วิธีแก้ดิน หลังปลูก ยูคาลิปตัส - ตรวจดินในสวนยูคาลิปตัส ilab

ยูคาลิปตัส นับเป็นต้นไม้เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูก เพราะเป็นต้นไม้โตไว เลี้ยงง่าย ปล่อยทิ้งรอเวลาก็ทำได้

จึงนับเป็นต้นไม้สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ ไม่มากก็น้อย

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเรามาพิจารณาคุณภาพดีหลังจากปลูกยูคาลิปตัส เรากลับพบว่า ดินที่ผ่านการปลูกยูคาลิปตัส ดินโทรมหนักมากอย่างเห็นได้ชัด

สาเหตุที่ทำให้ดินเกิดปัญหาดินเสีย ก็เพราะ

1. ในใบของต้นยูคาลิปตัสจะมีน้ำมัน เมื่อใบต้นยูคาลิปตัส ตกลงพื้น น้ำมันพวกนี้ก็จะตกค้างอยู่ในดิน

น้ำมันยูคาลิปตัส เมื่อไปจับดับเม็ดดินแล้ว มันจะไปเคลือบดินไว้ ทำให้ดินไม่อุ้มน้ำและปุ๋ย ใส่อะไรลงไป ดินก็จับเอาไว้ไม่ได้ ดินพัง และฟื้นฟูยาก ต้นไม้ที่ปลูกใหม่จึงไม่ค่อยได้สารอาหารจากดิน สังเกตได้ว่าแปลงที่ปลูกยูคาลิปตัส ไม่ว่าจะเคยเป็นดินอะไรมาก็ แต่จะจบด้วยการเป็นดินทรายแห้งๆ แล้งๆ

2. ต้นยูคาลิปตัส เป็นต้นไม้ที่กินจุมาก มีระบบการดูดซึม และรากที่ดีมาก การกินจุนี้ทำให้ธาตุอาหารและน้ำสะสมในดินถูกใช้ออกไปมากจนแทบจะไม่เหลือ ส่งผลให้ดินแล้ง เป็นทราย เกิดการแห้งแล้งอย่างเห็นได้ชัด

3. ใบของต้นยูคาลิปตัส เมื่อสลายตัวแล้ว สารที่ได้จะไปทำลายสมดุลของธาตุอาหารในต้นไม้ และยังทำให้ระบบนิเวศของสัตว์ที่อาศัยในดิน เช่น ไส้เดือน จุลินทรีย์ ย้ายถิ่นฐานออกจากพื้นที่ ทำให้ระบบการย่อยของดินทำได้ไม่ดี

แค่ 3 ข้อนี้ ก็สามารถที่ดินที่เราใช้ปลูกต้นยูคาลิปตัสพักพินาจเอาเหมือนกัน

แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่ใช่ว่าจะแก้ไขไม่ได้ อาจจะยากหน่อย ใช้เวลาหน่อย แต่ก็ฟื้นได้ นั่นคือ

ใช้ปุ๋ยคอก ใช้ปุ๋ยคอก

ปุ๋ยคอก ไม่ใช่มูลสัตว์ แล้วมันแตกต่างยังไง คลิกดู!!

การใส่ปุ๋ยคอก นับเป็นวิธีการที่ดีที่จะทำดินกลับมาอุ้มน้ำอีกครั้ง จากปัญหาที่น้ำมันยูคาลิปตัสไปเคลือบมวลดินทำให้ดินไม่ดูดซึมน้ำและปุ๋ย เราจึงต้องใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้ปุ๋ยคอกทำหน้าที่นี้แทน แถมปุ๋ยคอกยังเป็นอาหารให้สัตว์ในดิน เป็นการชักชวนให้เขากลับมา ส่วนน้ำมันยูคาลิปตัสก็จะค่อยๆ เจือจางลงไปเองตามธรรมชาติ และอาจจะมีจุลินทรีย์บางตัวที่ทำหน้าที่ย่อยสลายน้ำมันนี้ได้ ช่วยทำลายไปอีกทาง

ในเมื่อดินทำหน้าที่ไม่ได้ ก็ต้องใช้อินทรีย์วัตถุทำหน้าที่นี้แทนไปพรางก่อน

เอาไปหว่านไปโรยแล้วทิ้งดินไว้ให้เซตตัว ช่วงเวลานี้อาจจะปลูกพืชที่ช่วยปรับดินก็ได้ เช่น ถั่ว ปอเทือง ปล่อยให้รกๆ สัก 3 เดือน หมั่นใส่ปุ๋ยคอกเป็นประจำแล้วดินจะค่อยๆ ดีขึ้น

แต่ถ้าจะเอาให้ไวเพราะอยากเอาต้นไม้อื่นลงแล้ว ไม่อยากรอ ให้ใส่ปุ๋ยคอกทั่วสวนก่อน แล้วไปซื้อหน้าดินใหม่มาถมให้หนาไม่น้อยกว่า 5 นิ้ว และหว่านปุ๋ยคอกอีกครั้ง ก็พร้อมปลูกต้นไม้ใหม่ได้เลย เพราะต้นไม้ใหม่เขาจะกินอาหารที่ผิวดินลึกประมาณ 2 – 3 นิ้วนั่นแหละครับ ส่วนดินเก่า เดี๋ยวธรรมชาติก็เซตตัวของมันเอง

อย่างไรก็ตามการใช้ปุ๋ยคอกนั้นก็มีความเสี่ยงเรื่องเชื้อโรคต้นไม้ที่อาจตกติดมา หากจะลงต้นไม้ใหม่ อย่าลืมหว่านปุ๋ยที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค หรือใช้ไตโคโดมาหว่านลงไปก่อนแล้วปล่อยให้ดินเซตตัวสัก 15 วัน ก็ลงปลูกต้นไม้ใหม่ได้เลย

ข้อมูลจาก http://www.burinonline.org/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?