ความสำคัญระหว่างดินกับปุ๋ย

 ดิน

นิยามและความหมาย

เทหวัตถุธรรมชาติ ที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่างๆ ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ ซึ่งปกคลุมผิวดินโลกอยู่เป็นชั้นบางๆ เป็นวัตถุที่ค้้าจุนการเติบโต และการทรงตัวของพืช

เทหวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลก เกิดจากการแปรสภาพหรือสลายตัวของหินแร่ธาตุ และอินทรียวัตถุผสมคลุกเคล้ากันตามธรรมชาติรวมกันเป็นชั้นบาง ๆ เมื่อมีน้้าและอากาศที่เหมาะสมก็จะท้าให้พืชเติบโตและยังชีพอยู่ได้

ดิน

ส่วนประกอบของดิน

อนินทรียวัตถุ 45%  อินทรียวัตถุ 5% น้้า 25%  อากาศ 25%

หน้าตัดดิน

“ชั้น O” หรือเรียกว่า ชั้นดินอินทรีย์คือชั้นที่มีการสะสมอินทรียวัตถุทั้งที่มาจากพืชและสัตว์

“ชั้น A” หรือ ชั้นดินบน ชั้นดินที่ประกอบด้วยอินทรียวัตถุที่สลายตัวแล้ว ผสมคลุกเคล้าอยู่กับแร่ธาตุในดินมักมีสีคล้้า

“ชั้น E” หรือ ชั้นชะล้าง เป็นชั้นดินที่มีสีซีดจาง มีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยกว่ากว่าชั้น A และมักจะมีเนื้อดินหยาบกว่าชั้น B

“ชั้น B” หรือ ชั้นดินล่าง เป็นชั้นที่แสดงถึงการเคลื่อนย้ายมาสะสมของวัสดุต่างๆ เช่น อนุภาคดินเหนียว

“ชั้น C” หรือ ชั้นวัตถุต้นกำเนิดดิน เป็นชั้นของวัสดุที่เกาะตัวกันอยู่หลวมๆ อยู่ใต้ชั้นที่เป็นดินประกอบด้วยหินและแร่ที่กำลังผุพังสลายตัว

“ชั้น R” หรือ ชั้นหินพื้น เป็นชั้นหินแข็งที่ยังไม่ผุพังสลายตัว

ประโยชน์ของดิน

ต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลก เพราะเป็นแหล่งที่มาของปัจจัยสี่เพื่อการด้ารงชีพ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่

อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งได้มาจากดินทั้งทางตรงและทางอ้อม

ประโยชน์ของดิน

ต่อการเติบโตของพืชและการเกษตรกรรม พืชอาศัยเป็นที่ให้รากยึดเกาะเพื่อให้ล้าต้นยืนอยู่ได้อย่างมั่นคงแข็งแรง ต้านทานต่อลมพายุ เป็นแหล่งกักเก็บน้้า อากาศ และธาตุอาหารที่พืชต้องใช้ในการเติบโตและให้ผลผลิต

ปัจจัยที่ผลต่อการเติบโตของพืช

แสงสว่าง

อุณหภูมิ

ความชื้นหรือน้ำ

อากาศ

ธาตุอาหารในดิน

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเติบโตของพืชมี 16 ธาตุ ในจำนวนนี้ 3 ธาตุ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ได้จากน้ำและอากาศ ส่วนธาตุอาหารอีก

13 ธาตุนั้นมาจากดิน แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม

มหธาตุ (macronutrients) ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) และกำมะถัน (S) แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม

ธาตุอาหารหลัก หรือ ธาตุปุ๋ย ได้แก่ ไนโตรเจน (N)ฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม (K)

ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม(Mg) และก้ามะถัน (S)

จุลธาตุ หรือ ธาตุอาหารเสริม (micronutrients) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) โบรอน (B) โมลิบดินัม (Mo)

ทองแดง (Cu) สังกะสี (Zn) และคลอรีน (Cl) 

ปุ๋ย

นิยามและความหมาย

สารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ ที่ได้จากธรรมชาติหรือจากการสังเคราะห์ เป็นสารที่ใส่ลงไปในดินเพื่อให้ธาตุ อาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชตามความต้องการของพืชนั้นๆ

ประเภทของปุ๋ย

ปุ๋ยอินทรีย์คือ ปุ๋ยที่มีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์ มีต้นก้าเนิดจากสารอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด

ปุ๋ยอนินทรีย์คือ ปุ๋ยที่มีองค์ประกอบเป็นสารอนินทรีย์หรือเรียกว่า ปุ๋ยเคมี เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต ยูเรีย เป็นต้น

