ไขข้อสงสัย “ธาตุรองและจุลธาตุ” สำหรับพืช คืออะไรกันแน่? อย่าพลาดบทความนี้!

 ไขข้อสงสัย “ธาตุรองและจุลธาตุ” สำหรับพืช คืออะไรกันแน่? อย่าพลาดบทความนี้!

เกษตรกรอาจจะคุ้นชินกับธาตุอาหารหลักในปุ๋ยเคมีอย่าง NPK อยู่แล้ว แต่อาจจะสงสัยว่า เวลาคนอื่นบอกให้ใส่ธาตุรองกับจุลธาตุ ธาตุพวกนี้คืออะไรกันแน่? ไม่ต้องสงสัยกันอีกต่อไป เพราะบทความนี้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว!

ย้อนเกร็ดความรู้ “ธาตุหลัก” คืออะไรนะ?

ก่อนจะเรียนรู้เรื่องธาตุรอง อาจจะต้องกลับไปศึกษาธาตุหลักคืออะไร ซึ่งเราขอสรุปอย่างสั้นๆ ว่า ธาตุหลักคือธาตุที่พืชต้องการในปริมาณมาก ซึ่งแม้ธาตุเหล่านี้จะมีอยู่ในดินทั่วไปแต่ก็อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช ซึ่งหากขาดธาตุหลักก็ต้องเติมธาตุอาหารให้ในรูปแบบของปุ๋ย โดยธาตุหลักประกอบด้วย 3 ธาตุ ดังนี้

ไนโตรเจน (N) ช่วยให้พืชแข็งแรง ทนต่อโรค และสร้างผลผลิตได้มาก

ฟอสฟอรัส ( P) ช่วยให้รากและต้นเจริญเติบโตได้ดี รวมทั้งช่วยในการออกดอก

โพแทสเซียม (K) ช่วยให้ผลพืชมีสีสันที่สวยงามและรสชาติที่ดี และยังช่วยให้ทนโรคอีกด้วย

แล้ว “ธาตุรอง” กับ “จุลธาตุ” คืออะไรกันแน่?

สำหรับธาตุรอง เป็นธาตุที่พืชใช้ในปริมาณน้อยกว่าธาตุอาหารหลัก และดินส่วนใหญ่ยังมีธาตุอาหารนี้อยู่บ้าง ประกอบด้วย 3 ธาตุดังนี้

แคลเซียม (Ca) ช่วยในการแบ่งเซลล์ ผสมเกสร การงอกของเมล็ด มีส่วนสำคัญต่อโครงสร้างของเซลล์พืช ช่วยในการลำเลียงอาหาร แคลเซียมช่วยในการปรับสมดุลทั้งกรดและด่างของพืช

แมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ช่วยในการสังเคราะห์กรดอะมิโน วิตามิน ไขมันและน้ำตาล ช่วยในการสังเคราะห์แสง นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต

กำมะถัน (S) เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน วิตามินและโปรตีน ช่วนสร้างคลอโรฟิลล์ ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของรากและเมล็ดพืช ทำให้พืชแข็งแรงและทนต่อความเย็น

ส่วนจุลธาตุ หรือที่หลายคนเรียกว่าธาตุเสริมนั้น เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับธาตุหลักและธาตุรอง แต่พืชจะขาดไม่ได้เช่นกัน ประกอบด้วย 8 ธาตุดังนี้

โบรอน (B) ช่วยในการสร้างสารอาหารและควบคุมสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาการเจริญเติบโตของเมล็ดพันธุ์ ช่วยในการออกดอก ผสมเกสร ช่วยในการติดผลและย้ายน้ำตาลมาสู่ผล

ทองแดง (Cu) ช่วยในการเจริญเติบโตของระบบสืบพันธุ์พืช ช่วยในการเผาผลาญอาหารของรากพืชและเป็นประโยชน์ต่อการใช้โปรตีนของพืช การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์และกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์

คลอรีน (CI) พบในดิน ช่วนกระตุ้นการย่อยอาหารสำหรับพืช มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับฮอร์โมนพืช

เหล็ก (Fe) จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์และสังเคราะห์แสง

แมงกานีส (Mn) ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ มีส่วนประกอบของคาร์บอนไดออกไซด์และการย่อยไนโตรเจน

โมลิบดีนัม (Mo) ช่วยในการดึงไนโตรเจนออกมาใช้งานและช่วยในการสังเคราะห์โปรตีน พบธาตุชนิดนี้ในดิน

สังกะสี (Zn) ช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์และแป้ง ควบคุมการย่อยน้ำตาลของพืช เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานขอเอนไซม์ที่มีส่วนในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืช และจำเป็นต่อการเปลี่ยนสภาพของคาร์โบไฮเดรต

นิกเกิล (Ni) เป็นธาตุอาหารทำสำคัญต่อเอนไซม์ ทำหน้าที่ปลดปล่อยไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่จะนำไปใช้ได้ และยังช่วยในกระบวนการงอกของเมล็ดอีกด้วย

ธาตุรอง จุลธาตุ ต่างกันอย่างไร?

สรุปอย่างง่ายๆ ธาตุรองและจุลธาตุนั้นต่างกันที่ปริมาณของความต้องการ โดยพืชจะต้องการจุลธาตุน้อยมาก แต่ก็ยังขาดไม่ได้อยู่ดีนั่นเอง

รู้แบบนี้แล้ว หากพบว่าพืชในสวนของตัวเองยังไม่สมบูรณ์หรือเจริญเติบโตช้า ให้ลองสังเกตุอาการขาดธาตุอาหารและเลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุรองและจุลธาตุมาเสริมให้พืชสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และอย่าลืมตรวจสอบความเป็นกรด-ด่างของดินซึ่งจะมีผลต่อการละลายและปลดปล่อยธาตุอาหารแต่ละชนิด รวมทั้งศึกษาว่าพืชแต่ละชนิดต้องการธาตุไหนเป็นพิเศษด้วยนะครับ

ขอบคุณข้อมูลจากสำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดปัตตานี https://www.opsmoac.go.th/pattani-article_prov-preview-421291791844 3

ข้อมูลจาก https://kasetgo.com/t/topic/671413

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?