การปลูกและการดูแลพืชผักในฤดูฝน

การปลูกพืชผักในฤดูฝนนั้น ในบางครั้งอาจดูเหมือนว่าสามารถทำได้ง่ายกว่าฤดูอื่นๆ เนื่องจากเป็นช่วงที่ฝนตก และไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำทางการเกษตร อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนักจนเกิดน้ำท่วมขังในพื้นที่เพาปลูกอาจส่งผลเสีบต่อการเพาะปลูกเช่นกัน โดยปัญหาการเพาะปลูกในฤดูฝนสามารถสรุปได้ดังนี้

การสูญเสียธาตุอาหารเนื่องจากหน้าดินถูกน้ำฝนชะล้างและพัดพาหน้าดินออกไป

ในฤดูฝนท้องฟ้ามีเมฆปกคลุมเป็นจำนวนมาก ทำให้ปริมาณแสงแดดมีไม่เพียงพอต่อการสังเคราะห์แสงในพืช เป็นเหตุให้ผักหยุดชะงักการเจริญเติบโต

ปัญหาวัชพืชขึ้นเป็นจำนวนมากเนื่องจากปริมาณน้ำฝนและความชื้นสูง ซึ่งวัชพืชจะไปแย่งอาหารในดินจากพืชผลที่เราพะปลูก เป็นเหตุให้ผักเจริญเติบโตช้าลง ให้ฤดูฝนจึงมีการใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นจำนวนมาก

ปัญหาโรครากเน่าอันเนื่องมาจากแปลงปลูกถูกน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ซึ่งโรคพืชหลายชนิดเกิดจากเชื้อราเป็นสาเหตุหลักซึ่งสามารถขึ้นได้ง่ายในดินมีความชื้นสูง ดังนั้น โรคพืชจึงมักจะชุกชมในฤดูนี้

การเกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลา 2 ถึง 3 วันขึ้นไป ทำให้รากพืชเกิดสภาวะการขาดก๊าซออกซิเจน และทำให้รากพืชตายได้ นอกจากก๊าซออกซิเจนแล้ว ยังเกิดปัญหาการขาดแคลนธาตุไนโตรเจนอีกด้วย

หยดน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างหนักทำให้ต้นอ่อนและผักใบบางเกิดความเสียหายได้

พืชที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกในฤดูฝน อาทิเช่น

ผักกลุ่มหัวหอม เช่น หอมหัวใหญ่ หอมแดง ร่วมถึงกระเทียม

ผักกลุ่มกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บร็อคเคอรี่ ผักกาดขาว

ผักกินผล เช่น พริกแดง พริกชี้ฟ้า พริกหวาน มะเขือเทศ ฝักทอง

ผักจำพวกใบบาง เช่น ผักชี ขึ้นช่าย

ผักกินหัว เช่น แครอท หัวไชเท้า

การเพาะปลูกและการดูแลพืชผักในฤดูฝนมีดังนี้

การคลุมแปลงปลูกด้วยฟาง หญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งเพื่อป้องกันไม่ให้วัชพืชขึ้นและลดการชะล้างหน้าดิน ป้องกันดินอัดแน่นจากแรงน้ำฝนที่ตกมากระแทกดิน และป้องกันไม่ให้รากผักได้รับความเสียหายจากน้ำฝนได้

การคลุมแปลงปลูกด้วยหลังคา สแลนหรือตาข่ายบาง เพื่อป้องกันไม่ให้พืชผักที่ปลูกได้รับแรงกระทบกระเทือนจากหยกน้ำฝนมากจนเกินไปนัก

การเลือกพืชที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตในฤดูฝน เช่น คะน้า กวางตุ้ง แตงกวา บวบ ผักกาดหอม ชะอม ผักบุ้ง ตำลึง หน่อไม้ ถั่วฝักยาว มะระ ต้นหอม และผักชี เนื่องจากผักชีมีใบที่บาง ควรคลุมแปลงปลูกด้วยหลังคาหรือสแลนเพื่อป้องกันแรงกระทบกระเทือนจากหยกน้ำฝน

การยกแปลงปลูกให้สูงขึ้นจะช่วยให้น้ำระบายได้ดี รวมทั้งลดปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณรากพืช

ในกรณีที่แปลงเกิดน้ำท่วมขัง พืชจะเกิดสภาวะขาดก๊าซออกซิเจนและธาตุอาหาร โดยเฉพาะไนโจรเจน เมื่อน้ำแห้งลง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ปริมาณไนโตรเจนสูง เช่น ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยจากแหนแดงหรือสาหร่ายสีเขียว ปุ๋ยน้ำหรือปุ๋ยหมักจะช่วยพืชฟื้นฟูได้เร็วขึ้น

เพื่อป้องกันเชื้อโรคและเชื้อราที่มักเกิดขึ้นในหน้าฝน การใช้สมุนไพรรสขม รสฝาด หรือรสเผ็ด เช่น ขมิ้นชันผง ฟ้าทะลายโจรผง พริก หรืออาจจะนำกระเทียมมาตำให้แหลก แล้วนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน แล้วนำไปฉีดที่แปลงผักหลังฝนตกใหม่ๆ โดยเวลานำไปใช้ให้ผสมน้ำอีกไม่เกิน 3 ส่วนเพื่อเจือจางสักเล็กน้อย วิธีนี้ก็จะช่วยป้องกันโรคต่างๆที่จะมากับฝนได้ ตัวอย่างสมุนไพรอื่นสำหรับการจัดการศัตรูพืช

ข้อมูลและเอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมการเกษตร, (2543). คู่มือสมุนไพรและเครื่องเทศ ชุดที่ 1 การปลูกพืชสมุนไพรและเครื่องเทศ. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการเกษตร.

คมสัน หุตะแพทย์. (2560). คู่มือพึ่งพาตนเอง (Self-Sufficient Book). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เกษตรกรรมธรรมชาติ.

นคร ลิมปคุปตถาวร, (2560).ปลูกผักแบบคนเมือง ความสุขง่ายๆ ที่ใครก็ทำได้. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์.

อานัฐ ตันโซ, (2556). ตำราเกษตรธรรมชาติประยุกต์ แนวคิด หลักการ เทคนิคปฏิบัติในประเทศไทย. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช).

Abewoy, D.. (2018). Review on impacts of climate change on vegetable production and its management practices. Advances in Crop Science and Technology, 6(1) , 1-7.

Liu, G., Li, Y., and Fu, X.. (2015). Practices to Minimize Flooding Damage to Commercial Vegetable Production. Soil and Water Science Department, UF/IFAS Extension.

ข้อมูลจาก https://thaicityfarm.com/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?