บ่มดิน..ก่อนปลูก นวัตกรรมเพิ่มปุ๋ย

 “เพาะปลูกพืช เกษตรกรส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับเรื่องจะใส่ปุ๋ยสูตรไหนดี พืชถึงจะโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง โดยลืมคิดไปว่า ดินในแปลงของตัวเองเป็นอย่างไร การจะทำให้ดินดี เราต้องรู้จักการสร้างสมดุลเสาหลัก 3 ด้าน ด้านกายภาพ ต้องรู้ว่าดินมีคุณสมบัติอย่างไร เป็นดินชนิดไหน ความสามารถในการอุ้มน้ำ ระบายน้ำ ระบายอากาศมากน้อยแค่ไหน ความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารได้ดีหรือไม่

ด้านเคมี ความเป็นกรดเป็นด่างในดิน สารอาหารในดิน และ ด้านชีวภาพ จุลินทรีย์ในดิน ไส้เดือน สัตว์ในดินขนาดเล็กมีอะไรบ้างเป็นประโยชน์หรือโทษ เราต้องทำให้ทั้ง 3 ด้านสมดุลกันถึงจะได้ดินดี เปรียบได้กับก้อนเส้าทำเตาไฟหุงอาหาร หากก้อนใดก้อนหนึ่งไม่สมบูรณ์ก้อนเอียง ทำหม้อข้าวล้มได้ การปรุงดินก็เช่นกัน ถ้าขาดด้านใดด้านหนึ่งจะส่งผลต่อพืชและการทำการเกษตร”

ที่เรียกว่า “การบ่มดิน” เป็นเทคนิคการปรับปรุงดินก่อนปลูกพืชใหม่ ที่กรมพัฒนาที่ดินมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 จ.ราชบุรี เป็นต้นแบบในการถ่ายทอดสู่เกษตรกร

“การปรับปรุงดินแบบใหม่แม้จะคล้ายกับการนำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์มาคลุกเคล้ากับดิน หรือนำไปหว่านในแปลง หรือปลูกพืชปุ๋ยสดแล้วไถกลบทิ้งไว้ก่อนปลูกพืช แต่ปรากฏว่า วิธีแบบเดิมได้ผลดีในด้านเคมีและชีวภาพเป็นสำคัญ แต่ด้านกายภาพไม่ค่อยเห็นผลเปลี่ยนแปลงมากนัก และยังต้องใช้วัสดุอินทรีย์มาก ทางกรมพัฒนาที่ดินจึงได้คิดค้นนวัตกรรมการบ่มดินนี้ขึ้นมา”

นายอนุวัชร โพธินาม ผอ.สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 บอกถึงที่มาของเทคนิคการบ่มดินที่มีอยู่ด้วยกัน 2 สูตร

สูตรแรก การบ่มดินในแปลงเกษตร ...เริ่มจากไถพรวนดินยกร่อง และปรับพื้นที่บนร่องให้เรียบ จากนั้นใส่มูลวัวในอัตรา 1 กก. ต่อพื้นที่ 1 ตร.ม. รดน้ำให้ชุ่มชื้นถึงข้างล่างตามความลึกที่ต้องการ เช้า กลางวัน เย็น เป็นเวลา 2 วัน แล้วนำขุยมะพร้าวประมาณ 2 เท่าของของมูลวัว คลุมให้ทั่วกอง ปิดหน้าดินให้มิด รดน้ำซ้ำอีกที ทิ้งไว้ประมาณ 10-14 วัน ขุยมะพร้าวจะเป็นตัวอุ้มน้ำป้องกันไม่ให้แสงแดดโดนผิวดิน

ระหว่างนี้ควรหมั่นตรวจสอบถ้าดินแห้งให้รดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอีกครั้ง ให้น้ำที่ไหลผ่านสกัดเอาธาตุอาหารในมูลวัวลงไปสะสมในดิน เพื่อให้ธาตุอาหารแทรกซึมไปในเม็ดดิน เมื่อจุลินทรีย์ในดินทำงานก็จะเคลือบเม็ดดิน ทำให้โครงสร้างดินเปลี่ยนแปลงไป ดินร่วนซุยขึ้นก็พร้อมปลูกพืชได้ทันที

สูตรที่ 2 การบ่มดินสำหรับเตรียมดินปลูกในกระถางปลูกพืช...ด้วยการกองดิน ขุยมะพร้าว มูลวัว เป็นชั้นๆ อัตรา 1:1:1 เรียงชั้นแรกเป็นขุยมะพร้าวครึ่งส่วน ชั้นที่สองเป็นดิน 1 ส่วน ชั้นที่สามมูลวัว 1 ส่วน จากนั้นค่อยๆรดน้ำให้ไหลลงไปถึงชั้นล่าง ตรวจสอบดูว่าน้ำซึมไปทั่วทั้งกองดินหรือยัง เสร็จแล้วนำขุยมะพร้าวอีกครึ่งส่วนที่เหลือโรยปิดทับหน้า จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มอีกครั้ง

ใช้พลาสติกคลุมบ่มไว้ให้จุลินทรีย์ทำงาน จากนั้นประมาณ 7-10 วัน สังเกตดูว่าดินมีความร่วนซุย ขึ้นหรือยัง ถ้าดินร่วนซุยไม่แฉะความชื้นพอประมาณ (กำก้อนดินในมือแล้วแบมือออกดินไม่เป็นก้อน) คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 7-10 วัน รวมระยะเวลาบ่มดินทั้งหมดประมาณ 14-20 วัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพดิน...เพียงเท่านี้ เสร็จขั้นตอนการเตรียมดินพร้อมนำไปปลูกพืช

“จากผลการทดลองเราพบว่า วิธีการนี้ช่วยให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นจาก 1.1% เป็น 11% ปริมาณฟอสฟอรัส (P) ที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เพิ่มขึ้นจาก 4.2 ส่วนในล้านส่วน เป็น 269.7 และโพแทสเซียม (K) เพิ่มขึ้นจาก 380.55 ส่วนในล้านส่วน เป็น 1,544.38”

ผอ.สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 อธิบายถึงเหตุผลที่วิธีการนี้ทำให้ดินมีปริมาณธาตุอาหารเพิ่มขึ้นมาหลายเท่าตัว มากกว่าวิธีการเดิม นั่นเพราะการใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยพืชสดทั่วไป ปุ๋ยจะไม่ไปจับตัวเป็นเนื้อเดียวกับดิน มีการแยกตัวกันชัดเจน...แต่เทคนิคการบ่มดินนี้ทุกอย่างจะรวมตัวกัน

และข้อแตกต่างอีกประการ...การทำปุ๋ยหมักเป็นการทำให้วัสดุอินทรีย์ย่อยสลายเร็ว แต่การบ่มดินโดยใช้ขุยมะพร้าวซึ่งเป็นวัสดุที่คงทน ย่อยสลายยาก ทำให้วัสดุอินทรีย์คงทนอยู่ในดินได้นาน และเมื่อมีคุณสมบัติอุ้มน้ำได้ดี จึงช่วยให้โครงสร้างดินดีขึ้น โปร่ง ร่วนซุย อากาศถ่ายเทสะดวกและไม่กลับไปแข็งกระด้างอีก แต่ถ้าไม่มีขุยมะพร้าวก็สามารถใช้วัสดุอื่นๆแทนได้ ที่มีคุณลักษณะอุ้มน้ำได้ดีและย่อยสลายช้า

ข้อมูลจาก https://www.thairath.co.th/news/local/south/2163012

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?