ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรม

 ในเอกสารพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ได้มีใจความความเกี่ยวกับเรื่องดินตอนหนึ่งว่า ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรมต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้

มีแร่ธาตุที่เรียกว่า ปุ๋ย และแร่ธาตุอื่นๆ

มีระดับ เปรี้ยว ด่าง ใกล้เป็นกลาง (pH 7)

มีความ เค็ม ต่ำ

มีจุลินทรีย์

มีความชื้นพอเหมาะ (ไม่แห้ง ไม่แฉะ)

มีความโปร่งพอเหมาะ (ไม่แข็ง)

จากข้อความข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษา

ลักษณะต่างๆ ที่เกี่ยวกับดินไว้อย่างลึกซึ้ง ลักษณะของดินที่ไม่ตรงตามข้อความข้างต้น ถือว่าเป็นดินที่ไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก            ทำให้ประชาชนที่เลี้ยงชีพด้วยการเกษตรได้รับความเดือดร้อน ไม่สามารถทำการเพาะปลูกบนพื้นดินเหล่านี้ได้ ซึ่งดินประเภทนี้ก็คือดินที่แปรสภาพไปจากเดิม เช่นอาจมีสภาพเป็นกรดจัด เค็มจัด อัดตัวแน่น ขาดความโปร่งพรุน มีแร่ธาตุไม่สมดุล และลักษณะของดินที่สร้างปัญหาให้แก่เกษตรกรอย่างมากก็คือ ดินเปรี้ยว ดินพรุ ดินเค็ม และดินจืด

ดินเปรี้ยว หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า acid soil หมายถึงดินที่มีสภาพความเป็นกรดสูง ค่าความเป็นกรดด่าง หรือค่า pH จะไล่ตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 14 ค่าที่เป็นกลางคือ 7 ถ้าค่า pH ต่ำกว่า 7 ถือว่าดินมีสภาพเป็นกรด และถ้าค่า pH ต่ำกว่า 4 แปลว่าดินมีสภาพเป็นกรดจัด หรือเปรี้ยวจัด ซึ่งหนังสือคำบัญญัติศัพท์ภูมิศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายดินเปรี้ยวจัด ดินกรดจัด หรือดินกรดกำมะถันไว้ว่า acid sulfate soil ที่เรียกว่าดินเปรี้ยวนั้นเพราะว่าดินมีกรด sulfuric ปะปนอยู่ ซึ่งกรดที่ว่านี้มีรสเปรี้ยว แล้วสาเหตุที่ดินเปรี้ยวแปลเป็นภาษาอังกฤษว่า acid soil ก็เพราะ acid นั้นแปลว่ากรด และ soil แปลว่าดิน ซึ่งเป็นดินชั้นบนสุดของพื้นผิวโลกที่พืชสามารถเจริญเติบโตได้นั่นเอง

โครงการศึกษาทดลองการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวอันเนื่องมาจากพระราชดำริแนวทฤษฎีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จังหวัดนครนายก จึงเกิดขึ้น โดยใช้แนวทฤษฎี แกล้งดิน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เริ่มจากการ แกล้งให้ดินเปรี้ยว ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน เป็นการ แกล้งดินให้เปรี้ยวจนถึงสุดขีด จากนั้นจึงใช้วิธีการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวตามแนวพระราชดำริต่อไป ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวเริ่มต้นครั้งแรกที่ศูนย์พิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส 

ดินพรุ   คือดินในพื้นที่พรุที่แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินในพื้นที่พรุซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นของภาคใต้แปลว่าพื้นที่ที่มีน้ำขัง มีลักษณะเป็นอินทรียวัตถุ หรือซากพืชซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยทับถมอยู่ข้างบน และมีสารประกอบกำมะถันที่เรียกว่าสารประกอบไพไรท์อยู่มาก เมื่อต้องการใช้ประโยชน์จากพื้นที่พรุ จึงจำเป็นต้องสูบน้ำออกจากพื้นที่จนหมด และเมื่อดินแห้ง สารประกอบไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินมีความเป็นกรดจัด หรือเปรี้ยวจัด ดังนั้น คำว่าดินพรุจึงใช้คำภาษาอังกฤษเช่นเดียวกับดินเปรี้ยวนั่นเอง

ดินเค็ม  หรือ saline soil คำว่า saline แปลว่ามีส่วนผสมของเกลือ หรือมีเกลือปะปนอยู่ ซึ่งดินเค็มก็คือดินที่มีปริมาณเกลือละลายอยู่ในดินมากเกินไป ทำให้ดินขาดน้ำ ซึ่งเป็นอันตรายต่อพืช ทั้งยังทำให้ธาตุอาหารของพืชไม่มีความสมดุล

โครงการศึกษาทดลองแก้ไขปัญหาดินเค็มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครราชสีมา ได้แก้ไขปัญหาดินเค็มโดยเน้นการเพาะปลูกพืชที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของดิน ปรับปรุงดิน และปลูกพืชผักต่างๆ ควบคู่ไปด้วย

ส่วนคำว่า ดินจืด นั้น ไม่มีการแปลเป็นภาษาอังกฤษอย่างเป็นทางการเนื่องจากเป็นภาษาพูดที่ใช้เรียกดินที่มีแร่ธาตุสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ทำให้การเพาะปลูกไม่เจริญงอกงาม ต้องใส่ปุ๋ยหรือสารอาหารบำรุงดิน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริแก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าไปศึกษาทดลองเพื่อหาวิธีการแก้ไขปัญหาในรูปแบบต่างๆ บนที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา เพราะดินเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อการเพาะปลูก และประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นแหล่งอาหารที่ใช้เลี้ยงพืช สัตว์ และประชาชนชาวไทยทุกคน

ข้อมูลจาก https://www.chaipat.or.th/publication/publish-document/tips/36-2015-04-03-10-16-17.html

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 



 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?