มลพิษในดิน เกิดขึ้นได้อย่างไร

มลพิษในดิน (Soil Pollution) คือการเสื่อมถอยของคุณภาพดิน หรือภาวะการปนเปื้อนด้วยสารพิษ (Soil Pollutant) ในดินมากเกินไป ส่งผลให้คุณสมบัติของดินเกิดการเปลี่ยนแปลง จนเป็นอันตรายต่อความเป็นอยู่และการเจริญเติบโตของทั้งคน สัตว์ และพืช อีกทั้งยังทำให้ดินไม่เหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ด้วย

ดิน (Soil) คือสสารที่เกิดจากการรวมตัวกันของแร่ธาตุต่างๆ (ร้อยละ 45) สารอินทรีย์ (ร้อยละ 5) น้ำ (ร้อยละ 25) และอากาศ (ร้อยละ 25) จากการสลายตัวของแผ่นเปลือกโลกและการย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์ในธรรมชาติ โดยดินในแต่ละพื้นที่หรือภูมิภาคของโลกมักมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในอาณาบริเวณดังกล่าว

มลพิษในดิน, ทรัพยากรดิน, ดิน

แหล่งกำเนิดของ “ดินเสีย” หรือการเกิดมลพิษในดิน

ดินเสียในธรรมชาติ เป็นผลมาจากการมีองค์ประกอบซึ่งเป็นอันตรายต่อการดำรงอาศัยอยู่ของสิ่งมีชีวิตในดิน หรือการมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อย่างเช่น การมีส่วนผสมของเกลือหรือแร่ธาตุบางชนิดมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะ “ดินเค็ม” (Saline Soil) จนเป็นอันตรายต่อพืช หรือดินที่มีการเจือปนของสารกัมมันตรังสีและโลหะหนัก (Heavy Metal) จากหินแหล่งต้นกำเนิดของดินที่ทำให้ดินเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ดินเสียจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น

การทิ้งขยะและของเสียในย่านชุมชน ไม่ว่าจะเป็นขยะมูลฝอย ชิ้นส่วนพลาสติก ขยะอิเล็กทรอนิกส์ และสิ่งปฏิกูลต่างๆ ล้วนส่งผลให้ดินสูญเสียคุณสมบัติดั้งเดิม กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและทำลายความสวยงามของสภาพแวดล้อม

การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน สารเคมีเหล่านี้สามารถทำให้ดินมีสภาวะความเป็นกรดสูง มีสารพิษตกค้าง เช่น สารหนู (Arsenic) ทองแดง (Copper) และปรอท (Mercury) ซึ่งทำให้ดินกลายเป็นแหล่งสะสมสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ รวมไปถึงการเพาะปลูกที่ไม่ถูกวิธี เช่น การปล่อยให้หน้าดินพังทลายหรือถูกแสงแดดเป็นเวลานาน ล้วนส่งผลให้ดินเสื่อมโทรมและสูญเสียแร่ธาตุและสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช

การปล่อยน้ำเสียและการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีจากโรงงานและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ส่งผลให้สารเคมี เช่น สารพีซีบี (PCB) ที่ใช้ในการผลิตสีและพลาสติก และสารเอชซีบี (HCB) ที่ใช้ในการผลิตยางสังเคราะห์ รั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ จนเกิดสารเคมีปนเปื้อนและตกค้างอยู่ในตะกอนดิน รวมไปถึงมลพิษจากการทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทุกชนิด ซึ่งทำให้ดินกลายเป็นแหล่งสะสมสารพิษแหล่งสุดท้ายในธรรมชาติ

มลพิษในดิน, ทรัพยากรดิน, ดิน

ผลกระทบจากมลพิษในดิน

ดินที่ปนเปื้อนสารเคมีหรือสารพิษต่างๆนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต

ผลกระทบต่อมนุษย์

สารเคมีปนเปื้อนที่ตกค้างในดินส่วนใหญ่มักเป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้ายต่างๆ อย่างเช่น การสัมผัสดินที่มีเบนซิน (Benzene) และพอลิคลอริเนตไบฟีนีล (Polychlorinated Biphenyl: PCB) ตกค้างเป็นประจำ อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งตับได้ นอกจากการสัมผัสสารพิษเหล่านี้โดยตรงแล้ว การนำพืชผลทางการเกษตรที่ปนเปื้อนโลหะหนักหรือสารเคมีต่างๆมาบริโภค ยังอาจทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ จากการสะสมทางชีวภาพ (Bioaccumulation) ในห่วงโซ่อาหาร เช่น ดินที่มีการปนเปื้อนของสารตะกั่วและปรอทเพียงเล็กน้อย สามารถสร้างผลเสียต่อการพัฒนาระบบประสาทและสมองของมนุษย์ รวมไปถึงเป็นอันตรายต่อตับและไตอีกด้วย

ผลกระทบต่อสัตว์

สารเคมีปนเปื้อนที่ตกค้างในดินยังส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีลำตัวเป็นข้อปล้อง (Arthropod) และจุลินทรีย์ที่อยู่ในดิน และจากสิ่งมีชีวิตเล็กๆเหล่านี้อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อการเริ่มต้นของห่วงโซ่อาหารในธรรมชาติ ทำให้วงจรการบริโภคของสิ่งมีชีวิตต่างๆถูกทำลาย พืชหรือผู้ผลิตไม่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้บริโภคในแต่ละลำดับขั้นของห่วงโซ่อาหารขาดแหล่งอาหารที่สำคัญ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการตายหรือการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศ

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

มลพิษในดินยังอาจก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและมลพิษในน้ำได้อีกด้วย จากการระเหยของสารเคมีตกค้างในดิน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ ขณะที่สารเคมีจำพวกไนโตรเจน (Nitrogen) และฟอสฟอรัส (Phosphorus) ที่ตกค้างในดิน เมื่อถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำลำคลองหรือแหล่งน้ำบาดาล อาจทำให้น้ำเกิดการเน่าเสีย สร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศในน้ำ และกลายเป็นภัยอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่พึ่งพาแหล่งน้ำดังกล่าวในการบริโภค

ปัจจุบัน มลพิษในดินจัดเป็นปัญหาสำคัญอย่างยิ่งต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ เนื่องจากเรายังต้องพึ่งพาอาศัยดินและธรรมชาติในการเพาะปลูกและสร้างผลผลิตทางการเกษตร เพื่อรองรับการเติบโตของประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี แหล่งอาหารสำคัญที่หล่อเลี้ยงโลกของเราล้วนมาจาก “ดิน” ดินที่ปลอดภัยและอุดมสมบูรณ์

ข้อมูลอ้างอิง

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย – https://www.tistr.or.th/tistrblog/?p=3093

กรมพัฒนาที่ดิน – http://www.ldd.go.th/WEB_WorldSoilDay/Data/ReduceSoilPollution.pdf

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ – http://bio.flas.kps.ku.ac.th/courses/201/Soil%20pollution.pdf

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) – http://reo13.mnre.go.th/th/news/detail/49295

National Geographic Society – https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/pollution/

ข้อมูลจาก https://ngthai.com/science/27458/soil-pollution/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (Biochemical Sequence) - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