ในดินมีอะไร?

 ดิน (soils) หมายถึง เทหวัตถุทางธรรมชาติ (natural body) ที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่าง ๆ ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุซึ่งปกคลุมผิวโลกอยู่เป็นชั้นบาง ๆ เป็นวัตถุที่ค้ำจุนการเจริญเติบโตและการทรงตัวของพืช มีการแบ่งชั้น (horizon) มนุษย์สามารถแบ่งแยกดินออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ ซึ่งประกอบด้วยแร่ธาตุที่เป็นของแข็ง อินทรียวัตถุ น้ำ และอากาศที่มีสัดส่วนแตกต่างกันออกไป การเกิดขึ้นของดินเป็นผลที่มาจากการกระทำร่วมกันของปัจจัยต่าง ๆ เช่น สภาพภูมิอากาศ พืช และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ต่อวัตถุต้นกำเนิดของดินในสภาพพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ดังนั้น “ดิน” ในพื้นที่หนึ่งจึงอาจเหมือนหรือต่างไปจากดินในอีกพื้นที่หนึ่งได้ ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ ที่มีความมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละบริเวณพื้นที่ส่งผลให้ดินมีลักษณะเด่นเฉพาะตัว และเมื่อปัจจัยเปลี่ยนไป ดินจะมีลักษณะหรือสมบัติต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน

ดิน

ดินประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ

1. อนินทรียวัตถุ หรือแร่ธาตุเป็นส่วนประกอบที่มีปริมาณมากที่สุดในดินทั่วไป ได้มาจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ ซึ่งอยู่ในดินเป็นลักษณะของชิ้นส่วนที่เรียกว่าอนุภาคดิน ซึ่งมีหลายรูปทรงและมีขนาดแตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 

1.1 กลุ่มอนุภาคขนาดทราย (เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00-0.05 มิลลิเมตร)

1.2 กลุ่มอนุภาคขนาดทรายแป้ง (เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-0.002 มิลลิเมตร)

1.3 กลุ่มอนุภาคขนาดดินเหนียว (เส้นผ่าศูนย์กลาง < 0.002 มิลลิเมตร)

นอกจากนี้ยังเป็นส่วนที่สำคัญในการควบคุมลักษณะของเนื้อดิน เป็นแหล่งกำเนิดของธาตุอาหารพืช และเป็นแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดิน นอกจากนี้อนุภาคที่อยู่ในกลุ่มขนาดดินเหนียวยังเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการเกิดกระบวนการทางเคมีต่าง ๆ ในดินด้วย

2. อินทรียวัตถุในดิน หมายถึง ส่วนของซากพืชซากสัตว์ที่กำลังสลายตัว เซลล์จุลินทรีย์ทั้งที่มีชีวิตอยู่และในส่วนที่ตายแล้ว ตลอดจนสารอินทรีย์ที่ได้จากการย่อยสลาย หรือส่วนที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ แต่ไม่รวมถึงรากพืช หรือเศษซากพืช หรือสัตว์ที่ยังไม่มีการย่อยสลาย ซึ่งอินทรียวัตถุในดินยังจัดเป็นแหล่งธาตุอาหารสำคัญของพืช และเป็นแหล่งอาหารให้พลังงานแก่จุลินทรีย์ในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน อีกทั้งยังเป็นส่วนที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อสมบัติต่าง ๆ ของดินทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น โครงสร้างดิน ความร่วนซุย การระบายน้ำ การถ่ายเทอากาศ การดูดซับน้ำและธาตุอาหารของดิน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และความสามารถในการให้ผลผลิตของดินอีกด้วย

ดินที่มีลักษณะค่อนข้างเข้มเนื่องจากมีปริมาณอินทรีย์วัตถุสูง

3. น้ำในดิน หมายถึง ส่วนของน้ำที่พบอยู่ในช่องว่างระหว่างอนุภาคดิน หรือเม็ดดิน มีความสำคัญมากต่อการปลูก และการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากเป็นตัวช่วยในการละลายธาตุอาหารต่าง ๆ ในดิน และเป็นส่วนสำคัญในการเคลื่อนย้ายอาหารพืชจากรากไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช ทั้งนี้เพราะขนาดช่องว่างในเม็ดดินแตกต่างกันน้ำที่ปรากฏอยู่ในดินจึงแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด คือ

3.1 น้ำประกอบทางเคมี (chemical combined water) เป็นความชื้นที่แทรกอยู่ในอนุภาคของเม็ดดิน และสามารถทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุที่อยู่ในดินได้

3.2 น้ำเหลื่อ (free water) คือน้ำที่ซึมอยู่ระหว่างเม็ดดิน แต่ไม่อยู่ในวิสัยที่เม็ดดินจะดูดซับเอาไว้ได้จึงมีอิสระที่จะไหลไปตามแรงดึงดูดของโลก น้ำชนิดนี้มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชไม่มากนัก

3.3 น้ำซับ (capillary water) เป็นน้ำที่ซึมซับอยู่ตามผิวอนุภาคของเม็ดดินบางครั้งจะซึมอยู่เต็มช่องว่างของเม็ดดิน จึงทำให้สภาพทั่วไปของเนื้อดินชุ่มชื้นแต่ไม่ถึงกับแฉะ เป็นน้ำที่พืชสามารถนำมาใช้ในการเจริญเติบโตได้

3.4 น้ำเยื่อ (hygroscopic water) เป็นความชื้นที่อนุภาคของแข็งในเม็ดดินดูดจับเอาไว้ โดยจะมีปริมาณไม่มากนัก บางที่เรียกน้ำชนิดนี้ว่า “น้ำจับดิน” น้ำชนิดนี้เชื่อว่าจะมีลักษณะครึ่งแข็งครึ่งไอ

4. อากาศในดิน หมายถึง ส่วนของก๊าซต่าง ๆ ที่แทรกอยู่ในช่องว่างระหว่างเม็ดดินในส่วนที่ไม่มีน้ำอยู่ก๊าซที่พบโดยทั่วไปในดิน คือ ก๊าซไนโตรเจน (N2) ออกซิเจน (O2) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งรากพืชและจุลินทรีย์ในดินนำไปใช้ในการหายใจ และสร้างพลังงานในการดำรงชีวิต

แหล่งที่มา

ปรียานุช สิงขรบรรจง. (2554, 4 มกราคม).  ลักษณะทางปฐพีวิทยา ส่วนประกอบของดิน.  สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2561, จาก https://iteem24.wordpress.com/2011/01/04/ส่วนประกอบของดิน-4/

ทิภาพร ปัญญภู. (2556, 6 กุมภาพันธ์).  องค์ประกอบของดิน และดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก.

สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2561, จาก https://yingyimyam.wordpress.com/แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม/องค์ประกอบของดิน-และดิน/

สำนักสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน. (2557, 27 เมษายน).  ดินและการเกิดดิน.  สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2561, จาก http://www.ldd.go.th/thaisoils_museum/survey_1/soils.htm

ข้อมูลจาก https://www.scimath.org/article-biology/item/9594-2018-12-13-07-53-05


 ####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (Biochemical Sequence) - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