สาเหตุที่ทำให้ดินเสีย และวิธีแก้
เกษตรกรที่ทำงานเกษตรต่างๆ ส่วนมากต้องอาศัยดินเพื่อการปลูกพืช ก็เปรียบได้ว่าดินเป็นเหมื่อนต้นกำหนดแห่งชีวิตเลย แต่พอทำไปนานๆเข้ามันมักจะเกิดปัญหาเพราะดินต้องทำงานหนักมากจนเกินไป เจอพืชที่ทำลายดิน เจอยาฆ่าแมลง ไปมากๆเข้าดินอาจรับไม่ไหว ดินบางพื้นที่อาจได้รับปัญหาอื่นอีกมาก วันนี้เราจะมาพูดถึงสาเหตุที่ทำให้ดินเสีย และวิธีแก้ เพื่อที่ชาวเกษตรกรจะได้หลีกเลี่ยงการทำให้ดินเสียได้บางทีก็อาจทำลายดินหรือแหล่งรายได้ของตัวเองโดยไม่รู้ตัว และใครที่ดินเสียแล้วจะได้ไม่หมดกำลังใจในการทำงาน
ปัญหาดินเสีย
โดยสาเหตุการทำให้ดินเสียมี 2 ประเภท ด้วยกันใหญ่
1.เสียโดยธรรมชาติทำลาย คือ ลมแรง กระแสน้ำกัดเซาะพัดพาหน้าดินหลุดลอยหายไป
2.เสียโดยมนุษย์ทำลาย คือ
2.1 ปัญหาใหญ่เลยก็คือการตัดไม้ทำลายป่า เวลาฝนตกจะไม่มีอะไรดูดน้ำหรือรักษาหน้าดินไว้ จึงทำให้น้ำกัดเซาะหนาดินที่ดีไปหมด
2.2 ชาวเกษตรการทำการเกษตรไม่ถูกวิธี คือ
-การปลูกพืชชนิดเดียวกันเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนหรือวนปลูกพืชชนิดอื่น จะทำให้ธาตุอาหารตามระดับความลึกของรากพืชถูกนำไปใช้มากจนดินเสื่อมความสมบูรณ์
-การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีต่างๆเป็นเวลานาน มันอาจจะได้ผลดีกับพืชแต่จะไปทำลายดินและผู้บริโภคได้
-การไถหรือพรรณดินในขณะที่ดินเปียก
-การขุดหน้าดินไปขาย
-การเผาหน้าดิน
วิธีป้องกันไม่ให้ดินเสีย
1.การปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวหน้ากระดานเพื่อเป็นการป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน
2.การปลูกพืชคลุมดิน เพื่อเป็นการรักษาหน้าดินไม่ให้เกิดการพังทลาย และจะได้ช่วยเก็บน้ำให้อยู่ในดินในชุมชื้น
3. การปลูกพืชตะกูลถั่วเอาสลับกับพืชชนิดอื่น เพื่อเป็นการเพิ่มไนโตเจนให้กับดิน
4. การใช้ปุ๋ยพืชสดและปุ๋ยคอกแทนปุ๋ยเคมีเพื่อเป็นการไม่ทำให้ดินเสียและรักษาดินได้
5.ปลูกไม้ยืนต้นที่ช่วยบำรุงดิน อย่าง ฉำฉา กระถินเทพา กระถินณรงค์ เป็นต้น
ข้อมูลจาก https://www.การเกษตร.com/สาเหตุที่ทำให้ดินเสีย/
####
iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025
1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที
2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ
3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน)
สอบถามเพิ่มเติม
โทร 090 592 8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น