พืชหมุนเวียน เหตุผลและประโยชน์ของการปลูก

เรื่องของพืชจริง ๆ แล้วก็มีหลากหลายประเภทที่น่าสนใจอย่าง “การปลูกพืชหมุนเวียน” ก็ถือเป็นอีกเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามรายละเอียดไปได้ โดยเฉพาะเกษตรกร ชาวไร่ ชาวสวนที่มีพื้นที่เพาะปลูก ทว่าบางคนอาจจะยังไม่รู้ถึงความหมายของการปลูกพืชหมุนเวียน เหตุผลและประโยชน์ของการปลูก ถ้าอย่างนั้นไม่รอช้ารีบพาไปศึกษาอย่างละเอียดกันเลย

การปลูกพืชหมุนเวียน คืออะไร

การปลูกพืชหมุนเวียน คืออะไร? คือการที่ผู้ปลูกไม่ปลูกพืชพรรณชนิดเดียวกัน ตระกูลเดียวกันติดต่อเป็นเวลานานในพื้นที่เดิม ๆ หรือพื้นที่เดียวกัน การปลูกแบบหมุนเวียนช่วยลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคระบาด  สัตว์ แมลงต่าง ๆ ทั้งนี้พืชที่ควรปลูกส่วนใหญ่จะเป็นพืชกินดอก – ผล กินใบ กินหัว เพราะทั้ง 3 ประเภทจะมีความต้องการของธาตุอาหารที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ควรปลูกพืชที่อยู่ในระบบรากสั้น หรือรากยาวแบบสลับกัน เพื่อทำให้รากได้แผ่กระจายตัวไปหาอาหารที่มีอยู่ชั้นใต้ดิน ที่มีต่างระดับกันออกไป

อย่างไรก็ตาม ในการปลูกพืชหมุนเวียนก็ต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอยู่หลากหลายชนิด ได้แก่ สภาพความเหมาะสมของพื้นที่เพาะปลูก ผลผลิตและผลตอบแทนที่จะได้รับเมื่อสามารถดูแลจนเจริญเติบโตได้เต็มที่ และฤดูกาลที่มีความเหมาะสมกับชนิดของพืชต่าง ๆ ที่นำมาปลูก

เหตุผลที่ควรปลูกพืชหมุนเวียน

มาถึงตรงนี้เชื่อว่ายังมีบางคนที่เกิดต้องการู้เกี่ยวกับเหตุผลที่ควรปลูกพืชหมุนเวียน สำหรับเหตุผลนั้นจริง ๆ ก็ไม่ได้ซับซ้อน โดยอาจกล่าวได้ว่าเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพช่วยตรึงไนโตรเจนให้มากขึ้นจึงต้องปลูกพืชหมุนเวียนตระกูลถั่ว อย่างบรรดาถั่วต่าง ๆ รวมถึงเพื่อช่วยให้ชาวเกษตรกรได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่อยู่โดยเฉพาะชั้นใต้ดินอย่างคุ้มค่า และทำให้ดินมีการพัฒนาสร้างอาหารดี ๆ ขึ้นมาให้พืชได้ดูดซับเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย

หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นการช่วยรักษาความหลากหลายทางชีวภาพภายในดิน และระบบนิเวศต่าง ๆ เข้าสู่ความสมดุล และสมบูรณ์แบบ นอกจากพืชก็ยังมีพวกแมลง หรือสัตว์ต่าง ๆ ได้รับประโยชน์ตามไป เกิดวัฏจักรการเจริญเติบโตที่ได้จากธรรมชาติง่าย ๆ ทั้งนี้ การปลูกพืชหมุนเวียนยังช่วยปกป้องผืนดินจากภัยอันตรายอย่างเชื้อโรค วัชพืชที่มาสะสมแล้วกัดกร่อน ปราบปรามโรคที่เกิดจากดิน พร้อมทำลายวัชพืชให้สิ้นซาก ส่งผลดีต่อโครงสร้างของดินที่ต้องใช้งานในอนาคต

ประโยชน์ของการปลูกพืชหมุนเวียน

เมื่อพูดถึงประโยชน์ของการปลูกพืชหมุนเวียน อันที่จริงในหัวข้อที่ผ่าน ๆ มาก็มีแทรกเนื้อหาไปบ้าง แต่ถ้าจะให้เจาะลึกก็มาอธิบายในหัวข้อนี้ต่อไปได้เลย

