ความสำคัญของธาตุอาหารต่อการเจริญเติบโตของพริก

 การเจริญเติบโตของพืชที่เป็นไปตามปกติ จะต้องประกอบไปด้วยปัจจัยและสภาพแวดล้อมต่าง ๆ อย่างเหมาะสมในอันที่จะช่วยให้การเจริญเติบโตดำเนินไปได้ด้วยดี แต่ในสภาพทั่วๆไป ความจริงในลักษณะดังกล่าวมักจะเกิดขึ้นได้ยาก โดยธรรมชาติการดำเนินการเจริญเติบโตที่แท้จริงของพืชยังจะต้องประสบกับอุปสรรคและปัญหาอีกมากมาย ในพริกก็เช่นเดียวกันกับพืชอื่นๆ การเพาะปลูกในปัจจุบันยังจะต้องประสบกับปัญหาในหลายด้านอันเป็นผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตโดยตรงที่สำคัญเช่นเกี่ยวกับโรคและแมลง การให้น้ำ วัชพืช และศัตรูพืชชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพริกที่นับได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญคือ การขาดธาตุอาหารในต้นพริกที่มีความสำคัญและมักพบบ่อย ๆ อันได้แก่


การขาดธาตุโปแตสเซียม

การใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตมาก ๆ และติดต่อกันนานหลายปี จะทำให้ ธาตุโปแตสเชียมซึ่งเป็นเกลือที่ละลายน้ำได้ง่าย และสลายตัวได้รวดเร็วเมื่อถูกน้ำหรือฝนชะล้างไป โดยเฉพาะพริกที่ปลูกร่วมกับหอม ถึงแม้จะใส่ปุ๋ยโปแตสเซียมซัลเฟตร่วมด้วย แต่โปแตสเซียมอยู่ในรูปของเกลือที่ละลายน้ำได้ง่าย เมื่อหมดฝนและถูกหอมดูดไปจากดิน พริกจึงแสดงอาการขาดโปแตสเซียม

ลักษณะอาการของพริกที่ขาดธาตุอาหารนี้ จะแสดงอาการให้เห็นได้ชัดคือ ผลพริกที่แก่ใกล้จะสุกเต็มที่จะมีสีไม่สม่ำเสมอกัน ด้านหนึ่งจะมีสีซีดขาวปนกับสีแดง เมื่อนำไปตากแห้งจะเห็นผลพริกมีสีขาวซีดบางส่วนเนี้อเยื่อตรงที่เป็นสีขาวมีลักษณะบางกว่าเนื้อเยื่อที่เป็นสีแดง

การป้องกันโดยการใช้วิธีการปรับปรุงดินให้มีธาตุอาหารอย่างสมดุลย์ วิธีแก้ไขโดยการใส่ปูนขาวเพื่อลดกรดในดิน ถ้ามีการใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตมาก ๆ ในสภาพที่ดินเป็นกรดน้อย ปุ๋ยแอมโมเนียมจะสลายตัวได้เร็วและเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มาก ในขณะเดียวกันก็จะไม่ไปดึงธาตุโปแตสเซียมในดินให้เป็นเกลือซัลเฟต การละลายของธาตุนี้ก็จะช้าลงและถูกนํ้าชะล้างไปไม่หมดซึ่งปกติในดินเหนียวมีธาตุนี้อยู่อย่างเพียงพอ

การขาดธาตุแมกนีเซียม

เป็นธาตุที่พืชมีความต้องการมากเป็นอันดับสี่รองจากไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม การใช้ปุ๋ยในปัจจุบันจึงนิยมใช้ปุ๋ยธาตุนี้ผสมรวมไปในปุ๋ยผสมด้วย ลักษณะอาการของต้นพริกที่ขาดธาตุนี้ จะแสดงให้เห็นที่ใบโดยเริ่มจากใบแก่ที่ตอนล่างก่อนแล้วจะปรากฎขึ้นมาจนถึงใบอ่อน อาการบนใบแก่มีสีเหลืองเกิดขึ้นในเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างเส้นใบ แต่เส้นใบยังเป็นสีเขียวอยู่จึงทำให้เกิดเป็นอาการใบด่างเขียวสลับเหลืองแมกนีเซียมเป็นธาตุหนึ่งที่ช่วยให้ใบมีสีเขียว ฉะนั้นเมื่อต้นพริกขาดธาตุนี้จึงทำให้เกิดอาการใบเหลืองดังกล่าว มีผลทำให้พืชปรุงอาหารได้ไม่เต็มที่ ต้นเจริญเติบโตช้าและให้ผลผลิตลดน้อยลง ส่วนการป้องกันและแก้ไขอาจทำได้โดยการใส่ปุ๋ยที่มีธาตุแมกนีเซียมร่วมอยู่ด้วย

