แคลเซียมช่วยเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงดินได้อย่างไร - ตรวจค่าแคลเซียม วิเคราะห์ดิน www.iLab.work

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ หรือผู้ที่เริ่มต้นปลูกพืชอาจจะไม่ทราบว่า พืชที่จะเจริญเติบโตได้ดี ออกผลผลิตได้มากและมีน้ำหนักดี จำเป็นจะต้องพึ่งพาสิ่งที่เรียกว่า ธาตุอาหารในการเจริญเติบโต ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้หากพืชได้ไม่ครบก็อาจจะแสดงอาการผิดปกติบางประการออกมา หรืออาจจะถึงขั้นไม่สามารถดำรงชีพได้ครบวงจร ไม่สามารถดำรงเผ่าพันธุ์ต่อไปและแน่นอนว่าอาจตายลงในที่สุด


ยกตัวอย่างธาตุอาหารจำเป็นสำหรับพืช เช่น 

ไนโตรเจน (N) ช่วยให้พืชมีสีเขียว ส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบ และลำต้น ทำให้ลำต้น และใบมีสีเขียวเข้ม ควบคุมการออกดอก และติดผลของพืช อีกทั้งเพิ่มปริมาณโปรตีนให้แก่พืช 

ฟอสฟอรัส (P) ส่งเสริมการออกดอกและผล ติดเมล็ด การพัฒนาเมล็ดและผล เร่งการเจริญเติบโตของราก พร้อมช่วยเพิ่มความต้านทานต่อโรคพืช และมีส่วนช่วยในการเร่งการสุกแก่ของผลให้เร็วขึ้น 

โพแทสเซียม (K) ช่วยพืชสร้างอาหาร (สังเคราะห์แสง) และมีส่วนช่วยทำให้รากแข็งแรง ทำให้รากดูดน้ำ และธาตุอาหารได้ดีขึ้น ทนทานต่อโรคแมลง อีกทั้งเพิ่มขนาดผลผลิต เมล็ด และช่วยเพิ่มคุณภาพของพืช ผัก และผลไม้ ทำให้พืชมีสีสัน เพิ่มขนาด และเพิ่มความหวาน

ซึ่งธาตุทั้งสามนี้ นับเป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องการเพียงแค่นี้ ยังมีธาตุอาหารรองอีกหลายชนิดที่พืชเองก็ต้องการด้วยเช่นเดียวกัน โดยเราจะขอยกตัวอย่างหนึ่งในธาตุอาหารรองที่แสนจะสำคัญสำหรับพืช เพราะมีบทบาทเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของพืช บริเวณเนื้อเยื่อเจริญทั้งที่ปลายยอด ปลายราก ใบอ่อน การแตกตาอ่อนของกิ่ง ของตาดอก และการเจริญของดอกและผลเป็นสำคัญ นั่นก็คือ ธาตุแคลเซียม นั่นเอง

ทำความรู้จัก “ธาตุแคลเซียมช่วยเพิ่มผลผลิต”

ธาตุแคลเซียม มีความสำคัญในการเป็นธาตุอาหารรองสำหรับพืช โดยจัดเป็นส่วนประกอบของสารที่เชื่อมเซลล์สองเซลล์ให้ติดกัน เรียกว่า แคลเซียมเพคเตต ช่วยคงสภาพโครงสร้างของเซลล์พืชให้ทำงานปกติ ช่วยการดูดซึมธาตุโพแทสเซียม ช่วยลดพิษของธาตุแมกนีเซียม ทำให้พืชดูดซึมธาตุแมกนีเซียมมากขึ้น และนำธาตุแมกนีเซียมไปสร้างคลอโรฟิลล์ แคลเซียมจึงเป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญในด้านที่ช่วยให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ

หน้าที่สำคัญของธาตุแคลเซียมในพืช

มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับโครงสร้างของผลไม้ คือ ช่วยเสริมสร้างเซลล์ และการแบ่งเซลล์ของพืช ซึ่งพืชต้องการอย่างต่อเนื่อง

