เทคนิคปรุงดินให้อร่อย ธาตุอาหารครบ ถูกใจพืชผักในสวน : รูปว่า ดินขาดธาตุอะไร ได้เพิ่มผลผลิตเพิ่ม iLab.work

พืชผักจะงาม ต้องเริ่มจากดินที่ดี เป็นคำกล่าวที่ไม่เกินความเป็นจริงเลย เมื่อเราได้เห็นแปลงผักที่ อาจารย์เติ้ล – เกศศิรินทร์ แสงมณี อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้ลงพื้นที่พร้อมแนะนำเทคนิคเตรียมดินให้สมบูรณ์ โดยเฉพาะกับผักกินใบและผักสลัดต่าง ๆ ซึ่งไม่เพียงมีต้นอวบใหญ่ ใบกรอบน่ากินเท่านั้น แต่ยังแข็งแรง ปราศจากโรคและแมลงรบกวนอีกด้วย

ดินปลูกผัก เป็นปัจจัยสำคัญทั้งเป็นที่อยู่ของรากพืชและแหล่งธาตุอาหารที่พืชใช้ในการเจริญเติบโต ดินปลูกที่ดีควรมีความโปร่ง ร่วนซุย ระบายน้ำดี มีธาตุอาหารเพียงพอ มีอินทรียวัตถุค่อนข้างมาก ไม่มีเชื้อโรค แมลงหรือสัตว์ที่เป็นอันตรายกับพืช เพราะถ้าดินปลูกไม่ดีจะทำให้ต้นผักขาดน้ำ ขาดอาหาร จนไม่สามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีต่อไปได้ การปรับปรุงดินให้ดีจึงเป็นภารกิจแรกที่ต้องเรียนรู้และลงมือทำ

อาจารย์เติ้ล – เกศศิรินทร์ แสงมณี อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

รู้จักดิน

ดินแบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ ตามลักษณะของเนื้อดิน คือ ดินเหนียว ดินร่วน และดินทราย

ดินเหนียว เนื้อดินมีอนุภาคค่อนข้างละเอียด ดูดซับน้ำได้ดีและเกาะตัวกันแน่น ทำให้การระบายน้ำไม่ดี ส่งผลเสียต่อรากพืชในอนาคต

ดินร่วน เหมาะกับการปลูกพืชผัก เนื่องจากมีส่วนผสมของดินทรายและดินเหนียวในปริมาณที่เหมาะสม ดูดซับน้ำได้ปานกลาง เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์

ดินทราย มีอนุภาคของเนื้อดินหยาบ มีทรายผสมมากจึงไม่เกาะตัว ไม่สามารถอุ้มน้ำได้ และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

ดินแต่ละชนิดมีความแข็งและความสามารถในการอุ้มน้ำแตกต่างกัน เบื้องต้นให้สังเกตว่าดินของเราเป็นดินชนิดใดและมีสีอะไร เพราะสีของดินจะช่วยประเมินความอุดมสมบูรณ์ การระบายน้ำ และปริมาณอินทรียวัตถุของดินได้ เช่น ดินสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำแสดงถึงองค์ประกอบที่มีอินทรียวัตถุสะสม ดินสีเทาแสดงถึงสภาพดินที่อยู่ในสภาวะขาดออกซิเจน และดินสีประบ่งบอกถึงสภาพขังน้ำและแห้งเป็นบางช่วง ทำให้แร่เหล็กในดินเปลี่ยนสภาพและเกิดเป็นสีประ เป็นต้น หากดินในพื้นที่มีลักษณะไม่เหมาะสม ควรปรับปรุงบำรุงดินให้ดีเสียก่อน โดยใช้วัสดุปรับปรุงดินที่หาได้ง่าย ราคาถูก และมีธาตุอาหารตรงตามความต้องการของพืช ตัวอย่างเช่น

ดินเหนียวและแน่น ควรปรับสภาพดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก แกลบดิบ ใบไม้แห้ง ขี้เถ้า ฯลฯ เพื่อให้ดินมีความร่วนซุย ระบายน้ำและอากาศได้ดีขึ้น เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ รากพืชชอนไชลงไปในดินได้ง่าย

ดินทราย ควรปรับสภาพดินด้วยอินทรียวัตถุที่อุ้มน้ำได้ดี โดยวัสดุที่นิยมใช้ปรับปรุงดิน ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือดินปลูก อัตรา 1-2 กิโลกรัม และขุยมะพร้าว 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หรือจะใช้ทรายหยาบ ขี้เถ้าแกลบ แกลบดิบ ขี้เลื่อย กาบมะพร้าวสับ และเศษใบไม้แห้งแทนขุยมะพร้าวก็ได้ ผสมลงแปลงให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 15 วัน จะทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดีขึ้น

สำหรับดินในเมือง ส่วนใหญ่เป็นดินถม ลักษณะเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินเป็นกรดจัดถึงเปรี้ยว ระยะเวลาที่ใช้ในการปรับปรุงดินจนเหมาะสมต่อการปลูกพืชผักขึ้นอยู่กับความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดิน หากดินมีค่า pH 4-5 จะใช้เวลาในการปรับปรุงดินประมาณ 1 เดือน ขณะที่ pH 3-4 จะใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือน

pH 11+ สารปรับสภาพดินสูตรออร์แกนิก จาก TPI เป็นผลิตภัณฑ์แร่ธาตุเข้มข้นจากธรรมชาติ เห็นผลเร็ว ร่นระยะเวลาการปรับสภาพดิน ประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียมคาร์บอเนต มากกว่า 85% ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดของดิน ลดพิษที่สะสมให้เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืช ทั้งยังช่วยลดการสะสมของเชื้อโรคป้องกันสาเหตุของการเกิดโรคพืช

การเตรียมดินปลูกผัก แนะนำว่าควรสังเกตสีของดินด้วย หากขุดลงไปแล้วเป็นดินเหนียวสีเหลือง ส้ม หรือแดง แสดงว่าเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากมีจาโรไซต์และไพไรต์ซึ่งเป็นแร่ที่มีธาตุเหล็กและกำมะถันสะสมอยู่มาก

การจัดการเบื้องต้นสำหรับดินที่มีค่า pH 3-4 คือ ควรเติมวัสดุปูน เช่น ปูนขาว ปูนมาร์ล โดโลไมท์ อัตรา 1-1.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (2,000 กิโลกรัมต่อไร่) แกลบดิบ 2 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และปุ๋ยคอก 2-3 กิโลกรัมต่อตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง อัตรา 20 มิลลิลิตร (4 ช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ 10 ลิตร หรือรดด้วยปุ๋ยอินทรีย์เข้มข้นที่มีฮิวมิค อัตรา 5 มิลลิลิตร (1 ช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ 10 ลิตรร่วมด้วย หมักดินทิ้งไว้ 2-3 เดือน ระหว่างหมักให้คลุมดินด้วยฟางหรือตาข่ายพรางแสง (ซาแรน) รดน้ำ 2 วันครั้ง รดน้ำหมักทุก 7 วัน และพรวนดินทุก 15 วัน ใช้เวลาประมาณ 30 วัน ดินจะเริ่มฟูและมีสีคล้ำออกดำขึ้น

ปุ๋ยอินทรีย์เข้มข้นได้จากการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ช่วยปรับสมดุลของดิน ฟื้นฟูให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี เหมาะต่อการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มธาตุอาหารพืชและปริมาณจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน  ผู้ปลูกสามารถใช้ปุ๋ยอินทรีย์เข้มข้นโดยผสมน้ำตามคำแนะนำ รดดินในระหว่างเตรียมดินหรือรองก้นหลุมก่อนปลูกพืช หรือรดรอบทรงพุ่มพืชผักก็ได้

หากดินมีค่า pH 4-5 แนะนำให้ปรับปรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์เม็ด 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และแกลบดิบ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วยหรือจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง อัตรา 20 มิลลิลิตร (4 ช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ 10 ลิตร ระหว่างหมักให้คลุมดินด้วยฟางหรือตาข่ายพรางแสง (ซาแรน) รดน้ำ 2 วันครั้ง รดน้ำหมักทุก 7 วัน ใช้เวลาประมาณ 30 วัน ดินจะฟูขึ้น

ปุ๋ยอินทรีย์เม็ด ถ้ำค้างคาว TPI ตัวช่วยให้ดินมีความโปร่งร่วนซุย ทั้งยังเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดิน ช่วยให้ดินสามารถกักเก็บธาตุอาหารและอุ้มน้ำได้มากขึ้น ส่งผลให้พืชผักเจริญเติบโตได้ดีและแข็งแรง หากใช้คู่กับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ จะช่วยเพิ่มผลผลิต โรคและแมลงศัตรูพืชเข้ามาทำลายได้ยาก

Tips

ระหว่างหมักดิน ควรรดไตรโคเดอร์มา อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร (เชื้อสดขยายในข้าว) ทุก 15 วัน จะช่วยให้อินทรียวัตถุต่าง ๆ ย่อยสลายได้เร็วขึ้น ทั้งยังช่วยกำจัดโรคต่าง ๆ ในดินด้วย

