ทำไมพืชของฉันจึงเปลี่ยนเป็นสีเหลือง? ตรวจดิน ดินขาดธาตุหรือไม่ iLab
ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืช 12 ธาตุ โดยธาตุอาหารเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นธาตุอาหารที่ใช้บำรุงตั้งแต่ราก ลำต้น ไปจนถึงใบ และผล หากถ้าพืชขาดธาตุอาหารที่จำเป็นจะแสดงออกมาให้เราเห็นทางใบได้ชัดเจนที่สุด
1. ธาตุไนโตรเจน: ธาตุอาหารหลักที่มีความสำคัญ พืชต้องการในปริมาณมาก หากให้ไนโตรเจนแก่พืชใบ พืชจะโตเร็วและเขียวสด เพราะไนโตรเจนช่วยในการสร้างโปรตีนในพืช โดยโปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของโพรโตพลาซึม ลองสังเกตุได้ถ้าพืชขาด ใบพืชจะมีสีเหลืองอย่างผิดปกติ ปลายใบขอบใบจะแห้งลามจนใบร่วง
2. ธาตุแคลเซียม: พบมากในกระดูก เปลือกไข่ ปูนขาว หรือ ยิปซัม แคลเซียมมีส่วนช่วยให้เนื้อเยื่อพืชแข็งแรงขึ้นได้เช่นเดียวกับการสร้างความแข็งแรงของกระดูก และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่ช่วยในการทำงานเนื้อเยื่อพืช แม้ว่าพืชจะใช้แคลเซียมในปริมาณที่น้อยเมื่อเทียบกับธาตุอื่น ๆ แต่หากพืชได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะส่งผลให้พืชเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น ผิวของมะเขือเทศเกิดอาการแห้งกรอบ ยอดใบอ่อนไหม้ หรือเกิดจุดด่างในใบผัก เป็นต้น
3. ธาตุกำมะถัน: มีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืช เป็นองค์ประกอบของวิตามินบางตัวที่มีผลทางอ้อมต่อการสร้างสีเขียวของพืช ซึ่งจะช่วยให้เกิดการหายใจและการปรุงอาหารพืช พืชที่ขาดกำมะถันจะมีสีเขียวอ่อน หรือเหลืองคล้าย ๆ อาการขาดไนโตรเจน ใบขนาดเล็กลง ยอดของพืชจะชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นและกิ่งก้านลีบเล็ก
4. ธาตุเหล็ก: ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบของโปรตีน และมีบทบาทสำคัญในการปรุงอาหารของพืช ช่วยกระตุ้นให้การหายใจและการปรุงอาหารของพืชเป็นไปอย่างสมบูรณ์ อาการขาดธาตุเหล็กใบจะซีดคล้ายกับอาการขาดแมกนีเซียมแต่เกิดขึ้นในใบแก่
5. ธาตุแมงกานีส: เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์หลายชนิด หรือบางคนนิยมเรียกว่า น้ำย่อย หากขาดธาตุแมงกานีสแล้ว ใบส่วนกลางของต้นไม้จะเกิดเป็นแผลขึ้นระหว่างเส้นใบ แต่โดยธรรมชาติแล้วต้นพืชขาดธาตุแมงกานีส เนื่องจากดินส่วนใหญ่จะมี pH ต่ำกว่า 7 หรือดินมีฤทธิ์เป็นกรดนั่นเอง
6. ธาตุทองแดง: ส่งผลต่อพืชโดยอ้อม ในการสร้างส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช ช่วยเพิ่มโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ และป้องกันการถูกทำลายส่วนสีเขียว นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อยในพืช ซึ่งมีผลต่อการปรุงอาหารยังผลต่อการเจริญเติบโตและการติดดอกออกผล ธาตุทองแดงยังช่วยให้ต้นพืชสามารถดูดเอาธาตุเหล็กที่อยู่ในดินนำมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น อาการของพืชที่ขาดธาตุทองแดงใบพืชจะมีสีเขียวจัดผิดปกติ แล้วต่อมาจะค่อยๆ เหลืองลงโดยแสดงอาการจะแสดงที่ยอด เรื่อยลงมาจนถึงโคนอาการขาดธาตุทองแดงพบมากในเขตดินเปรี้ยว
7. ธาตุสังกะสี: เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งออกซิเจนและฮอร์โมนในพืช เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างกรดอินโดลอะซิติกแอซิลเป็นธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และการสร้างเมล็ดพืช ตลอดจนมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในพืช ถ้าพืชขาดสังกะสี อาการที่แสดงออก คือ ใบอ่อนมีสีเหลืองซีด และปรากฏสีขาวประปรายตามแผ่นใบ โดยที่เส้นใบนั้นยังเขียวอยู่ และยอดไม่เจริญเติบโต
