ใส่ปุ๋ยมากๆ นานๆ ที กับน้อยๆ บ่อยๆ อย่างไหนได้ผลดีกว่ากัน
เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็อยากได้กันทั้งนั้น หลังจากลงทุนปลูกต้นไม้ ก็อยากได้ผลผลิตที่ดีๆ มีคุณภาพ
ประเด็นที่หลายคนสงสัยคือ เทคนิคการใส่ปุ๋ยให้ได้ผลดี
เราควรจะใส่ปุ๋ยนานๆ ครั้ง (สัก 1 – 2 ครั้งต่อปี) แต่ใส่คราวละมากๆ
หรือจะควรใส่ปุ๋ยบ่อยๆ (เดือนละ 1 ครั้ง) แต่ใส่คราวละน้อยๆ
อย่างไหนได้ผลดีกว่ากัน??
การจะตอบคำตอบนี้ได้ เราต้องทำความเข้าใจการกินปุ๋ยของต้นไม้ซะก่อน
เรามาดูบทวิจัยการทดสอบการกินปุ๋ยของต้นไม้
วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร ม.แม่โจ้ พ.ศ. 2560 ทดลองสุ่มกับข้าวแบบเปรียบเทียบข้าว ได้ผลดังนี้
1. แปลงข้าว ปลูกไม่ใส่ปุ๋ยเลย ได้ความสูง 78 cm
ขายข้าวได้ 6,600 บาท
2. แปลงข้าว ปลูกใส่ปุ๋ยเคมี 15-5-5 ได้ความสูง 75 cm
ขายข้าวได้ 8,000 บาท
3. แปลงข้าว ปลูกใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินเมืองไทย ใส่ปุ๋ย 4-4-0 ได้ความสูง 81 cm
ขายข้าวได้ 8,100 บาท
4. แปลงข้าว ใส่ปุ๋ย 2 เท่า (8-8-0) ได้ความสูง 77 cm (เสียค่าปุ๋ย 2 เท่า)
ขายข้าวได้ 7800 บาท
5. แปลงข้าว ใส่ปุ๋ย 3 เท่า (12-12-0) ได้ความสูง 82 cm (เสียค่าปุ๋ย 3 เท่า)
ขายได้ 8,100 บาท
(ที่ไม่ต้องใส่โพแทสเซียม เพราะในดินเมืองไทย มีมากพอ)
และผลการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร
วิเคราะห์ต้นลำไยอายุ 3 ปี จากใบและลูก พบว่าใน 1 ปี ต้นลำไยใช้ไนโตรเจน (N) 4.45 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส (P) 4.275 กิโลกรัม และโพแทสเซียม (K) 1.025 กิโลกรัม
จากการทดลองสรุปได้ว่า
จริงๆ แล้วต้นไม้มีศักยภาพในการกินปุ๋ยธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม มื้อละ 4 – 4 – 1 เท่านั้น
จากผลการวิจัย ทำให้ผมเข้าใจต้นไม้เลยว่า เขาสามารถกินอาหารได้เพียงมื้อละ 441 แม้เราจะใส่มากมายแค่ไหนก็กินได้แค่นั้น เปรียบเสมือนตัวเราเอง เดินมาหิวๆ ไปกินร้านอาหารข้าวแกงบุฟเฟ่ ของกินเพียบ ยังไมผมก็เชื่อว่า คนทั่วไป แม้จะหิวแค่ไหนก็กินข้าวได้เพียง 1 – 2 จานเท่านั้นก็อิ่มแล้ว กินไม่ไหวแล้ว ถึงแม้จะมีอาหารกองอยู่ตรงหน้าเป็นภูเขาเหลากาก็ตามและถึงแม้เราจะกินข้าวจนจุกแทบจะหายใจไม่ออก พอพ้นสัก 3 – 5 ชั่วโมง ก็ดันหิวใหม่ซะแล้วต้นไม้ก็เหมือนคน เขาเป็นสิ่งมีชีวิต แค่เขากระดิกตัวเคลื่อนไหวไม่ได้เท่านั้นเองเมื่อข้อสรุปผลธรรมชาติการกินปุ๋ยของต้นไม้ที่ค่อยๆ กิน อย่างมีขีดจำกัดความอิ่มในแต่ละมื้อแล้วจึงขอสรุปเลยว่า การใส่ปุ๋ยที่จะได้ผลดีที่สุดคือ ใส่ให้พอดี และบ่อยๆ
เพื่อให้ต้นไม้มีอาหารกินอิ่มแต่ละมื้อ และกินอิ่มหลายๆ มื้อ ไม่ใช่อดมื้อกินมื้อ
คำถามต่อมา แล้วปุ๋ยที่เราใส่ มันอยู่ได้นานแค่ไหน
ถ้าอยู่ได้นาน ต้นไม้กินไม่หมดในมื้อนี้ก็สามารถเก็บไว้กินในมื้อต่อไปได้นี่หน่า
จากที่ผมเคยทดลองมาในหลายๆ ครั้งในปุ๋ยเคมี ส่วนมากจะมีฤทธิ์ปุ๋ยอยู่ได้ประมาณ 7 วันหลังจากใส่เท่านั้นเอง ยิ่งเป็นไนโตรเจน มักหายไปก่อนเลยเพราะมันระเหิด ระเหยได้ฉะนั้นพอพ้น 7 วันปุ๊บ ปุ๋ยหมด ต้นไม้อดอีกแล้วดังนั้นเราต้องใส่ปุ๋ยสัปดาห์ละ 1 ครั้งเลยทีเดียว
ทางแก้สำหรับผู้ที่ไม่อยากใส่ปุ๋ยบ่อยๆ
แต่มีธาตุอาหารให้ต้นไม้ได้กินอย่างต่อเนื่องไม่ขาด
