สังกะสี......ธาตุอาหารเสริมที่น่าสนใจ - ตรวจธาตุเสริม ตรวจธาตุสังกะสีในดิน iLab

ในบรรดาการแนะนำการใช้สารอาหารพืช ไม่ค่อยจะมีใครเอ่ยถึง #สังกะสี กันมากนัก ส่วนใหญ่มักแนะนำธาตุแคลเซียม และโบรอน จะมีติ่งเรื่องแมกนีเซียมบ้าง ก็ไม่ค่อยจะได้ยินบ่อยนัก

อย่างไรก็ตาม ในระยะวลาไม่กี่วันมานี้ก็มีการเอ่ยถึง สังกะสีกันขึ้นมาหนาหู ผู้เขียนจึงค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องและจากประสบการณ์ที่พอมีอยู่บ้าง ใคร่จะแบ่งปันแก่ผู้ที่สนใจได้อ่านเพื่อประดับความรู้และสามารถนำไปปรับใช้กับพืชผลของเรา ให้มีคุณภาพมากขึ้น

#สังกะสี หรือ #ซิงค์ (ZINC) เป็นธาตุอาหารพืชที่อยู่ในกลุ่มธาตุอาหารเสริม คือพืชมีความต้องการและจำเป็นเช่นเดียวกับธาตุอาหารหลัก แต่ต้องการใช้ในปริมาณที่น้อยกว่า

อย่าลืมว่า พืชต้องการธาตุอาหารทั้ง 16-17 ชนิด เพื่อการเติบโตเป็นสัดส่วนกัน ถ้าบริเวณราก หรืออวัยวะที่พืชใช้ในการดูดธาตุอาหารมีธาตุใดธาตุหนึ่งในอัตราต่ำ ความสามารถในการนำธาตุอาหารอื่นๆ ไปใช้จะเป็นสัดส่วนที่สัมพันธ์กับธาตุอาหารที่ต่ำที่สุด ที่มีอยู่ในขณะนั้น นั่นเอง

แต่…พืชแต่ละชนิดมีความต้องการสังกะสีแตกต่างกัน พืชที่ต้องการสังกะสีน้อย ได้แก่ ทุเรียน มังคุด (ประมาณ 15-30 ส่วนในล้านส่วน หรือเรียกกันทั่วไปว่า พีพีเอ็ม) แต่ถ้าเป็นส้ม หรือกล้วยไม้ชนิดต่างๆ จะต้องการสังกะสีสูงกว่า (35-150 พีพีเอ็ม) ในขณะที่พืชตระกูลธัญพืช เช่นข้าวโพด ข้าวฟ่าง และถั่วต่างๆ จะแสดงอาการขาดสังกะสีได้รุนแรงหากพบว่าขาดธาตุสังกะสีเพียงเล็กน้อย

ดังนั้นหากพืชดูดซึมสารละลายสังกะสีได้ไม่เพียงพอ จะเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร แม้ว่าจะไม่แสดงอาการขาดธาตุให้เห็นอย่างเด่นชัด เหมือนกับพืชตระกูลส้ม ที่แสดงอาการขาดธาตุ ในลักษณะข้อยอดสั้น ใบเล็กและสีซีดขาว ที่เรียกว่าอาการใบแก้ว เป็นต้น

หน้าที่ของธาตุสังกะสีจะเกี่ยวข้องกับการสร้างฮอร์โมนเร่งตาดอก ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของเอนไซม์หลายชนิด รวมถึงการสร้างโปรตีน แต่ที่สำคัญมากคือ สังกะสีส่งเสริมให้พืชใช้ประโยชน์ของธาตุโปรแตสเซียมและไนโตรเจน ให้มีมากขึ้น ข้อควรระวังคือหากเราใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสมากเกินไป จะทำให้พืชเกิดอาการขาดสังกะสีได้ เพราะธาตุสังกะสีเป็นธาตุโลหะหนักจะจับตัวกับอนุมูลฟอสเฟตตกตะกอนในดิน พืชนำไปใช้ไม่ได้

ข้อมูลจาก https://erawanagri.com/zinc/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?