ช่วยในการสร้างเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ของพืช ช่วยให้เซลล์ติดต่อกัน และจะช่วยเชื่อมผนังเซลล์ให้เป็นรูปร่าง และขนาดให้เป็นไปตามลักษณะของพืชแต่ละชนิด ทำให้พืชแข็งแรง

ช่วยเพิ่มการติดผล

ช่วยให้สีเนื้อและสีผิวของผลสดใส

ช่วยลดการเกิดเนื้อของผลแข็งกระด้าง และเนื้อแฉะ

ช่วยป้องกันผลร่วง ผลแตก

มีบทบาทที่สำคัญในระยะการเจริญเติบโตและการออกดอกของพืช

มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการย่อยธาตุไนโตรเจน และช่วยให้พืชดูดไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เป็นตัวช่วยลดการหายในของพืช ทำให้พืชเหี่ยวช้า

เป็นตัวช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล ทำให้ผักผลไม้มีรสชาติดี

ควบคุมการดูดน้ำเข้าไปในเซลล์พืช และป้องกันผลแตก

ทนทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง ไม่เน่าง่าย

วิธีการเติมแคลเซียมเพิ่มผลผลิตให้กับพืช

ปกติแล้วแคลเซียมนั้นเป็นธาตุที่ไม่เคลื่อนย้ายในพืช ดังนั้น การเพิ่มปริมาณแคลเซียมในดินเพื่อเพิ่มปริมาณแคลเซียมในผลไม้มักไม่ค่อยได้ผลดี การให้แคลเซียมที่ใบหรือผลโดยตรงดูจะเป็นวิธีการเพิ่มปริมาณแคลเซียมในผลที่ได้ผลที่สุด ซึ่งวิธีการเติมแคลเซียมเพิ่มผลผลิตให้กับพืชจะให้แคลเซียมช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวโดยการฉีดพ่นที่ผลบนต้น โดยสามารถใช้ผสมรวมไปกับสารเคมีฆ่าแมลงและฉีดพ่นต้นตามปกติได้เลย  หรือการให้แคลเซียมกับผลหลังการเก็บเกี่ยวโดยการจุ่มผล  หรือแช่ผลในระบบสุญญากาศหรือให้ความดันพาสารละลายแคลเซียมเข้าไปในผล  

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรคำนึงถึงปริมาณของแคลเซียมที่เหมาะสมเอาไว้ด้วย เพราะเกลือแคลเซียมบางชนิดอาจละลายน้ำได้ไม่ดี ถ้าหากความเข้มข้นของแคลเซียมไม่เหมาะสมอาจทำให้มีปริมาณแคลเซียมในผลไม่มากพอ หรือในทางตรงกันข้ามหากผลไม้ได้รับแคลเซียมมากเกินไปอาจทำให้ผลไม้เกิดความผิดปกติได้ ดังนั้น จึงควรนำแคลเซียมมาใส่ในน้ำส้มสายชูกลั่น (5%) 2 มิลลิลิตร ต่อสารละลาย  5 ลิตร เพื่อช่วยในการละลาย นอกจากนี้เกลือแคลเซียมในรูปต่างๆ อาจไม่สามารถใช้ทดแทนกันได้  และบางชนิดอาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติกับผลไม้ได้ จึงควรระมัดระวังในการใช้งาน

สรุป

จะเห็นได้ว่า พืชที่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ โดยเฉพาะในส่วนของผลผลิต จะทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ มีอายุการเก็บรักษาได้นาน เป็นที่ต้องการของตลาด ในส่วนของการเพิ่มแคลเซียมให้พืชอย่างมีประสิทธิภาพนั้น นอกจากคำนึงถึงสภาพแวดล้อมดิน ที่มีความสมดุลของธาตุที่เมื่อเสริมธาตุแล้วจะทำให้พืชดูดซึมได้ดีแล้ว ควรคำนึงถึงวิธีการให้ธาตุอาหารด้วยการฉีดพ่นทางใบ หรือผลที่ทำให้พืชดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้อย่างทันท่วงทีร่วมด้วย

ข้อมูลจาก https://shop.grotech.co/blog/แคลเซียมช่วยเพิ่มและปร/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (Biochemical Sequence) - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม