ใส่เกลือในสวนปาล์มน้ำมัน…ทำให้ปาล์มดก จริงหรือไม่? ตรวจวิเคราะห์ดินในสวนปาล์ม iLab.wrok เติมปุ๋ยธาตุทีขาด เพิ่มผลผลิต

เกษตรกรหลายๆ ท่านมีความเชื่อกันว่า ถ้าใส่เกลือให้กับต้นปาล์มจะทำให้ทะลายปาล์มดก วันนี้ซีพีไอจะพามาไขข้อข้องใจกันว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่?


เกลือหรือโซเดียม (Na) ไม่ถือว่าเป็นธาตุอาหารพืช เพราะพืชไม่มีความต้องการธาตุนี้ซึ่ง ธาตุอาหารที่สำคัญสำหรับพืชมี 16 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน (C), ไฮโดรเจน(H), ออกซิเจน (O) 3 ธาตุนี้ได้มาจากน้ำและอากาศ ส่วนที่เหลืออีก 13 ธาตุ ได้มาจากการใส่ปุ๋ย ได้แก่ ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), โพแทสเซียม (K), แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg), กำมะถัน (S), โบรอน (B), สังกะสี (Zn), ทองแดง (Cu), โมลิบดินัม (Mo), แมงกานีส (Mn), เหล็ก (Fe) และคลอรีน (Cl)

แล้วเพราะอะไรการใส่เกลือ จึงทำให้พืชโตได้ดีในช่วงแรก? สามารถอธิบายได้ดังนี้

เมื่อใส่ปุ๋ยให้กับพืช ปุ๋ยส่วนหนึ่งจะถูกพืชนำไปใช้ อีกส่วนจะถูกยึดอยู่กับดิน แล้วค่อยๆ ถูกปลดปล่อยออกมาให้กับพืชนำไปใช้  ขึ้นอยู่กับค่ากรด-ด่างของดิน (pH) ค่ากรด-ด่างของดินที่เหมาะสมในการปลูกพืชควรอยู่ระหว่าง 5.5 ถึง 6.5

ดินเค็ม, ดินกรด ตัวอย่างสภาพพื้นที่ที่เป็นดินเค็ม ซึ่งจะมีปัญหาในการปลูกพืช และเมื่อมีการใส่เกลือลงไปในดิน เกลือจะไล่ปุ๋ยที่เกาะอยู่กับดินให้หลุดออกมา และเกลือจะเกาะแน่นกับดินแทน ซึ่งปุ๋ยที่หลุดออกมาจะทำให้พืชสามารถนำไปใช้ได้ ดังนี้เมื่อใส่เกลือในช่วงแรกจะเห็นว่าพืชเจริญเติบโตได้ดี

เมื่อพืชใช้ปุ๋ยหมด และมีการใส่ปุ๋ยเพิ่มลงไปในดิน ปุ๋ยจะไม่สามารถไปเกาะกับดินได้ เนื่องจากเกลือแทนที่หมดแล้ว ทำให้ปุ๋ยที่ใส่ถูกชะล้างไปได้ง่าย พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ สุดท้ายจึงทำให้พืชขาดธาตุอาหารและผลผลิตลดลง

การใส่เกลือลงไปในดิน จะทำให้ดินเค็ม ซึ่งดินเค็มจะส่งผลทำให้พืชเติบโตได้ไม่ดี เช่น ใบไหม้ ลำต้นแคระแกรน เพราะดินที่เค็มจะทำให้พืชขาดน้ำ ดินเค็มจะวัดค่าการนำไฟฟ้า (EC) ได้มากกว่า 4 เดซิซีเมนต์ต่อเมตร ขึ้นไป

อ้างอิง : http://www.cpiagrotech.com/category/knowledge/

ข้อมูลจาก   https://cpi-th.com/th/product-detail/21/plam

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?