การขาดธาตุแคลเซียม

ธาตุแคลเซียมมีหน้าที่ในการทำให้เกิดการสมดุลย์ของกรดในพืช เช่น กรดออกซาลิค และรักษาสมดุลย์ของธาตุแมกนีเซียม โปแตสเซียม และโบรอน ซึ่งเป็นธาตุที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของพืช นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างเซล พืชที่ขาดธาตุนี้จึงทำให้การเจริญเติบโตของเชลผิดปกติ

สาเหตุที่ทำให้พริกเกิดการขาดธาตุแคลเซียมมักเกิดในดินที่ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมมากเกินไป ทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น ในสภาพเช่นนี้ปุ๋ยแอมโมเนียมจะสลายตัวได้ช้า แต่มีปฎิกริยาไปถึงธาตุแคลเซียมโดยเร็ว ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมหรือปุ๋ยยูเรียมาก ๆ เป็นเวลานานติดต่อกันจึงอาจทำให้เกิดการขาดธาตุนี้ได้ง่าย

อาการของพริกที่ขาดธาตุแคลเซียมจะปรากฏบนยอดอ่อนก่อน แต่จะแสดงอาการมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุแคลเซียมที่พืชต้องการและชนิดพันธุ์ของพริกที่แตกต่างกันด้วย กล่าวคือพริกที่ขนาดของใบใหญ่จะแสดงอาการให้เห็นชัดกว่าพริกที่ใบขนาดเล็ก ส่วนผลกระทบต่อการขาดธาตุนี้แม้ต้นพริกจะขาดแคลเซียมแต่เพียงเล็กน้อยก็แสดงอาการให้เห็นได้ชัดเจน คือยอดพริกมีสีเขียวน้อยกว่าปกติ และปลายใบอ่อนที่ยอดทุกใบม้วนงอลงสังเกตได้ง่าย อาการที่เกิดกับพริกที่กำลังออกดอกหรือติดผลอ่อนก้านดอกและก้านผลจะโค้งงอลงมากกว่าปกติ

อาการในต้นพริกที่ขาดธาตุแคลเซียมมากจะแสดงอาการใบด่างลายมีสีเขียวอ่อน หรือสีเหลืองสลับเขียวบนใบเป็นแห่งๆ ใบจะมีรูปร่างเรียวมีขนาดเล็กลง ลักษณะเป็นหยักและเป็นคลื่นเนื่องจากมีการเจริญของเนื้อเยื่อบนใบไม่สม่ำเสมอกัน เมื่ออาการเพิ่มมากขึ้นจะปรากฏมีจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาลบนเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างเส้นใบของใบออน ใบอ่อนเหลือง และหลุดร่วงได้ง่าย ใบอ่อนมีขนาดเล็กเรียวจนถึงยอดสุด ทำให้ชะงักการเจริญเติบโตไม่ผลิดอกออกผล ต้นที่ขาดมาก ๆ จนถึงตายจะแสดงอาการยอดแห้งเป็นสีน้ำตาล อาจจะร่วงหักไป ๑-๒ ข้อ หรือแห้งลุกลามลงไปเรื่อยๆ จนต้นตาย พริกที่ข้อหลุดแล้วจะพยายามแตกยอดใหม่ แต่ยอดที่แตกมามีลักษณะด่างลายมากขึ้น และแตกเป็นกระจุกหรือเป็นฝอย ส่วนในต้นที่ข้อหลุดแล้วไม่ยอมแตกยอดใหม่อีกจนตาย อาการในขั้นนี้มักเรียกว่าพริกหัวโกร๋น และสุดท้ายของอาการขาดธาตุนี้จะเกิดขึ้น เมื่อมีจุดหรือแถบสีน้ำตาลไหม้ตามกิ่งอ่อนแล้วลุกลามไปตามกิ่งใหญ่ทั่วลำต้น ทำให้กิ่งแห้ง ต้นมีอาการใบเหลีองมากขึ้นเพราะในระยะนี้ใบแก่ซึ่งอยู่ตอนล่างบางใบเริ่มมีเนื้อเยื่อสองข้างของเส้นกลางใบแห้งเป็นสีน้ำตาลหลุดร่วง ต้นทรุดโทรม ปลายกิ่งแห้งมกกขึ้นจนต้นตายในที่สุด

