การแก้ปัญหาดินด่างด้วยวิธีธรรมชาติ ปลูกอะไรไม่ขึ้น

การแก้ปัญหาดินด่าง ในการทำเกษตรอินทรีย์นั้น ถือว่าเป็นเรื่องยาก แต่ก็ไม่ยากเกินไปและก็ไม่ง่าย

เกินไป 

มีคนบอกว่า หากต้องมีการแก้ปัญหาดิน แนะนำให้ปลูกพืชที่เข้ากับดินดีกว่าแก้ดินให้เข้ากับพืช เพราะง่ายกว่า แต่ใช่ว่าการแก้ปัญหาเรื่องดินจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะต้องใช้เวลาในการจัดการค่อนข้างนาน สำหรับการแก้ปัญหาดินด่าง โดยทั่วไปมีหลายวิธี และหลายระยะเวลา แต่โดยปกตินั้นในสภาพดินด่าง ถือเป็นดินที่มีค่าพีเอชมากกว่า 7.0 ขึ้นไป ซึ่งจะทำให้ดินแน่นแข็ง เนื่องจากสูญเสียไนโตรเจนไปอย่างรวดเร็ว และดินมีการละลายแร่ธาตุกำมะถัน แคลเซียม แมกนีเซียม โบรอน และโมลิบดินั่มออกมามากเกินไปจนเป็นพิษต่อพืช ทำให้พืชไม่โตแม้จะใส่ปุ๋ยแล้วก็ตาม หากยิ่งเพิ่มปริมาณการใส่ปุ๋ยมากขึ้น ก็ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ มีแต่จะทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพราะรากของพืชไม่สามารถจะดูดสารอาหารได้เพราะสภาพดินเอง การแก้ไขปัญหาดินมีความด่าง นี้ทำได้โดย…

1.การใช้สารเคมี สำหรับวิธีนี้ต้องทราบผลแน่ชัดว่าดินมีความด่างแน่นอนและอยู่ในระดับใด ก็เลือกใช้สารเคมีที่มีความเป็นกรด เพื่อมาหักล้างสภาพด่างของดินให้มีค่าน้อยลงจนถึงระดับปกติ

2.ใช้การจัดการด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด ซึ่งจะใช้เวลาค่อนข้างนาน

การแก้ปัญหาดินด่างด้วยวิธีธรรมชาติ

- การแก้ปัญหาดินด่างในระยะแรก ใช้สารสกัดจากธรรมชาติที่มีความเป็นกรดสูง เช่น ใช้น้ำหมักในปริมาณที่มากกว่าปกติ โดยเลือกน้ำหมักจากผลไม้ สัตว์ ผัก จะให้ค่าความเป็นกรดที่สูง เช่น หมักจากมะนาว สัปปะรด ส้ม หรือพืชผักที่มีรสเปรี้ยว สามารถเอาไปคลุกกับปุ๋ยอินทรีย์เข้มข้นราดดินในบริเวณที่ต้องการทุกๆ วัน ประมาณ 3-4 เดือนเป็นอย่างน้อย และตรวจสภาพดินภายหลังการปรับสภาพแล้วทุกเดือน

- การแก้ปัญหาดินด่างในระยะที่สอง หากดินยังมีความเป็นด่างอยู่ ก็เริ่มใช้วิธีการเติมสารอินทรีย์ให้กับดิน เพราะสารอินทรีย์เป็นสารประกอบ ที่มีคาร์บอน ไฮโดรเจน และไนโตรเจนเป็นหลัก สารเหล่านี้มีประโยชน์ต่อจุลลินทรีย์ในดิน ที่จะใช้คาร์บอนและไนโตรเจนไปเป็นองค์ประกอบสำหรับโครงสร้างของเซลล์ เมื่อใช้สาร 2 ตัวไป ก็จะเหลือไฮโดนเจนที่มีปริมาณที่มากพอที่จะทำให้สารอินทรีย์ในดินมีค่าเป็นกรดอ่อนๆ หรือหากไม่เข้าใจขั้นตอนก็คือ การหมักดินให้มีความเป็นกรดด้วยสารอินทรีย์ที่ได้จากธรรมชาติ นั่นเอง ระยะนี้อาจต้องใช้เวลาในการทำ 4-6 เดือนเป็นอย่างน้อย และตรวจสภาพดินอย่างต่อเนื่อง

- การแก้ปัญหาดินด่างในระยะที่สาม ระยะสุดท้าย แนะนำให้หาพืชช่วยบำรุงดิน พืชที่นิยมปลูกในสภาวะดินเป็นกรดอ่อนๆ หรือด่างอ่อนๆ นั้น สามารถปลูกได้ในระดับผิวดิน ได้แก่ พืชตระกุลถั่วทั่วไป และผักสวนครัว ที่ระบบรากไม่ลึกมาก ส่วนปัญหาดินด่างในระดับที่ลึกลงไปอาจต้องใช้เวลามากเป็นเวลาหลายปี ด้วยการใช้พืชช่วยปรับปรุงดิน ด้วยพืชที่มีระบบรากลึก เช่น ยูคาลิปตัส กระถิน พืชตระกูลแฝก

อีกวิธีที่แนะนำกันในการแก้ปัญหาดินด่างในพื้นที่ทำนา

สามารถทำได้ โดยการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ใส่ลงไปในแปลงนาหรือพื้นที่ทำการเพาะปลูก มากน้อยขึ้นอยู่กับสภาวะความเป็นด่างของดิน หากดินมีความเป็นด่างมากก็ต้องใช้มาก ดินมีความเป็นด่างน้อยก็ใช้น้อย ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก (Organic Matter) เหล่านี้จะค่อยๆ ปลดปล่อยย่อยสลายตัวเองออกมาในรูปของกรดอินทรีย์ (Organic Acid) ทำปฏิกิริยากับดินไปทีละเล็กละน้อย จนทำให้โครงสร้างดินค่อยกลับมาเป็นดินที่มีค่าเหมาะสม (พีเอช 5.8-6.3) ตามความมากน้อยและเข้มข้นของกรดอินทรีย์หรือปริมาณปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่ได้ถูกย่อยเติมเพิ่มลงไป วิธีนี้ทำประกอบกับการไถพรวนหน้าดินด้วย

แนะนำพืชที่ชอบสภาพดินด่าง

- ไม้ดอก ได้แก่ แพรเซี่ยงไฮ้ คุณนายตื่นสาย เล็บมือนาง เข็ม เขียวหมื่นปี บานบุรี เฟื่องฟ้า กุหลาบ ชบา บานไม่รู้โรย

- ผัก ได้แก่ ชะอม กระเพรา หน่อไม้ฝรั่ง ผักบุ้งจีน ผักโขม มะเขือเทศ ถั่วพุ่ม ผักกาดหัว

- ผลไม้และไม้ยืนต้นอื่นๆ ได้แก่ มะพร้าว ฝรั่ง ละมุด พุทรา อินทผาลัม มะม่วงหิมพานต์ มะยม สะเดา สน ยูคาลิปตัส กระถินณรงค์ ขี้เหล็ก สมอ

ที่มา : Thairath

ข้อมูลจาก http://smartgreenfarming.com/learn/detail/71

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?