ฟอสฟอรัสมากไป...พืชอดอยาก - ตรวจธาตุฟอสฟอรัส ในดิน ได้ที่ www.iLab.work
วันวานบอกให้รู้กันไปถึงการใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยไนโตรเจน ใช้แต่พอดีมีประโยชน์ มีน้อยต้นไม้เหี่ยวเฉา ใส่มากไปต้นไม้บ้าใบ บวมฉุ เป็นโรคง่าย
วันนี้มารู้จักปุ๋ยเคมี ธาตุอาหารหลักอีกตัว...ฟอสฟอรัส หรือปุ๋ยตัวกลาง ปุ๋ยตัว P มีมาก มีน้อยจะเกิดอะไรขึ้น
ศ.เกียรติคุณ ดร.อำนาจ สุวรรณฤทธิ์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ อธิบาย ปุ๋ยตัวนี้ มีความสำคัญต่อรากพืช ช่วยให้รากแข็งแรง แผ่กระจายได้ดี ช่วยสังเคราะห์แสง สร้างแป้งและน้ำตาล ช่วยเสริมสร้างส่วนดอก การผสมเกสร การติดเมล็ด แตกกอ ช่วยให้พืชดูดใช้ไนโตรเจนและธาตุอาหารอื่นๆ ได้ดีขึ้น
ถ้าขาดพืช จะแคระแกร็น ใบและต้นมีสีเข้ม บางครั้งมีสีม่วงหรือแดงเกิดขึ้น พืชจะแก่ช้ากว่าปกติ ผลิดอกออกผลช้า แตกกอน้อย ติดเมล็ดน้อย หรือไม่ติดเมล็ด
โดยธรรมชาติฟอสฟอรัสจะมีในดินอยู่แล้ว จะมากน้อยแล้วแต่พื้นที่ แต่ส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำยาก พืชดูดเอาไปใช้ได้น้อย หรือไม่ได้เลย
และปุ๋ยเคมี ที่เราใช้กันเป็นฟอสฟอรัสที่พืชดูดนำไปใช้ได้ทันที...ตรงนี้แหละปัญหา??
เนื่องจากธรรมชาติแร่ธาตุอาหารหลัก N-P-K จะอยู่ใน 3 รูปแบบ คือ 1. แบบพืชนำไปใช้ไม่ได้ต้องมีตัวกระตุ้น 2. แบบที่พืชนำไปใช้ได้อย่างช้าๆ 3. แบบที่พืชนำไปใช้ได้ทันที
แต่ถ้ามีมากเกินไป มันจะเปลี่ยนไปเป็นอีกรูปแบบ ฉะนั้น เมื่อเราเติมปุ๋ยเคมี (พืชนำไปใช้ได้ทันที) ธาตุตัวนี้จะเพิ่มขึ้น และเมื่อถึงระดับเกินความต้องการ มันจะเปลี่ยนรูปไปสะสมในดิน
ถ้าดินมีฟอสฟอรัสมากอยู่แล้ว เราใส่ปุ๋ยตัว P เข้าไปเยอะอีก พืชใช้ไม่หมดจะเพิ่มการสะสมในดินแล้วรู้มั้ยว่าปุ๋ยตัว P สะสมมากมันจะไปทำปฏิกิริยารวมตัวกับธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมให้ไปอยู่ในรูปพืชดูดไปใช้ไม่ได้...แทนที่ได้กินอาหารเพิ่ม กลับกลายเป็นต้นไม้ขาดสารอาหาร แคระแกร็นไปเสียฉิบ
แต่ใช่ว่าจะไร้หนทางเยียวยา ดร.อำนาจ แนะนำ ให้ปรับค่า Ph ดินให้อยู่ระดับ 7 ดินเป็นกรดแก้โดยเติมปูนขาว และถ้าดินด่างใช้กำมะถันเติมลงไป
หรือใช้อีกวิธี เติมอินทรียวัตถุหรือปุ๋ยอินทรีย์ให้ช่วยย่อยสลาย เพราะระหว่างการย่อยสลายจะเกิดกรดที่ช่วยเปลี่ยนฟอสฟอรัสให้พืชนำมาใช้ได้.
ข้อมูลจาก https://www.thairath.co.th/content/848648
####
iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025
1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที
2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ
3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน)
สอบถามเพิ่มเติม
โทร 090 592 8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น