การป้องกันและแก้ไข ในสภาพปกติของดินปลูกพริกที่เหมาะสม คือมีค่า pH ระหว่าง ๖-๖๘ จะทำให้ปุ๋ยทุกชนิดสลายตัวได้ดีและเป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด โดยเฉพาะปุ๋ยแอมโมเนียหรือยูเรียซึ่งมีปฏิกิริยาสลายตัวได้เร็วกว่าปุ๋ยชนิดอื่น แต่ในสภาพดังกล่าวก็จะเป็นประโยชน์ต่อพืชมากที่สุด และในขณะเดียวกันก็จะไม่มีมากจนไปยึดธาตุแคลเซียมที่มีอยู่ในดินให้เป็นเกลือแคลเซียมที่สลายตัวได้ง่าย และสูญเสียไปกับการชะล้างของนํ้าได้เร็ว ซึ่งจะมีผลทำให้ดินขาดธาตุแคลเซียมไป ฉะนั้นในด้านการป้องกันและแก้ไขโดยการปรับปรุงดินให้เหมาะสม เช่น ในดินเปรี้ยวที่เป็นกรดจัดหรือเกิดจากการใส่ปุ๋ยแอมโมเนียซัลเฟตมากเกินไป ก็จะแก้ไขได้โดยการเพิ่มปูนขาว ซึ่งมีธาตุแคลเซียมอยู่มากเป็นต้น

ธาตุแคลเซียมที่ใช้ในการปรับปรุงดินมีอยู่หลายรูปที่ใช้กันมากในรูปของปูนเผาหรือปูนขาว จะมีความรุนแรงและทำปฏิกิริยาได้รวดเร็วกว่าปูนดินหรือหินปูน แม้จะใส่ในจำนวนที่มากเกินขนาดก็จะไม่เป็นอันตรายต่อพืช เพราะมีการสลายตัวช้าและยิ่งนานไปก็จะทำให้โครงสร้างของดินดีขึ้น ดังนั้นการใช้ปูนขาวจึงต้องระวังอย่างมากโดยเฉพาะยิ่งในดินปนทราย ในดินเหนียวแม้จะใส่มากไปบ้างก็ไม่ค่อยจะเป็นอันตราย ส่วนลักษณะของปูนที่ใส่ยิ่งมีเม็ดละเอียดมากเท่าใดก็จะยิ่งดีเพราะมีผิวดินสัมผัสดินได้ดี

การขาดธาตุเหล็ก

หน้าที่โดยตรงของธาตุเหล็กจะเกี่ยวข้องกับการสร้างสารสีเขียวให้กับพืช และเป็นตัวช่วยในขบวนการนำพาแก๊สออกซิเจนในระยะหายใจของพืชด้วย สำหรับการขาดธาตุเหล็กในพืชนั้นเป็นเรื่องสลับซับช้อนมากเนื่องจากดินที่ขาดธาตุนี้อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น ในสภาพของดินที่เป็นด่างหรือดินเค็มมากเกินไป (pH 7 ขึ้นไป) ในดินที่มีธาตุแมงกานีส ทองแดง สังกะสี โคบอลท์ นิเกิล โครเมียม และฟอสฟอรัส ละลายออกมากในดิน ฉะนั้นในด้านของการแก้ไขจึงต้องศึกษาให้ดีเสียก่อน เช่นในดินที่เป็นกรดมากก็อาจจะขาดธาตุแคลเซียม แมกนีเซียมและฟอสฟอรัส อันเป็นผลให้กิดการขาดธาตุเหล็กได้โดยทางอ้อม

ลักษณะอาการของพริกที่ขาดธาตุเหล็ก ใบของพริกที่กำลังเจริญเติบโตจะมีสีซีดเหลือง คงมีสีเขียวเฉพาะเส้นใบ สีที่ซีดเหลืองจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับในใบอ่อน และจะซีดขาวหมดทั้งใบในเวลาต่อมา ในใบดังกล่าวอาจมีบางใบเป็นสีแดงเรื่อ ๆ หรือสีนํ้าตาลอ่อนอมชมพูปนอยู่ด้วย ใบอ่อนที่แตกใหม่มีขนาดเล็กลงผิดปกติ ขอบใบและปลายใบจะแห้งเป็นสีนํ้าตาล ต้นพริกจะมียอดซีดขาวและชะงักการเจริญเติบโต

การป้องกันและแก้ไขเนื่องจากการขาดธาตุเหล็กอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ในสภาพปกติในดินที่เป็นด่างจะพบธาตุเหล็กอยู่มาก การแก้ไขจึงต้องปรับปรุงดินให้เป็นกรดโดยการใส่กำมะถันลงในดิน หรือการเพิ่มปุ๋ยคอกก็จะช่วยได้มาก หรืออาจใช้ฟอสฟอรัสซัลเฟต ๐.๒ เปอร์เซ็นต์ ฉีดพ่นทางใบ แต่ต้องระวังจะเกิดอันตรายต่อใบได้ง่าย ส่วนการแก้ไขโดยวิธีการใส่ปูนขาวปรับปรุงดิน จะช่วยได้แต่ต้องคำนวณดูว่าจะเพิ่มจำนวนเท่าใด และอาการที่ขาดเกิดจากสาเหตุใด มิฉะนั้นแล้วอาการจะเพิ่มมากขึ้นและเป็นอันตรายต่อพริกได้รุนแรงมากขึ้น

ข้อมูลจาก https://www.thaikasetsart.com/พริกขาดธาตุอาหาร/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?