ปุ๋ยอนินทรีย์ ตัวเลขตัวแรกของสูตรปุ๋ย หมายถึง ปริมาณ ไนโตรเจนทั้งหมด (% N )ตัวเลขตัวที่สองของสูตรปุ๋ย หมายถึง ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (% P2O5) ตัวเลขตัวที่สามของสูตรปุ๋ย หมายถึง ปริมาณโพแทสเซียมที่ละลายน้้าได้ (% K2O ) 

วิธีการใส่ปุ๋ย

หลักการในการพิจารณาการใส่ปุ๋ย เลือกใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมกับพืชที่ปลูกใช้ปุ๋ยในปริมาณที่เหมาะสม ใช้ปุ๋ยในระยะเวลาที่เหมาะสมตำแหน่งในการใส่ปุ๋ย ที่พืชน้าธาตุอาหารไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีการใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์เป็นปุ๋ยที่ได้จากซากพืชซากสัตว์ที่ธาตุอาหารน้อยจึงต้องใส่ปริมาณมาก การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควรใส่ทุกครั้งที่ปลูกพืช การใส่ปุ๋ยอินทรีย์ติดต่อกันท้าให้ดินมีธาตุอาหาร

มาก เหมาะแก่การเติบโตของพืช แม้ใส่มากเกินไปก็ไม่มีอันตรายต่อพืชวิธีการใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยเคมีมีหลายวิธี เช่น การหว่านปุ๋ยไปทั่วๆ การโรยเป็นแถบ การโรยข้างข้างๆ หรืออาจใส่ปุ๋ยพร้อมกับการรดน้้าโดยพ่นตามใบพืช

วิธีการใส่ปุ๋ย

เวลาที่เหมาะแก่การให้ปุ๋ย ปุ๋ยจะมีประโยชน์แก่ต้นไม้ก็ต้องมีแสงสว่าง มีความอบอุ่น หรืออุณหภูมิที่เหมาะสมและมีความชื้นดี แสงสว่างที่เหมาะสมได้แก่ แสงแดดในตอนเช้าจนถึงเวลาประมาณ 10.00 น. ต่อจากนั้นแสงแดดจะแรง และอาจเป็นอันตรายต่อต้นไม้บางชนิดได้ ดังนั้นควรให้ปุ๋ยในตอนเช้า แดดจะผลิตก้าลังงานท้าให้รากต้นไม้จะดูดปุ๋ยขึ้นมา

วิธีการใส่ปุ๋ยต้นไม้ที่ปลูกในดิน ดังนี้

คลุกผสมปนกับดิน ปุ๋ยจ้าพวกนี้ได้แก่ ปุ๋ยอินทรีย์ ถ้าเป็นดินเหนียว ตากดินให้แห้ง แล้วท้าให้ร่วนโดยใช้น้้าราด เมื่อดินเหนียวร่วนแล้วให้ใช้ทรายถมที่กับปุ๋ยอินทรีย์ อย่างละ 1 ส่วนผสมเข้าด้วยกัน ก็จะท้าให้ดินร่วนซุยเหมาะแก่การปลูกไม้ประดับ

ปุ๋ยแต่งหน้า วิธีใส่ปุ๋ยแบบนี้ต้องพรวนดินผิวหน้ารอบๆ โคนต้นเสียก่อนแล้วโรยปุ๋ยรอบๆ โคนห่างกันพอสมควร หรือ คะเนดูบริเวณที่รากแผ่ออกไป แล้วจึงพรวนกลบอีกครั้งหนึ่ง วิธีนี้ใช้ได้ทั้งต้นไม้ที่ปลูกในดินหรือในกระถาง ควรใส่ปุ๋ยเป็นประจ้าเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของดินไว้

ปุ๋ยเร่ง คือ ปุ๋ยที่ใช้เร่งให้ต้นไม้โตเร็วทันใจ การใช้ปุ๋ยน้้านี้ต้องมีปุ๋ยพื้นอยู่แล้ว จะใช้ปุ๋ยน้้าอย่างเดียวไม่ได้การราดปุ๋ยต้องราดรอบ ๆ ต้น เวลามีแสงแดด แต่อย่าให้ถูกใบ

ช่วงเวลาในการใส่ปุ๋ย

 ควรใส่ 2 ครั้งต่อปี คือ ช่วงต้นและปลายฤดูฝน

ใส่น้อย...แต่บ่อยครั้ง

ข้อมูลจาก http://www2.dnp.go.th/gpbt/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (Biochemical Sequence) - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