะต้องเรียนรู้คือเรื่องชนิดของปุ๋ย และช่วงเวลาการให้ที่เหมาะสมทั้งนี้เพราะพืชแต่ละช่วงการเจริญเติบโตก็จะต้องการปุ๋ยแต่ละชนิดในปริมาณที่แตกต่างกัน

หลักการง่ายๆที่ครูวิชแนะนำคือ โดยส่วนใหญ่ ในช่วยการเจริญเติบโตแรกๆ พืชก็จะต้องการไนโตรเจน และเมื่อพืชเจริญเติบโต จนพร้อมจะออกดอก ออกผลแล้ว ช่วงนี้พืชก็จะต้องการฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม เป็นหลัก ดังนั้น หากเรายังให้ปุ๋ยจำพวกไนโตรเจนอยู่เหมือนเดิม ก็จะทำให้พืชกลายเป็นพืชที่บ้าใบ หรือที่เรียกกันเล่นๆ ว่า “ดูใบ” ไป

ที่ว่าปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม นี้ ไม่ได้หมายถึงให้เราไปซื้อปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆมาใช้นะคะ แต่หมายถึงการที่เรารู้จักเลือกสรรวัตถุดิบที่จะนำมาทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อให้พืชได้รับอาหารและฮอร์โมนบำรุงที่ถูกต้องและเหมาะสม เช่นน้ำหมักชีวภาพจากพืชใบเขียวก็จะให้ไนโตรเจนสูง เหมาะสำหรับการใช้ในช่วงที่พืชกำลังเจริญเติบโต ผลิใบ สร้างลำต้นใหม่ ส่วนน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุก การทำฮอร์โมนไข่ หรือน้ำหมักจากน้ำนม ก็จะมีพวกฟอสฟอรัส โปแตสเซียม รวมถึงฮอร์โมนพืชที่ช่วยเร่งดอก เร่งผลได้ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อมีของดีอยู่กับตัวแล้ว ก็ต้องรู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับช่วงเวลาด้วย

2. ให้น้ำตอนไหน มากไปหรือเปล่า

เรื่องของการให้น้ำพืชก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่ควรคำนึงถึง แม้ว่าพืชจะต้องการน้ำ แต่พืชแต่ละชนิดต่างก็ต้องการน้ำต่างกันไป ดังนั้น การจะปลูกพืชอะไรสักอย่าง เราก็ต้องเรียนรู้นิสัยของพืชชนิดนั้นๆด้วย นอกจากนี้ ครูวิวิช ยังแนะนำว่า เราไม่ควรจะรดน้ำช่วงหลัง 3 โมงเย็นไปแล้ว เพราะเราควรปล่อยให้หน้าดินแห้งบ้าง หากรดน้ำตอนเย็นหรือตอนดึกมากไป อาจทำให้ดินชื้น ส่งผลต่อระบบรก ทำให้รากดูดไนโตรเจนซึ่งมากับน้ำมาก ทำให้พืชบ้าใบได้  นอกจากนี้หากพืชออกดอกแล้ว ก็ควรระมัดระวังไม่รดน้ำให้ถูกดอก เพราะน้ำอาจเป็นฉนวนกั้นไม่ให้เกสรมาผสมกันได้

3. แสง และสภาพแวดล้อมเหมาะสมหรือเปล่า

ปริมาณแสงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลให้พืชเจริญเติบโต จนสามารถออกดอก ออกผลได้ เช่นหากเราปลูกพริก หรือมะเขือ ซึ่งต้องการแสงแดดเต็มวัน แต่สถานที่ปลูกกลับโดนแดดรำไร หรือโดนแดดเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็อาจส่งผลกระทบต่อพืชได้หรือหากปลูกมะเขือเทศในฤดูร้อน ซึ่งมีอุณหภูมิสูงเกิน 35 องศา มะเขือเทศก็ไม่อาจจะติดดอกได้ เป็นต้น

4. ตัดแต่งยอด บำรุงดอกผล

หากปลูกพืชกินผล แต่พืชกลับมีแต่ใบ เทคนิคหนึ่งที่อยากแนะนำให้ลองทำคือ ให้ตัดแต่งเอาใบและยอดพืชออกเสียบ้าง จากนั้นก็ดูแลเขาให้ดี โดยบำรุงอาหารพวกฟอสฟอรัส โปแตสเซียมและฮอร์โมนพืชที่เหมาะสม เพื่อให้พืชพร้อมจะออกดอกออกผลได้ต่อไป

5. ช่วยผสมเกสร แทนแมลง

ปลูกผักในเมือง บางครั้งแมลงยังมีไม่มากพอ โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเริ่มปลูก ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศยังไม่กลับคืนมา เราอาจต้องใช้แรงคนในการช่วยผสมเกสร โดยให้เอาเกสรตัวผู้มาผสมกับเกสรตัวเมียก็จะมีส่วนช่วยทำให้มีเปอร์เซ็นต์การติดลูกสูงขึ้น

ข้อมูลจาก https://thaicityfarm.com

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (Biochemical Sequence) - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม