ส่วนประกอบของดิน ดินดี พืชก็งาม

 ดิน (soil) ส่วนประกอบของดิน

เรื่องของดินเป็นเรื่องพื้นฐานที่ทุกคนต้องรู้ พืชจะงามผลิตจะมีคุณภาพก็ต้องเกิดมาจากดินที่มีคุณภาพ

ส่วนประกอบของดิน

พืชงามย่อมมาจากดินที่ดี

ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อการดำรงค์ชีวิตของมนุษย์ เช่น การเอาดินมาทำสิ่งก่อสร้าง การเพาะปลูกพืชผักต่างๆเป้นต้น ของสิ่งไหนก็ตามถ้าเรามุ่งแต่จะใช้ประโยชน์อย่างเดียวแต่ไม่มีการบำรุ่งรักษาในไม่ช้าของสิ่งนั้นก็จะต้องเสื่อมเสียไปไปอย่างรวดเร็ว ดินก็เช่นกันถ้าขาดการปรับปรุงและบำรุงรักษาเอาไว้ดินกินก็จะเสื่อมและให้ผลผลผลิตในการเพาะปลูกลดลงเรื่อยๆในขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ลดน้อยลงจึงส่งผลให้เกิดการขยายพื้นท่ีในการเพาะปลูก ทำให้เกิดการบุกรุกทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำการเกษตร ถ้าหากเกษตกร รู้จักดินในเชิงลึก วางแผนการใช้งานและการบำรุงรักษาได้อย่างถูกต้องจะให้ได้ผลผลิตต่อไร่ในอัตราสูงสุด ปัญหาการบุกรุกทำลายป่าก็จะลดน้อยลง 

ดินมีที่มาจากการผุกร่อนย่อยสลายตัวของหินและแร่ร่วมกับการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์คลุกเคล้าผสมกัน ผ่านระยะเวลาอันยาวนานจนถือกำเหนิดเป็นดินในที่สุด 

ดินมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

ในดินประกอบด้วย 4 ส่วน คือ อนุภาคดิน (อนินทรียวัตถุ) ,ชีวภาพ (อินทรียวัตถุ),น้ำ,อากาศ ซึ่งดินที่ดีเหมาะแก่การเพาะปลูก ต้องมีส่วนประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม

1. อนินทรียวัตถุ 

อนินทรียวัตถุ  คือ แร่ธาตุที่ได้มาจากการผุพังย่อยสลายตัวของแร่และหิน 

2. อินทรียวัตถุ

อินทรียวัตถุ คือ ซากพืช ซากสัตว์ทุกชนิดสลายตัวด้วยจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลาย และส่วนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่จากกระบวนการย่อยสลาย

3. น้ำในดิน

น้ำในดิน เป็นส่วนประกอบที่อยู่ในดิน ซึ่งดินแต่ละชนิดก็จะมีน้ำในอัตราส่วนที่แตกต่างกันไป

4. อากาศในดิน

อากาศจะแทรกอยู่ระหว่างเม็ดดินตามช่องว่างดินทำให้ดินโปร่งมีรูพรุนมาก  

การบุกรุกพื้นที่ทำกินด้วยการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำและเป็นตัวที่ช่วยปรับอุณภูมิให้อากาศเหมาะสม พอเหมาะไม่หนาวไม่ร้อนจนเกินไปแต่ผลที่ได้มาจากการบุกรุกป่าตัวอย่างเช่นในฤดูฝน น้ำในจะชะเอาอาหารพืชบริเวณหน้าดินลงสู่แม่น้ำลำคลองดินที่เหลืออยู่ก็จะกลายเป็นดินชั้นเลวที่ให้ผลผลิตต่ำ

ดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติอย่างหนึ่งที่สิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์เราใช้กันมากที่สุด เช่นเอาดินมาทำสิ่งก่อสร้าง เพาะปลูกพืชผักต่าง ๆ เป็นต้นแต่ของใดก็ตาม ถ้าเรามุ่งแต่จะใช้อย่างเดียวแต่ไม่มีการบำรุงรักษา ไม่ช้าของนั้นจะต้องเสื่อมเสียไป อย่างไม่ต้องสงสัยเลย ดินก็เช่นกันถ้าขาดการปรับปรุง หรือบำรุงรักษาไว้ดินก็จะเสื่อม 