8. ธาตุโมลิบดีนัม: เป็นสารเร่งปฏิกิริยาในการเปลี่ยนไนเตรตเป็นไนไตรต์ ซึ่งมีความจำเป็นในพืชบางชนิด พืชตระกูลถั่วที่อยู่ร่วมกับแบคทีเรียไม่สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ได้ในเมื่อขาดโมลิบดีนัม นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในการสร้างโปรตีน บทบาทและหน้าที่ของธาตุโมลิบดีนัมในพืชนั้น ทำให้การทำงานของธาตุไนโตรเจนในพืชสมบูรณ์ขึ้น พืชที่ขาดธาตุโมลิบดีนัม แสดงอาการขอบใบแห้งและม้วนงอ พื้นที่ระหว่างเส้นใบจะมีสีซีดจางและจะแห้งตายในที่สุด
9. ธาตุแมกนีเซียม: เป็นส่วนประกอบสำคัญของรงควัตถุคลอโรฟิลล์พืชสีเขียวจึงต้องการใช้ธาตุแมกนีเซียมเพื่อสร้างคลอโรฟิลล์สำหรับใช้ในกระบวนการสังเคราะห์อาหารด้วยแสง ธาตุแมกนีเซียมช่วยคงสภาพโครงสร้างของไรโบโซม ให้สามารถทำการผลิตโปรตีนอย่างปกติ อาการของพืชขาดแมกนีเซียมใบบจะมีจุดประสีเหลืองอยู่ทั่วทั้งใบ ที่ใบแก่หรือใบที่อยู่ตอนล่างของต้น ตรงขอบจะมีจุดสีน้ำตาล ปลายใบจะแห้งเป็นสีน้ำตาล สำหรับผักกาดใบจะมีสีซีดจางลง
10. ธาตุโพแทสเซียม: มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายสารอาหารหรือผลผลิตจากการสังเคราะห์แสงในพืช โพแทสเซียมจะช่วยทำให้ผนังเซลล์แข็งแรง เพิ่มพื้นที่ใบและปริมาณคลอโรฟิลล์ ชะลอการร่วงของใบ ช่วยเพิ่มจำนวนเมล็ดและจำนวนเมล็ดดีต่อรวง เพิ่มน้ำหนักเมล็ด แต่ไม่ช่วยในการแตกกอ ลักษณะอาการหากขาดโพแทสเซียม คือ ขอบใบจะม้วนงอ ใบจะแห้งเป็นมัน มีจุดสีน้ำตาลอยู่ทั่วไป พบเห็นชัดเจนในใบตอนที่อยู่ส่วนล่าง ๆ ของต้นพืช
11. ธาตุฟอสฟอรัส: เป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยธาตุฟอสฟอรัสจะช่วยให้รากของพืชแข็งแรง และแผ่กระจายได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลำต้นแข็งแรงตามไปด้วย ปกติแล้วธาตุฟอสฟอรัสจะมีอยู่ในดินมากพออยู่แล้ว เป็นธาตุที่ไม่ค่อยเคลื่อนที่ในดินหรือละลายน้ำได้ยากซึ่งจะทำให้พืชดูดเอาไปใช้ได้ยากด้วย ลักษณะอาการหากขาดฟอสฟอรัส ใบมีลักษณะสีม่วงแดงบนแผ่นใบ เส้นใบ และลำต้นจะเห็นเด่นชัด ทางด้านใต้ใบสำหรับฝั่งใบจะมีสีทึบเข้ม ขอบใบม้วนงอไหม้
12. ธาตุโบรอน: มีอยู่มากในมูลสัตว์ มีบทบาทเกี่ยวที่ช่วยให้รากพืชดูดเอาธาตุแคลเซียมและไนโตรเจนไปใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้พืชใช้ธาตุโพแทสเซียมได้มากขึ้น มีบทบาทในการสังเคราะห์แสง การย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต และเพิ่มคุณภาพทั้งรสชาติ ขนาด และน้ำหนักของผลเพิ่มความสามารถในการเจริญเติบโตเพราะโบรอนจะควบคุมการดูดและคายน้ำของพืชในขบวนการปรุงอาหารอีกทางหนึ่ง ลักษณะอาการหากขาดโบรอน ขอบใบเหลืองปนน้ำตาล ใบอ่อนงอ ในพืชพวกที่ลงหัว เช่น ผักกาดหัว ใบจะเป็นจุด ๆ
ข้อมูลจาก https://raithep.com
####
iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025
1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที
2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ
3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน)
สอบถามเพิ่มเติม
โทร 090 592 8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น