ดิน คือ หัวใจของการทำเกษตร
ถ้าพืชเกิดความเสียหายจากโรคหรือแมลง เรามองเห็นความเสียหายนั้น และสามารถป้องกันกำจัดได้ แต่พืชจะเจริญเติบโตได้ต้องได้อาหารจากดินด้วย แล้วเรามองเห็นไหมว่าพืชได้อาหารจากดินยังไง? และเกษตรกรจะรู้ได้ยังไงว่าต้องใส่ปุ๋ยอะไร? เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันจ้า
หลายครั้งเมื่อได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนกับเกษตรกร มักจะพบว่า ถ้าพืชเกิดความเสียหายจากโรคหรือแมลง เรามองเห็นความเสียหายนั้น และสามารถป้องกันกำจัดได้ แต่พืชจะเจริญเติบโตได้ ต้องได้อาหารจากดินด้วย แล้วเรามองเห็นไหมว่าพืชได้อาหารจากดินยังไง? (เปรียบเทียบเหมือนคนกินข้าว) และเกษตรกรจะรู้ได้ยังไงว่าต้องใส่ปุ๋ยอะไร?
การที่จะรู้ว่า...ดิน...ของเราเป็นยังไง จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันมีเครื่องมือที่ใช้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องไปถึงห้องปฏิบัติการ (ห้องแลป) เพียงแต่ต้องอาศัยการเรียนรู้และฝึกใช้เครื่องมือที่ว่าให้เป็น เกษตรกรบางพื้นที่ก็สามารถเรียนรู้และวิเคราะห์ดินได้ด้วยตัวเอง สิ่งที่ควรให้ความสนใจ คือ ค่า pH (พีเอช) ของดิน เวลาที่อธิบายให้เกษตรกรฟัง จะอธิบายง่ายๆ ว่า...ธาตุอาหารบางตัวจะไม่ถูกปลดปล่อยออกมา หากค่า pH เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป แต่เมื่อปรับดินให้เหมาะสมแล้ว ธาตุอาหารก็จะถูกปลดปล่อยและพืชดูดซึมไปใช้ได้ เพื่อให้จำได้ง่ายๆ ค่า pH ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชผักจะอยู่ที่ประมาณ 5.6-6.5 ถ้าเป็นไปได้จึงอยากให้เกษตรกรวิเคราะห์ดินทุกปี เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของดิน เพราะเคยมีบางแปลงที่ใส่โดโลไมท์ไปเรื่อยๆ จน pH เหมาะสมแล้ว ก็ต้องหยุดใส่โดโดไมท์
มาตรฐานเกษตรอินทรีย์บางมาตรฐานไม่อนุญาตให้ใช้ปูนขาว แต่ให้ใช้โดโลไมท์ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะโดโลไมท์จะให้ธาตุอาหารรอง เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม ด้วย การปรับปรุงบำรุงดินในระบบเกษตรอินทรีย์ เป็นการบริหารจัดการความรู้อย่างหนึ่ง เริ่มจากรู้จักดินของแปลงปลูกก่อน โดยการวิเคราะห์ดิน (เกษตรกรสามารถขอความช่วยเหลือจาก "กรมพัฒนาที่ดิน" ในพื้นที่ได้) เมื่อรู้แล้วว่าดินเราเป็นอย่างไร ค่อยวางแผนการจัดการให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูก
โดยทั่วไปจะเริ่มจากการปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ตามผลการวิเคราะห์ดิน ส่วนใหญ่ดินบนดอยมักเป็นกรด จึงต้องปรับค่า pH ด้วยโดโลไมท์ ส่วนจะใส่มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับผลการตรวจวิเคราะห์ ในการปลูกพืชอินทรีย์ไม่สามารถใช้ปุ๋ยเคมีได้ ดังนั้นปุ๋ยหมักจึงจำเป็นมาก แนะนำว่าให้รวมกลุ่มกันทำปุ๋ยหมัก เพราะจะสามารถทำปริมาณได้เยอะๆ พอหมักเสร็จแล้วก็แบ่งกันไปใช้ ในบางพื้นที่เกษตรกรบางกลุ่มสามารถรวมกันทำปุ๋ยหมักจนเหลือขายได้เงินเพิ่มด้วย ในกรณีที่พืชแสดงอาการขาดธาตุอาหาร ยกตัวอย่าง ในฟักทองญี่ปุ่น มักเกิดอาการเนื้อเป็นไตแข็ง เนื่องจากขาดโบรอนก็สามารถเติมโบรอนโดยดูจากในมาตรฐานว่าอนุญาตให้ใช้โบรอนแบบไหน หลายคนเข้าใจว่าการทำเกษตรอินทรีย์ใส่ปุ๋ยเคมีรวมทั้งปัจจัยการผลิตอื่นๆ ไม่ได้เลย ซึ่งในความเป็นจริงแต่ละมาตรฐานจะระบุว่า ปัจจัยการผลิตอะไรอนุญาตให้ใช้หรือไม่อนุญาตให้ใช้!
สิ่งที่สำคัญและจำเป็นอีกอย่างคือ การปลูกพืชปุ๋ยสด หมายถึงพืชที่ปลูกแล้วไถกลบเป็นปุ๋ย (มักไถกลบช่วงที่ออกดอก) ส่วนใหญ่เป็นพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วพุ่มดำ ปอเทือง โสน เป็นต้น มีงานวิจัยหลายฉบับที่ยืนยันว่า ปอเทือง เป็นพืชที่ให้ Biomass มากที่สุด (เข้าใจง่ายๆ ว่าพืชให้ปุ๋ยได้มาก) แต่ถ้าหาปอเทืองไม่ได้ก็สามารถปลูกพืชตระกูลถั่วอื่นๆ ได้ โดยควรปลูกพืชปุ๋ยสดสลับกับพืชผักที่เราปลูกอย่างน้อย 1-2 ครั้ง/ปี
แหล่งข้อมูล : https://www.hrdi.or.th/articles/Detail/117
ข้อมูลจาก https://www.royalparkrajapruek.org/Knowledge/view/254
####
iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025
1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที
2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ
3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน)
สอบถามเพิ่มเติม
โทร 090 592 8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น