กล่าวคือให้ผลิตผลต่ำลงทุกทีในขณะที่ความต้องการผลิตผลสูงขึ้น เพราะจำนวนพลโลกเพิ่มขึ้นทุกวัน ปัญหานี้คนส่วนใหญ่มักจะไปแก้ด้วยการเพิ่มเนื้อที่ในการผลิตโดยการถากถางทำลายป่า อันเป็นต้นน้ำลำธารและเป็นตัวช่วยลดหรือปรับอุณหูมิของอากาศให้พอเหมาะ ไม่หนาวหรือร้อนเกินไปสิ่งที่ตามมาได้แก่การพังทลายของหน้าดินในฤดูฝนน้ำฝน จะชะเอาอาหารพืชบริเวณหน้าดินลงสู่แม่น้ำลำคลองหมด ดินที่เหลืออยู่จะกลายเป็นดินที่เลวให้ผลผลิตต่ำปัจจุบันนี้ ความต้องการผลผลิตสูงขึ้น พื้นที่เกษตรกรรมมีจำกัดจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคิดค้นหาวิธีต่าง ๆ มาทำให้ดินดีขึ้น 

โดยทั่ว ๆไปแล้วเกษตรกรมักจะคิดถึงด้านปุ๋ยน้อยคนนักที่จะคิดถึงโครงสร้างของดิน ซึ่งเป็นตัวการสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้ เพราะอิทธิพลของมันไม่เพียงแต่จะทำให้การระบายอากาศหรือน้ำดีขึ้นเท่านั้น มันยังทำให้แร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุที่มีอยู่ในดินนั้นสลายตัว ให้ธาตุตัวที่เป็นอาหารและประโยชน์แก่พืชโดยตรง ทำให้ผลผลิตสูงขึ้นตามมาด้วย นอกจากนี้โครงสร้างของดินยังมีผลต่อการพังทลายของดินด้วย โดยเฉพาะดินตามไหล่เขาหรือดินที่มีความลาดชันสูง

เมื่อได้ทราบถึงความสำคัญของโครงสร้างแล้ว ลองมากล่าวถึงความเป็นมาของโครงสร้างสักเล็กน้อย โดยต้องเริ่มจากการเกิดของดินว่าดินนั้นเกิดมาได้อย่างไร ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้ดิน เกิดจากการสลายตัวของหินชนิดต่าง ๆ ออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยโดยขบวนการหรือวิธีการทางเคมีและกายภาพ 

กล่าวคือเมื่อหินนั้นโผล่ออกมาพบกับอากาศ (ซึ่งความจริงในธรรมชาตินั้น อาจจะไม่ได้โผล่ออกมาเองแต่ออกมาให้เราเห็นเนื่องจากการพังทลายของดินชั้นบนก่อน โดยน้ำมือมนุษย์ทำการถากถางไปก็ได้ หรือจะโดยที่มีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหวก็ได้ ) และถูกกับแก๊สออกซิเจนน้ำ กรด อันเกิดจากการเผาไหม้เช่น กรดคาร์บอนนิค กรดกำมะถัน หรือด่าง แล้วธาตุในหินเหล่านั้นจะทำปฏิกริยากับสิ่งดังกล่าวนี้ทำให้หินก้อนใหญ่ ๆ แตกหรือสลายตัวกระจายออกเป็นก้อนเล็กก้อนน้อยขนาดต่าง ๆ กัน บางอย่างก็ยังมองเห็นซากเดิมอยู่ บางอย่างก็เปลี่ยนแปลงจากเดิมไป เช่น ตามภูเขาบางแห่งจะพบหินที่กำลังสลายตัว เมื่อเอามือจับแล้วบี้หินเหล่านั้นจะแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย 

ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดดินในขั้นต่อไปนั้น เศษหินชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านี้ จะถูกน้ำ ลมและอุณหภูมิ ที่แตกต่างกันของกลางวันและกลางคืน หรือตามฤดูกาล ทำให้เศษหินแตกออกเป็นอนุภาค หรือชิ้นเล็กลงไปอีก ซึ่งขนาดของแต่ละอนุภาคนั้นกับชนิดของหินที่สลายตัว กล่าวคือหินบางอย่างสลายตัให้ดินเหนียวหรือมีอนุภาคขนาดไม่เวกิน 2 ไมครอน ( 1 ไมครอนเท่ากับเศษหนึ่งส่วนพันมิลลิเมตร ) มากกว่าขนาดอื่น เราเรียกมันให้ดินเหนียวหินบางชนิดสลายตัวให้ดินร่วนปนทราย คือ มีอนุภาคขนาดไม่เกิน 2 ไมครอนบ้างขนาด 2 – 50 ไมครอนบ้างและขนาด 50 ไมครอนถึง 2 มิลลิเมตร ในปริมาณที่พอ ๆ กันและหินบางชนิดสลายตัวให้อนุภาคขนาด 50 ไมครอนขึ้นไปมากกว่าขนาดอื่น 

ดินพวกนี้มักหยาบหรือเราเรียกว่าดินทรายนั้นเอง อนุภาคเหล่านี้จะถูกลมหรือน้ำพัดพาไปทับถมปะปนคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ อันเกิดจากซากพืชสัตว์รวมตัวเกาะกลุ่มกันเป็นก้อนเล็กก้อนน้อย เม็ดดินก้อนเล็กก้อนน้อยรวมตัว เชื่อมต่อกันเป็นแผ่นใหญ่ดังที่เราหรืออยู่อาศัยกันทุกวันนี้นั้นเอง การเกาะหรือรวมตัวเชื่อมต่อกันจนเป็นก้อนเป็นผืนแผ่นใหญ่ของอนุภาค ที่เกิดจากการสลายตัวของหิน ซึ่งต่อไปเราจะเรียกว่าอนุภาคของดินนั้น มันจะเกาะกันเป็นก้อนที่มีรูปร่างต่าง ๆ กันเมื่อเราหักหรือทุบให้มันแตกจากก้อนใหญ่และมองไปที่ก้อนดิน 

จะพบว่าการเรียงตัวหรือจัดว่างตัวของอนุภาคของดินที่เกิดจากหินแต่ละชนิด จะไม่ค่อยเหมือนกัน ช่องระหว่างอนุภาคดินต่างกัน คือ มีมากบ้างน้อยบ้าง บางชนิดช่องว่างเหล่านั้นต่อกันเป็นรูขนาดและแบบต่าง ๆ กันออกไปทั้งนี้จากอิทธิพลของประจุไฟฟ้าที่มีอยู่ตามขอบรอบ ๆ อนุภาคของดินความชื้นอุณหภูมิ และขนาดของอนุภาคของดินนั้นเองคุณสมบัติที่เกิดขึ้น และปรากฏให้เห็นนี้เอง 

ซึ่งเป็นสิ่งที่กล่าวถึงในขณะนี้เองโครงสร้างของดิน พี่จะพูดหรือเปล่าว่าดีหรือเลวนั้นขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมาย หรือประโยชน์ที่จะนำดินนั้นไปใช้งาน ที่ดินแถวๆลพบุรี ที่มีดินชั้นบนค่อนข้างดำ ยืดตัวและหดตัวสูงมาก ระบายน้ำเร็วที่สุด แต่ความอุดมสมบูรณ์สูง ถ้าจะเอาดินนั้นไปทำถนนจะได้ถนนที่ไม่ทนทาน โครงสร้างของมันไม่เหมาะกับถนน แต่ถ้าเอาไปทำแกนเขื่อนกั้นน้ำ จะกั้นน้ำได้ดี หรือทำนาข้าว จะเก็บกักน้ำไว้หล่อเลี้ยงต้นข้าวได้ดี ปลูกข้าวงาม 

โครงสร้างของดินในแง่ชลประทานและการเกษตรกรรมที่ดีแต่เลวในแง่ของการก่อสร้างหรือวิศวกรรมโยธาเป็นต้น อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์ของผู้เขียนต้องการจะให้กสิกร โดยเฉพาะยุวเกษตรกรผู้ที่จะเป็นพลังอันสำคัญทางเกษตรกรรมของชาติในอนาคต ได้ทราบถึงความเป็นมาของการเกิดดินและโครงสร้างของมัน รวมไปถึงการอนุรักษ์รักษาดินที่ดีอยู่แล้วให้ดีมีประโยชน์มากที่สุด

ข้อมูลจาก https://www.kladee.com/basic/soil/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?