ดินแย่… แก้ไขได้ ด้วยวิธีการ แบบนี้!!
“ทุกปัญหามีทางแก้ไข” วันนี้น้องปุ๋ยขยันจะบอกต่อวิธีแก้ปัญหาดิน 3 ชนิด ได้แก่ ดินเปรี้ยว ดินเค็ม และดินทรายจัด ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมากต่อการเพาะปลูกพืช จนหลายพื้นที่ไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้ แน่นอนว่าการแก้ไขจะไม่สามารถทำให้หมดไปได้ในครั้งเดียว แต่ก็ถือว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการปัญหาเหล่านี้ ดังนั้นเราต้อง!! เรียนรู้ อย่าใจร้อน รับรอง...วันข้างหน้าเราจะสามารถเพาะปลูกพืชได้แน่นอนครับ
ดินแย่แก้ไขได้... ด้วยวิธีนี้
1. ดินเปรี้ยว
ลักษณะดินเปรี้ยว
เป็นดินเหนียวจัด เมื่อขุดดินหรือยกร่องลึกจะพบสารสีเหลืองฟางข้าวกระจายอยู่ทั่วไป หรือพบชั้นดินเลนเหนียวหรือร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
ดินเปรี้ยวที่ส่งผลต่อการละลายธาตุอาหารในดิน คือดินที่มีความเป็นกรดสูง (ค่า pH ต่ำกว่า 4.5) ทำให้พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหาร โดยเฉพาะธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง
ดินเปรี้ยวที่มีค่าความเป็นกรดจัดจะทำให้ธาตุอลูมิเนียม แมงกานีส และเหล็ก ละลายออกมามากเกินไปและเป็นพิษกับพืชที่ปลูก
การแก้ปัญหาดินเปรี้ยว
รักษาระดับน้ำในดินไว้ ไม่ให้หน้าดินแห้ง เพราะหากหน้าดินแห้ง ออกซิเจนจะแทรกลงไปทำปฏิกิริยากับแร่ไพไรต์ ก่อให้เกิดสารจาโรไซท์และกรดกำมะถัน เป็นเหตุให้สภาพความเป็นกรดของดินสูงขึ้น
ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดในดิน หรือขังน้ำไว้นาน ๆ แล้วระบายออก
ใส่วัสดุปูนปรับปรุงดินตามอัตราที่กำหนด เช่น ปูนมาร์ล ปูนขาว ปูนโดโลไมท์ โดยผสมคลุกเคล้ากับหน้าดิน เพื่อเพิ่มค่า pH เป็นการลดความเป็นกรดในดิน
ใช้ปูนควบคู่กับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน
2. ดินเค็ม
ลักษณะดินเค็ม
พบได้ในพื้นที่ใกล้ชายฝั่งทะเลหรือเคยมีน้ำทะเลท่วมถึงมาก่อน
พบคราบเกลือสีขาวปรากฏอยู่บนผิวดินหรืออาจพบเนื้อดินฟุ้งกระจาย เม็ดดินแตกสลายเมื่อเปียกน้ำจะพองตัว เนื่องจากดินมีเกลือโซเดียมคาร์บอเนตสูง
พืชที่ปลูกจะแสดงอาการขอบใบไหม้ แคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต
ดินและน้ำบริเวณพื้นที่ดินเค็มจะมีรสกร่อย หรือน้ำมีสีน้ำตาล
การแก้ปัญหาดินเค็มชายทะเล
ยกร่องสูงก่อนการปลูกพืช จัดทำร่องน้ำความลึกประมาณ 1.5 เมตร ชะล้างเกลือโดยระบบชลประทาน และทำคันดินกั้นน้ำทะเล เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำทะเลเข้าถึงพื้นที่
ใช้น้ำจืดชะล้างเกลือแล้วระบายออก ในกรณีที่ดินมีเกลือโซเดียมสูง ควรใช้ยิปซัมในการล้างดินด้วย
ลดระดับน้ำใต้ดิน โดยวิธีระบายออกหรือสูบออก
การแก้ปัญหาดินเค็มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชะล้างหน้าดินโดยขังน้ำในพื้นที่ 7 วัน แล้วระบายน้ำออก (ทำซ้ำอีก 2-3 ครั้ง) ก่อนทำการปลูกพืช
ใช้วัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบ ปูนขาว ยิปซัม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปลูกพืชเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด
3. ดินทรายจัด
ลักษณะดินทรายจัด
ดินที่มีเนื้อดินเป็นทรายจัด ระบายน้ำได้ดีเกินไป อุ้มน้ำได้น้อย
มีความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนธาตุอาหารต่ำ ดินจึงขาดความอุดมสมบูรณ์
เกิดการชะล้างพังทลายได้ง่าย
การแก้ปัญหาดินทรายจัด
ใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสมตามชนิดของพืช โดยแบ่งใส่ทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง เพื่อลดการสูญเสียปุ๋ย
เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หรือปลูกพืชเพื่อไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด เพื่อเพิ่มความสามารถในการอุ้มน้ำ
ใช้วัสดุคลุมดินเพื่อรักษาความชื้น
ใช้ระบบน้ำแบบหยดหรือระบบพ่นฝอย
ขอบคุณข้อมูลจาก : สภาเกษตรกรแห่งชาติ, กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน และเทคโนโลยีชาวบ้าน
ข้อมูลจาก https://puimongkut.com/th/site/farmerguide/detail/
####
iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025
1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที
2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ
3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน)
สอบถามเพิ่มเติม
โทร 090 592 8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น