ปรับดินให้ดี ดินเมืองไทยหนะเป็นดินที่อุดมสมบูรณ์มาก ผมว่าติดเป็นอันดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว ธาตุอาหารในดินบ้านเรามาก มากชนิดที่เพียงพอให้ต้นไม้เติบโต เหมือนต้นไม้ในป่าใหญ่เลยหละ แต่การที่เราจะดึงธาตุอาหารพวกนั้นมาใช้ได้ เราจะเป็นต้องมีผู้ช่วย คือ จุลินทรีย์ และสิ่งมีชีวิตในดิน เช่น ไส้เดือน คอยย่อยดินแล้วเปลี่ยนเป็นธาตุอาหาร ช่วยดึงธาตุอาหารต่างๆ จากดิน อากาศ น้ำ ให้เป็นธาตุอาหารต้นไม้ แต่เป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่สิ่งมีชีวิตพวกนี้กลับถูกทำลายด้วยยาเคมี การเผาไร่ จนสูญพันธุ์ หนีหายออกจากที่ดิยของเราไป ในดินจึงไม่มีสิ่งที่ช่วยสกัดธาตุอาหารในดิน ยิ่งปลูก ผลผลิตจึงค่อยๆ น้อยลง เพราะต้นไม้ต้องพึ่งปุ๋ยที่ใส่อย่างเดียว พอไม่ใส่ หรือใส่แต่ปุ๋ยหมดฤทธิ์ ต้นไม้ก็ขาดสารอาหาร ไม่โตเลย แถมยังทำให้ดินนั้นแข็ง ตาย กักเก็บความชื้นได้ไม่มากเท่าที่ควรด้วย ฉะนั้นปรับปรุงโครงสร้างดินก่อน เรียกจุลินทรีย์กลับมา แล้วเราจะได้ธาตุอาหารจากธรรมชาติโดยไม่ต้องซื้อเลย
หาปุ๋ยที่มีอินทรีย์วัตถุด้วย อินทรีย์วัตถุมันเป็นอาหารชั้นดีของจุลินทรีย์ การปลูกต้นไม้ให้ได้ผล ต้องบำรุงดิน และเลี้ยงจุลินทรีย์ในดินด้วย เพื่อให้สิ่งมีชีวิตพวกนี้ ช่วยดูแลต้นไม้กับเรา และช่วยเพิ่มศักยภาพการกินปุ๋ยของต้นไม้ ปรับค่า pH ในดินให้สมดุลด้วย
หาปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพในการปลดปล่อยปุ๋ยได้นานๆ ออกฤทธิอยู่ได้นานๆ ต้นไม้จะได้มีปุ๋ยกินต่อเนื่องได้หลายๆ มื้อ การใส่ปุ๋ยไม่ต้องมาก และไม่ต้องใช้เลขธาตุอาหารหลักสูงๆ ก็ได้ เพราะจะใส่สูงแค่ไหนต้นไม้ก็กินได้เพียงมื้อละ 441 เท่านั้น
ปุ๋ยเลขสูงๆ ต้นไม้ก็ดีแต่ 7 วัน หลังจากนั้นอาหารหมด ก็ขาดสารอาหารเหมือนเดิม ไม่ยั่งยืน ฉะนั้นหาปุ๋ยที่ออกฤทธิ์ให้พอดีต่อมื้อ แต่อยู่ได้นานๆ ดีกว่า เราจะได้ไม่ต้องเดินใส่ปุ๋ยบ่อยๆ หว่านทีเดียวอยู่ได้นานๆ ไปเลย
หาปุ๋ยที่มีธาตุอาหารรองและเสริมด้วย เพราะต้นไม่ใช่ว่ามันจะต้องการธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมเท่านั้น ต้นไม้ยังต้องการธาตุอาหารอีก 3 ธาตุอาหารรอง และ 7 ธาตุอาหารเสริม มันถึงจะครบสูตร แม้ธาตุอาหารรอง เสริม ต้นไม้จะต้องการน้อย แต่มันก็ต้องการ ธาตุอาหารเหล่านี้จะเป็นตัวเพิ่มศักยภาพในการกินปุ๋ยต่อมื้อของต้นไม้ได้มากขึ้น เมื่อต้นไม้กินปุ๋ยได้มากขึ้น มันก็จะแข็งแรงมากขึ้น โตดี โตไว้ ออกดอกผลสมบูรณ์ และมีภูมิต้านทานดี โรคภัย ศัตรูพืชไม่เบียดเบียน
สรุป ใส่ปุ๋ยมากๆ นานๆ ที กับน้อยๆ บ่อยๆ อย่างไหนได้ผลดีกว่ากัน นั้น ขึ้นอยู่กับว่า คุณใส่ปุ๋ยอะไร ปุ๋ยมีคุณสมบัติแบบไหน อยู่ได้นานหรือเปล่า
แต่ที่สรุปได้เลย ก็คือ ต้นไม้จะกินมื้อละประมาณ 441 เท่านั้น และเมื่อมันย่อยเสร็จ มันก็จะหิวอีก เหมือนกับเรา ฉะนั้นก็อย่าลืมเลือกปุ๋ยและใส่ปุ๋ยให้สอดคล้องกับธรรมชาติของต้นไม้ด้วยนะคะ แล้วผลผลิตดีๆ จะตามมาเอง
ข้อมูลจาก http://www.burinonline.org
####
iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025
1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที
2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ
3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน)
สอบถามเพิ่มเติม
โทร 090 592 8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น