ดินเสื่อมสภาพ

สาเหตุหลักที่ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพแบ่งเป็น ที่เป็นไปโดยธรรมชาติ และที่เป็นไปโดยการกระทำของมนุษย์ เราสามารถทำให้ดินกลับมามีคุณภาพดีได้โดยการบำรุงรักษาดิน

การที่ดินสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุและอาหาร มีสาเหตุหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

1. เป็นไปโดยธรรมชาติ เช่น กระแสน้ำกัดเซาะ กระแสลมพัดพาทำให้ผิวหน้าดินหลุดลอยไป

2. การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้พืชคลุมดินหมดไป เมื่อฝนตกลงมาน้ำฝนจะไหลไปบนผิวดิน เกิดการกัดเซาะผิวหน้าดินอย่างรวดเร็ว

3. การทำการเกษตรกรรมไม่ถูกวิธี เช่น ไถพรวนขณะที่ดินไม่แห้ง

4. การปลูกพืชชนิดเดียวในที่ดินเดิมเป็นเวลานาน​

5. การทำไร่เลื่อนลอย​

6. การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดแมลงติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน​

7. การเผาป่าและการขุดหน้าดินไปขาย

8. การทิ้งขยะและของเสียต่าง ๆ หรือสารที่ไม่ย่อยสลาย เช่น เศษพลาสติก เศษโลหะ น้ำเสีย โดยทิ้งลงดินทำให้ดินเสียและมีเชื้อโรค ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก

เราสามารถปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การปลูกพืชได้ดังนี้

- การปลูกพืชคลุมดิน เพื่อรักษาหน้าดินไม่ให้เกิดการพังทลาย และยังช่วยเก็บน้ำไว้ให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ

- การปลูกพืชแบบขั้นบันไดบนเนินเขา เป็นการป้องกันการพังทลายของดิน​

- การปลูกหญ้าแฝกเป็นแถวหน้ากระดาน เพื่อป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน

- การปลูกพืชตระกูลถั่วสลับกับพืชชนิดอื่น เพื่อช่วยเพิ่มไนโตรเจนให้แก่กิน และการใช้ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยคอกบำรุงรักษาดิน ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น รวมทั้งการไถพรวนให้ถูกวิธีด้วยการจัดทำทางระบายน้ำ เพื่อให้น้ำไหลไปตามทาง นอกจากนี้ ยังรวมถึงการใช้ปูนขาวใส่ในดินที่เป็นกรด การไม่เผาป่า ไม่ทำไร่เลื่อนลอยด้วย

ข้อมูลจาก https://www.trueplookpanya.com/learning/detail/33755


####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 

 




 


 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?