เป็นการปลูกเพื่อช่วยลดปริมาณการใช้น้ำที่มีอยู่ในกรมชลประทาน เพราะดินจะได้รับการดูแลอันเป็นผลมาจากพืชต่าง ๆ ที่ชอนไชอาหารอยู่ภายใน

เพื่อเป็นการช่วยลดผลกระทบอันเนื่องมาจากปัญหาภัยแล้งที่บางพื้นที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะดินจะได้รับความชุ่มชื้นจากพืชพรรณต่าง ๆ

เพื่อช่วยให้พืชที่มีรากชอนไชอาหารแตกต่างกันตามชั้นดินกลายเป็นปุ๋ยสด ปรับปรุงบำรุงดินให้อยู่ในสภาวะที่พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรของพืชไร่ที่มีอยู่บางชนิด ซึ่งช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องไปเสียเงินนำเข้ามาแพง ทำให้ต้องขายผู้บริโภคแพงอย่าง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เป็นต้น

อย่างไรก็ดี พืชที่เหมาะสมในการนำมาปลูกพืชหมุนเวียน ได้แก่ ถั่วลิสง ปอเทือง ถั่วเขียว ถ้าเป็นข้าวโพดหวาน—แนะนำเป็นข้าวโพดหวานญี่ปุ่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วพุ่ม มะเขือเทศ โสนอัฟริกัน โดยวิธีการปลูกก็ต้องค่อย ๆ ทำ

อธิบายเข้าใจง่าย ๆ สมมุติมีพื้นที่แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ทำการกำหนดตัวพืช 4 ชนิด และปลูกส่วนละชนิดไปเลย หรือถ้าต้องการปลูก 5 ชนิด ก็แบ่งออกเป็น 5 ส่วน หรือถ้าใครอยากแย่งพื้นที่ออกเป็น 10 ส่วน แล้วปลูกพืช 4 ชนิดก็สามารถหมุนเวียนแปลงที่ 1 กับ 6 โดยใช้พืชประเภทเดียวกันได้ ส่วนแปลงที่ 2 แปลงที่ 7 และแปลงที่ 3 กับแปลงที่ 8

ส่วนการให้น้ำสำหรับการปลูกพืชหมุนเวียนก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าอยากให้พืชพรรณนั้น ๆ เจริญเติบโตไปในระยะเวลาตามกำหนดไหน อย่างถ้าต้องการให้ทันตามกำหนดอาจมีการอาศัยปัจจัยอื่น ๆ เช่น ฤดูกาล ระยะเวลาการให้ผลผลิต อายุพืชพรรณ การให้อาหาร

การผลิตธาตุอาหารที่แต่ละประเภทก็จะแตกต่างออกไป ซึ่งดินที่สมบูรณ์จะมีอาหารหลักและธาตุอาหารย่อยอยู่มากมาย กระนั้นพื้นดินก็ควรต้องมีความชุ่มชื้น มีปริมาณน้ำที่เพียงพอ และมีขาตั้งแบบที่เรียกว่าสปริงเกอร์ยกได้ เพื่อที่สามารถยกไปบริเวณต่าง ๆ ของพื้นที่เพาะปลูก อยากฉีดตรงไหนก็ฉีด เพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ช่วยลดปริมาณน้ำ ประหยัดพลังงานของน้ำไปอีกหลายเท่า การเลือกพืชลงดินก็ต้องพิจารณาปัจจัยของตัวกระตุ้นสร้างโปรแทสเซียม ไนโตรเจน ฟอสเฟต สังกะสี เพื่อให้สร้างสารอาหารแล้วทิ้งไว้ในดิน

การปลูกพืชหมุนเวียนนี้เรียกได้ว่ามีความนิยมอย่างมาก ซึ่งจำนวนของการปลูกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามความสนใจของเกษตรกร มีส่วนช่วยในการลดต้นทุนการผลิต กำจัดศัตรูพืช รักษาสารอาหารในดิน เพื่อให้เกษตรกรได้หันมาปลูกพืชแบบหมุนเวียนเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อกันในราคาที่เหมาะสม ถูกต้องตามฤดูกาล และไม่แพงจนเกินไป ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ให้ทั้งในทางตรงและทางอ้อมอย่างที่หาจากไหนไม่ได้อีกเลย

ข้อมูลจาก https://www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id=63

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?