การจัดการดิน ปุ๋ยและเศษซากพืช ในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ตรวจสอบธาตุอาหารในดินกับ iLab

การจัดการดิน ปุ๋ย และเศษซากพืชอย่างเหมาะสม สามารถลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ช่วยรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินอย่างยั่งยืน

สมบัติของดินที่เหมาะสม

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สามารถปลูกในดินร่วน ร่วนปนทราย ร่วนเหนียว ดินเหนียว ที่มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง- สูง มีการระบายน้ำดี ค่าความเป็นกรด-ด่าง 5.5-7.5

ความต้องการธาตุอาหารของข้าวโพด

        ปริมาณธาตุอาหารที่ข้าวโพดดูดใช้ เพื่อสร้างผลผลิต 1 ตันต่อไร่

      -ไนโตรเจน        18 กก. N/ไร่

      - ฟอสฟอรัส       3.5 กก. P/ไร่

                                8 กก. P2O5 /ไร่

      - โพแทสเซียม   9 กก. K/ไร่

                               11 กก. K2O/ไร่

ปริมาณธาตุอาหารในเศษซาก ต้น ใบข้าวโพดที่ให้ผลผลิต 1 ตัน/ไร่

    คาร์บอน         600 กก. C/ไร่

    ไนโตรเจน          5 กก. N/ไร่

    ฟอสฟอรัส      0.6 กก. P/ไร่ ( 1.4  กก. P2O5/ไร่ )

    โพแทสเซียม     4 กก. K/ไร่ ( 4.8  กก. K2O/ไร่ )

     คิดเป็นต้นทุนธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมี  330 บาท/ไร่

การจัดการดิน 

คลุกเมล็ดด้วยปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์  1  ถุง  (500 กรัม)  ต่อเมล็ด  3-5  กก. 

ใส่ปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูก  ด้วยปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบทั้ง  N  P  K  เพื่อให้พืชตั้งตัวได้ดี

ใส่ปุ๋ยครั้งที่  2  ให้ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนเมื่อข้าวโพดอายุ  20-30  วัน  เพื่อเตรียมต้นให้สมบูรณ์พร้อมสำหรับการออกดอก

หลังเก็บเกี่ยว ควรไถกลบเศษซากข้าวโพด เพื่อให้ธาตุอาหารกลับคืนสู่ดิน ช่วยรักษาดินไม่ให้เสื่อมโทรม

ระยะเริ่มงอก  พืชใช้ธาตุอาหารปริมาณน้อย ระยะออกดอกและติดฝัก  พืชเจริญเติบโตสูงสุด การดูดใช้ธาตุอาหารเริ่มลดน้อยลง++

การใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์ สามารถลดการใช้ปุ๋ย  N  P  K  ได้  25% 

การใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินร่วมกับปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์  เพิ่มผลผลิตได้  10%  และลดต้นทุนได้  20%

การไถกลบเศษซากข้าวโพดกลับลงไปในดิน  ช่วยรักษาคุณภาพดิน ทำให้การผลิตข้าวโพดมีความยั่งยืน

ข้อมูล : กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

ข้อมูลจาก http://nsfcrc-news.blogspot.com/2017/11/blog-post.html


####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ








     

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?