ลดการใช้น้ำด้วยการดูแลดิน
ลดการใช้น้ำด้วยการดูแลดิน
วิธีการจัดการดินที่ใช้น้ำน้อย
1. การคลุมดิน (Mulching) เป็นการเก็บความชื้นในดินเพื่อให้พืชที่ปลูกสามารถนําน้ำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
ชนิดวัสดุคลุมดิน (ควรเลือกวัสดุคลุมดินที่หาได้ง่าย และเหมาะสมกับชนิดพืชที่ปลูก)
1. วัสดุเศษพืช เช่น แกลบ ฟางข้าว ขี้เลื่อย กากอ้อย หญ้าแห้ง ฯลฯ
2. วัสดุสังเคราะห์ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก
ประโยชน์การคลุมดิน
ด้านกายภาพ
ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน
ลดอุณหภูมิภายในดิน และลดการจับตัวเป็นแผ่นแข็งที่ผิวดินเนื่องจากการสูญเสียน้ำ
รักษาสภาพภูมิอากาศบริเวณรอบทรงต้นพืชให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
ลดการระเหยน้ำจากผิวดิน ชะลอการไหลบ่าของน้ำ และลดการชะล้าง พังทลายของดิน
ด้านเคมี
ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยสลายสารประกอบไนโตรเจนจากวัสดุหรือสารอินทรีย์จากตอซังหรือเศษซากพืชที่ใส่ลงไปในดินให้เร็วขึ้น
ด้านชีวภาพ
เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินทําให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น
2. การปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น การปลูกพืชคลุมดิน (Cover Crops)
เป็นการปลูกพืชที่มีใบหนาแน่น หรือมีระบบรากแน่นปกคลุมหน้าดิน และยึดดินไว้ เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่วหรือตระกูลหญ้า
ชนิดของพืชคลุมดิน
1. พืชตระกูลถั่ว : พืชปุ๋ยสดตระกูลถั่ว (ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม ปอเทือง โสนอัฟริกัน ถั่วมะแฮะ) ถั่วปืนตอย ถั่วคาโลโปโกเนียม ถั่วคุดซู ถั่วไซราโตร ถั่วซีรูเลียม
2. พืชตระกูลหญ้า : หญ้าเนเปีย หญ้ากินนี
3. หญ้าแฝก (ตัดใบคลุมดิน)
ควรเลือกพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตเร็ว แข่งกับวัชพืชไม่ให้ตั้งตัวได้ทัน เลื้อยปกคลุมพื้นที่ว่าง ถ้าเป็นพืชตระกูลถั่วจะยิ่งดี เพราะสามารถตรึงไนโตเจนจากอากาศ เมื่อพืชคลุมดินตายจะปลดปล่อยธาตุอาหารลงสู่ดิน
ประโยชน์ของพืชคลุมดิน
ด้านกายภาพ
ลดแรงกระแทกของเม็ดฝน
ลดการสูญเสียธาตุอาหารที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน
รักษาความชุ่มชื้นในดิน
ด้านเคมี
เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุ และธาตุอาหารพืช ดินมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ทําให้พืชเจริญเติบโตและผลผลิตดีขึ้น
ด้านชีวภาพ
เพิ่มกิจกรรมจุลินทรีย์ในดินและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมทําให้พืชเจริญเติบโต และให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้น
ด้านอื่นๆ
ลดอัตราการใช้ปุ๋ยเคมี
เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย
ข้อมูลจาก https://www.kubotasolutions.com/knowledge/plants/detail/705
####
iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025
1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที
2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ
3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน)
สอบถามเพิ่มเติม
โทร 090 592 8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น