รู้ไหมว่า 'ปุ๋ยเคมี' ไม่ใช่สารพิษนะ..

ปุ๋ยเคมี เป็นปุ๋ยที่นักเกษตรอินทรีย์หรือกลุ่มที่ปลูกพืชแบบอินทรีย์ไม่ใช้ในการเพาะปลูก เนื่องจากเข้าใจว่าปุ๋ยเคมีเป็นพิษต่อคน ทำให้ดินแข็ง เสื่อมสภาพ ซึ่งปุ๋ยเคมีเป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้นจากธรรมชาติ เช่น แร่และหินต่าง ๆ ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม ผลิตออกมาในรูปเม็ดโฟม มีสารอาหารพืชที่สูตรโครงสร้างแน่นอน เช่น สูตร 16-8-8 มี N = 16 P = 8 K = 8 เรียกว่าปุ๋ยผสม เนื่องจากมีการผสมระหว่างปุ๋ย 2 ธาตุขึ้นไป ส่วนปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เรียกปุ๋ยเดียว คือมีธาตุอาหารเดียว คือ ไนโตรเจน ซึ่งปุ๋ยเคมีส่วนมากจะมีแต่ธาตุอาหารหลัก ส่วนธาตุอาหารรองจะมีในบางสูตรที่มีการผสมเข้าไป ซึ่งปุ๋ยเคมีไม่ใช่สารพิษที่สร้างอันตรายต่อคน เพราะปุ๋ยเคมีเป็นอาหารของพืช เมื่อพืชได้รับสารอาหารเพียงพอก็สามารถโตได้เต็มที่ แต่ปัญหาที่เกิดการเพาะปลูกต่าง ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องที่ไม่ได้เกิดจากปุ๋ยเคมีอย่างเดียว ดังข้อมูลต่อไปนี้

ปุ๋ย

ปัญหาดินแข็ง หลายคนมักเข้าใจผิดว่าดินแข็งเกิดจากปุ๋ยเคมี ซึ่งปุ๋ยเคมีเป็นเพียงอาหารพืช เมื่อพืชใช้หมดก็หมดไปด้วย ซึ่งเคยมีการวิจัยปัญหาดินแข็งกับการใช้ปุ๋ยเคมี ผลที่ได้คือปุ๋ยเคมีไม่ได้ทำให้เกิดดินแข็ง แต่เกิดจากเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่เหยียบย่ำดินในทุก ๆ ปี แล้วทำให้ดินอัดแน่นแข็งตัว การระบายน้ำไม่ดี เก็บกักน้ำไม่ได้ ดังนั้นวิธีแก้ไขคือการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย เพราะปุ๋ยอินทรีย์มีอินทรีย์วัตถุเยอะ ธาตุอาหารครบถ้วน ทำให้ดินร่วนซุย นอกจากนี้ควรมีการระเบิดดินดานประมาณ 3-5 ปีต่อครั้ง เพื่อการระบายน้ำได้ดียิ่งขึ้น จากประสบการณ์การทำเกษตรโดยใช้ปุ๋ยเคมี ดินแข็งบางส่วนเกิดจากลักษณะดินเป็นดินเหนียว ซึ่งเวลาแห้งจะแตกเป็นรอยตามธรรมชาติ และการใช้ปุ๋ยเคมีผสมอินทรีย์ โดยไม่มีการเอาแทรกเตอร์เข้าแปลง ลักษณะของดินอ่อนนิ่ม และการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวในไร่มันและอ้อย ดินจะแข็งกว่าปกติ มีชั้นด้านล่างที่น้ำซึมผ่านยาก เวลาดินแห้งก็ไถยากเช่นกันไถ

ปัญหาดินเสื่อมสภาพ นี่ก็เป็นอีกปัญหาที่ปุ๋ยเคมีโดนใส่ร้าย เพราะตัวการที่ทำให้ดินเสื่อมสภาพแท้จริงแล้วเกิดจากการเพาะปลูกในแต่ละปีนั่นเอง เพราะเมื่อมีการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต จะทำให้ธาตุอาหารในดินลดลง เมื่อธาตุอาหารลดลง การปลูกครั้งต่อไปจำเป็นต้องเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินตามปริมาณที่ขาดหายไป และตามที่พืชต้องการ ดังนั้นถ้าหากไม่มีการใส่ปุ๋ยในครั้งถัดไป สารอาหารในดินก็จะลดลงเรื่อย ๆ จนทำให้ดินไม่มีชีวิตหรือไม่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อพืช เกิดเป็นดินเสื่อมโทรมได้

ปัญหาดินเป็นกรด ประเด็นนี้จะโทษปุ๋ยเคมีอย่างเดียวก็ไม่ได้ เพราะดินกรดเกิดจากหลายปัจจัย เช่น น้ำฝนซึ่งเป็นกรดอ่อน เมื่อน้ำฝนรวมกับคาร์บอนไดออกไซด์ จะกลายเป็นกรดคาร์บอนิก เป็นสาเหตุทำให้ดินเป็นกรดได้เช่นเดียวกัน แต่เป็นกรดอ่อน ๆ และการใช้ปุ๋ยไนโตเจนก็สามารถทำให้ดินเป็นกรดได้ ทั้งปุ๋ยเคมี มูลสัตว์ และปุ๋ยพืชสด ซึ่งไนโตรเจนจะเปลี่ยนรูปไปเป็นแอมโมเนียหรือไนเตรท ทำให้ดินเป็นกรด ดังนั้น เมื่อเราเติมไนโตรเจนลงในดิน 1 เท่า จะต้องเติมแคลเซียมคาร์บอเนตหรือปูนขาวประมาณ 1.8 เท่า เพื่อทำให้ดินเป็นกลาง (กรณีดินที่ใช้เป็นกลางอยู่แล้ว) ซึ่งจากประสบการณ์ การใช้หรือไม่ใช้ปุ๋ยเคมีดินก็สามารถเป็นกรดได้เหมือนเดิม ปริมาณน้อย-มาก ขึ้นอยู่กับไนโตรเจนที่ใช้ ดังนั้นต้องใส่ปุ๋ยตามปริมาณที่พืชต้องการ (สามารถนำดินไปตรวจวัดได้ที่กรมพัฒนาที่ดิน) และควบคู่กับปูนขาวดิน

ปัญหาที่คิดว่าปุ๋ยเคมีเป็นสารพิษ จริง ๆ แล้วดังที่กล่าวข้างต้น ปุ๋ยเคมีเป็นสารอาหารพืช ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ในส่วนที่เป็นอันตรายคือจำพวกยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ยาฆ่าหญ้า ซึ่งการใช้ปุ๋ยเคมีจะมีข้อดีคือธาตุอาหารหลักมีปริมาณมากกว่าปุ๋ยอินทรีย์โดยน้ำหนัก การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมด้วย จะช่วยประหยัดกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียว เพราะมีงานวิจัยว่าการใช้ปุ๋ยที่ปริมาณธาตุอาหารเท่ากัน ปุ๋ยเคมีจะราคาถูกกว่า เพราะปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารหลักน้อยกว่า จึงใช้ปริมาณเยอะ จากการใช้งานจริง เมื่อใส่ปุ๋ยตามที่พืชต้องการแล้ว พืชจะแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรค จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีอื่น ๆ เพื่อกำจัดเพลี้ย แมลงผัก

ดังนั้นปุ๋ยเคมีไม่ใช้ตัวร้ายทางการเกษตรนะครับ เขาเป็นเพียงสารอาหารของพืช และการปลูกพืชที่ดี ควรหมั่นบำรุงดินให้มีธาตุอาหารเพียงพออยู่เสมอนะครับ

ข้อควรปฏิบัติ

ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียวในการปลูกพืช เพราะพืชยังต้องการธาตุอาหารรองจากปุ๋ยอินทรีย์ และเชื้อราที่รักษาโรคจากปุ๋ยชีวภาพครับ และต้องปรับสภาพดินให้มีค่า pH เหมาะสมต่อการปลูกพืช หรือสามารถนำดินไปตรวจวัดได้ที่กรมพัฒนาที่ดิน ขั้นตอนปฏิบัติดังลิงก์วีดีโอ

ไม่ควรใช้ปุ๋ยเคมีน้อยกว่าหรือมากกว่าที่พืชต้องการ เพราะหากน้อยกว่า พืชจะเติบโตได้ไม่เต็มที่ หรือถ้ามากกว่าจะมีส่วนที่พืชไม่ได้เอาไปใช้หรือใช้มากเกินไปจนทำให้ขาดความสมดุล เช่น ปุ๋ยมันสำปะหลังที่ไนโตรเจนเยอะไปจะทำให้บ้าใบ ขึ้นลำ ไม่ลงหัว และเปลืองเงินโดยใช่เหตุครับ

ขอบคุณรูปภาพ และวีดีโอ

ภาพทุกภาพ: เจ้าของบทความ

วีดีโอ: กรมพัฒนาที่ดิน - การเก็บตัวอย่างดินและการตรวจวิเคราะห์ดิน จาก กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ข้อมูลจาก ttps://intrend.trueid.net/article/ปุ๋ยเคมีไม่ใช่สารพิษอย่างที่ใคร-ๆ-กล่าวหา-trueidintrend_302124

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?