ดินผสมบรรจุถุง ปรับปรุงให้ดี พืชผักก็งามได้

สำหรับคนที่ไม่มีดินในพื้นที่บ้านแต่อยากปลูกผักบ้าง สามารถใช้ ดินผสมบรรจุถุง ที่จำหน่ายตามร้านต้นไม้ได้ แต่ควรนำดินมาปรุงใหม่ให้มีอัตราส่วนที่ดีขึ้น วิธีปรุงดินทำได้ง่ายเช่นเดียวกับการทำปุ๋ยหมัก แนะนำให้ผสมดินถุงกับปุ๋ยคอกและกาบมะพร้าวสับ อย่างละ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดด้วยน้ำหรือน้ำหมักชีวภาพให้พอชุ่มชื้น แล้วตักดินใส่ถุงหรือกระสอบที่มีรูระบายอากาศ ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 15 วัน หรือสัมผัสดูแล้วไม่ร้อนก็นำมาปลูกพืชผักได้

อาจใช้วิธีนำดินถุงมาผสมกับปุ๋ยคอก เศษใบไม้แห้ง หรือเศษอาหารในครัวเรือน เช่น เศษผัก ผลไม้ เปลือกไข่ กากกาแฟ ฯลฯ คลุกเคล้ากับน้ำหมักจุลินทรีย์ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มีอัตราส่วนตายตัว แต่อาศัยการสังเกตโครงสร้างดินที่หมักว่ามีความโปร่ง ร่วนซุยเหมาะกับการปลูกพืชผักหรือไม่ เมื่อผสมดินเรียบร้อยจึงรดน้ำให้พอชุ่มชื้น สังเกตง่าย ๆ โดยทดลองกำดินผสมว่าจับเป็นก้อนไม่แตก บีบแล้วไม่มีน้ำไหลก็ใช้ได้ จากนั้นจึงตักดินใส่ถุงหรือกระสอบที่มีรูระบายอากาศ ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม เมื่อคุ้ยดินจับดูแล้วไม่ร้อนก็นำมาปลูกผักได้

คนที่มีพื้นที่ปลูกไม่มากนัก อาจใช้วิธีปลูกผักในกระถางโดยใช้ดินผสมที่หมักเตรียมไว้

นอกจากนี้สามารถหมักดินที่มีอยู่ในบริเวณบ้าน โดยใช้ดินร่วน ดินใบก้ามปู หรือดินขุยไผ่ 2 ส่วน ผสมกับปุ๋ยคอก แกลบดิบ ขุยมะพร้าว และกาบมะพร้าวสับ อย่างละ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน รดด้วยน้ำหมักชีวภาพให้พอชุ่มชื้น หมักไว้ในที่ร่มประมาณ 15 วัน ก็นำมาปลูกพืชผักได้เช่นกัน

Tips

ดินผสมมีหลายสูตรจากหลายตำรา เลือกใช้ได้ตามความสะดวก แต่ควรนำมาปรุงใหม่โดยนำอินทรียวัตถุที่หาได้ง่ายมาผสม

หากมีพื้นที่มากและต้องการทำสวนผักอย่างจริงจัง ผู้ปลูกสามารถเก็บตัวอย่างดินไปตรวจวัดค่าความอุดมสมบูรณ์ ความเป็นกรด-ด่าง และลักษณะทางกายภาพ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืชผักที่ต้องการ

เทคนิคปรับปรุงดินที่แนะนำนี้ สามารถช่วยให้การปลูกผักประสบความสำเร็จได้มากขึ้น แม้ผู้ปลูกส่วนใหญ่มักมีความคิดว่า ดินอะไรก็ปลูกผักได้ แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ การปรับปรุงและเตรียมดินให้สมบูรณ์ก่อนปลูกพืชมีความสำคัญอย่างมาก เพราะสุดท้ายแล้วพืชผักที่ปลูกจะเจริญเติบโตได้ดี มีสุขภาพแข็งแรง โรคและแมลงศัตรูรบกวนน้อย เพียงแค่ต้องรอเวลา อย่าใจร้อน

เรื่อง : วิรัชญา

ภาพ : สิทธิศักดิ์ น้ำคำ, อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม

ข้อมูล : อาจารย์เกศศิรินทร์ แสงมณี มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

สถานที่ : สวนผักชุมชน กสบ.พัฒนา

ข้อมูลจาก https://www.baanlaesuan.com/240888/garden-farm/farm-guru/tpi_guru

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (Biochemical Sequence) - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม