การเคลื่อนที่ของธาตุอาหารในดิน

การเข้าใจถึงหลักการ การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร ภายในดินนั้น จะช่วยให้เรามีความเข้าใจและช่วยในการใส่ปุ๋ยธาตุอาหารต่าง ๆ ได้อย่างดียิ่งขึ้น เพราะจะทำให้ได้รู้ว่า ธาตุอาหารแต่ละตัวจะมีการเคลื่อนที่แบบใด ควรใส่ปุ๋ยแบบใดจึงจะเหมาะสม

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชจะประกอบไปด้วย 16 ชนิด แบ่งเป็น

ธาตุอาหารหลัก – ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P) และโพแตสเซียม (K)

ธาตุอาหารรอง – แคลเซียม (Ca), แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S)

ธาตุอาหารเสริม – แมงกานีส (Mn), ทองแดง (Cu), คลอรีน (Cl), เหล็ก (Fe), โบรอน (B), สังกะสี (Zn) และโมลิบดินัม (Mo)

ส่วนอีก 3 ชนิด ได้แก่ คาร์บอน (C), ไฮโดรเจน (H) และออกซิเจน (O) ซึ่งพืชจะได้รับทางใบจากอากาศ

ซึ่งความสามารถในการเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร (nutrient mobility) แต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกได้ว่า ธาตุชนิดใดมีโอกาสที่จะถูกน้ำพัดพาหายหรือพืชจะดูดซึมได้น้อยหากให้ทางดินเพียงอย่างเดียว ได้แก่

ธาตุอาหารที่เคลื่อนที่ได้ดี (very mobile) ธาตุอาหารมีโอกาสที่ธาตุจะถูกน้ำพัดพาหายไปจากดินได้มาก แต่จะเคลื่อนที่เข้าหารากได้ดี เช่น ไนเตรต (NO3) กำมะถัน(S) โบรอน(B) คลอรีน(CI)

ธาตุอาหารที่เคลื่อนที่ได้จำกัด (limited mobile) เช่น โพแทสเซียม(K)

ธาตุอาหารที่ไม่เคลื่อนที่ (immobile) ธาตุอหารมีโอกาสน้อยที่ธาตุจะถูกน้ำพัดพาหายไปจากดิน แต่จะเคลื่อนที่เข้าหารากได้ยาก เช่น แอมโมเนียม (NH4) ฟอสฟอรัส(P) แคลเซียม(Ca) ทองแดง(Cu)

ลักษณะ การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร ในดิน จะมีด้วยกัน 3 แบบ คือ

Mass flow คือ การเคลื่อนที่ของธาตุอาหารในดินที่เคลื่อนที่ไปพร้อมกับน้ำ ปริมาณธาตุอาหารที่เคลื่อนที่ได้นั้นจะต้องขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของธาตุอาหารและอัตราการเคลื่อนที่ของน้ำ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ 1.ระบบรากของพืช 2.ความชื้นของดิน และ 3.อุณหภูมิของดิน

การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร

การแพร่ (Diffusion) คือ การเคลื่อนที่ของธาตุอาหารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นต่ำ โดยอัตราการแพร่ของธาตุอาหารในดินจะขึ้นอยู่กับ 1.ปริมาตรน้ำในดินทิศทางเคลื่อนที่ของน้ำ และ 3.ความต้านทางในการเปลี่ยนแปลงทางเคมี (Buffer capacity)

ธาตุอาหารพืชทุกชนิดจะสามารถที่เคลื่อนที่ได้ด้วยวิธีนี้ เป็นหลักการที่ดินจะปรับสมดุลให้ในดินมีธาตุอาหารปริมาณใกล้เคียงกัน การใส่ปุ๋ยเฉพาะจุดจะช่วยให้อัตราการแพร่เพิ่มขึ้น

สรุป

ดินที่ปนเปื้อนต่ำ การเคลื่อนที่แบบ Mass flow และ Diffusion จะสูง

ความชื้นในดินสูง การเคลื่อนที่แบบ Mass flow และ Diffusion จะสูง

อุณหภูมิสูง การเคลื่อนที่แบบ Mass flow และ Diffusion จะสูง

ปริมาณปุ๋ยสูง การเคลื่อนที่แบบ Mass flow และ Diffusion จะสูง

กระบวนการการยืดตัวของราก (Root interception) คือ การที่รากพืชเข้าหาบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของดิน และเกิดการแลกเปลี่ยนไอออนของธาตุอาหารระหว่างดินและพืช

ปริมาณธาตุอาหารที่พืชได้รับโดยกลไก คือ ปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ใน ปริมาตรดิน (soil volume) ที่เท่ากับปริมาณ ราก (ประมาณ 1-2%)

ปัจจัยที่ช่วยให้รากพืชเร่งการรับไอออนมากขึ้น คือ Root exudates (การขับสารต่าง ๆ เช่น กรดอะมิโน เกลือแร่ วิตามิน ฯลฯ) และ 2.กิจกรรมของจุลินทรีย์ในไรโซเสฟียร์ (rhizosphere)

การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร

การเคลื่อนที่ทั้ง 3 รูปแบบ เป็น การเคลื่อนที่ของธาตุอาหาร โดยธรรมชาติ แต่วิธีที่ช่วยในการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารไปยังพืชได้ดีที่สุด คือ Mass flow หรือ การเคลื่อนที่ไปพร้อมกับน้ำ เราจึงจำเป็นต้องมีการรดน้ำหลังใส่ปุ๋ยอยู่เสมอ รวมถึงมีการปรับปรุงคุณภาพดินให้เหมาะสมต่อการเคลื่อนที่ของธาตุอาหารอยู่เสมอ ทั้งเรื่องความชื้น อุณหภูมิ ค่า pH รวมถึงปริมาณจุลินทรีย์ในดิน

ข้อมูลจาก https://idesignorganic.com/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (Biochemical Sequence) - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