ทำไมเกษตรกรต้องใส่ปุ๋ย?

ทำไมเกษตรกรต้องใส่ปุ๋ย?

ทำไมเกษตรกรต้องใส่ปุ๋ย?

เมื่อเกษตรกรปลูกพืช แล้วเก็บเกี่ยวผลผลิตไปขายติดต่อกันหลายๆ ปี ถ้าไม่มีการปรับปรุงบำรุงดิน ดินจะเสื่อมโทรม เพราะธาตุอาหารพืชในดินหมดไป และอินทรียวัตถุในดินลดลง ดินที่เคยโปร่งร่วนซุยจะเปลี่ยนเป็นดินที่แน่นทึบ และไม่สามารถให้ผลผลิตสูงได้อีกต่อไป

ดังนั้น จึงต้องใส่อินทรียวัตถุ เพื่อปรับปรุงความโปร่งร่วนซุยของดิน และเพิ่มเติมธาตุอาหารพืชลงไปในดิน เพื่อชดเชยส่วนที่สูญเสียไปกับผลผลิต

ควรใส่ปุ๋ยชนิดใด? ปริมาณเท่าไร?

คำแนะนำการใช้ปุ๋ยสำหรับพืชเศรษฐกิจของประเทศยังคงเป็นคำแนะนำการใช้ปุ๋ยอย่างกว้างๆ ไม่ได้คำนึงถึงความแตกต่างของชนิดดิน ปริมาณธาตุอาหารพืชในดินขณะนั้น การสูญเสียหรือการได้มาของธาตุอาหารระหว่างการปลูกพืช การใช้ปุ๋ยจึงไม่ตรงตามความต้องการของพืช ถ้าใส่ปุ๋ยมากเกินไป โรคและแมลงจะระบาดมากขึ้น แต่ถ้าใช้ปุ๋ยน้อยเกินไป พืชก็จะให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร

เกษตรกรหลายรายเชื่อว่า “ถ้าใส่ปุ๋ยมาก จะได้ผลผลิตมาก” ไม่เป็นความจริงเสมอไป ตัวอย่างเช่น ถ้าอยากได้ผลผลิตข้าวสูงๆ โดยเร่งใส่ปุ๋ยไนโตรเจน ข้าวจะอวบ เต่งตึง เขียวจัด แมลงชอบเข้าทำลาย หากแต่การใช้ปุ๋ยได้อย่างถูกต้อง ทั้งถูกชนิด ถูกปริมาณ ถูกเวลา และถูกวิธี จะช่วยให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและต้นทุนการผลิตลดลง เปรียบเสมือนคนกินอาหารถูกสัดส่วน สุขภาพจะสมบูรณ์แข็งแรง ไม่ล้มป่วยง่าย

เครดิต ​http://www.ssnm.info/know/550827_know

ข้อมูลจาก http://www.konglakuentin.com/glaroo/180111023518

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?