ต้นเหตุของดินเสื่อม
ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นเมืองเกษตรกรรมมีพื้นที่ทั่วประเทครอบทั้งหมด 321 ล้านไร่ และมีพื้นที่ถือครองด้านเกษตรกรรมประมาณ 182 ล้านไร่ แบ่งเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 77 ล้านไร่ ภาคกลาง 27 ล้านไร่ภาคเหนือ 36 ล้านไร่ ภาคตะวันออก 14 ล้านไร่ และ ภาคได้ 28 ล้านไร่ แต่จากการสำรวจของกรมที่ดิน ในปี 2549 พบว่าในพื้นที่ถือครอง ด้านการเกษตร 182 ล้านไร่ มีกว่า 132 ล้านไร่เกิดมีปัญหาดินเลื่อมโทรม
สาเหตุที่ดินเสื่อมโทรม เนื่องจากเกษตรกรขาดความรู้ในเรื่องดิน มีแต่ใช้ไม่เคยบำรุง และใช้สารเคมีเป็น จำนวนมากทำให้ดินเสื่อมโทรมเร็วกว่าปกติ และเมื่อดินหมดแร่ธาตุอาหารและจุลินทรีย์ในดิน จะพบแต่สารเคมีตกค้างมาก โรคชนิดต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อพืชจะสะสมอยู่ในดิน เมื่อพืชเป็นโรคเกษตรกรก็หันมาใช้สารเคมีจำนวนมาก ทำให้ผลผลิต
ทุกๆ ชนิด มีแต่สารพิษ ไม่เป็นที่ยอมรับของทั่วโลก ทั้งยังทำให้ต้นทุนสูง ปลูกพืชไม่คุ้มกับการลงทุน แมลงชนิดต่างๆ ก็เข้าทำลายพืช ผัก ผลไม้ ยังทำให้ เกษตรกรหันพึ่งสารเคมีมากขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อเกษตรกรหันมาปรับปรุงดินโดยใช้สารธรรมชาติเข้าช่วย
ต้นเหตุความยากจนของเกษตรกรไทยเกิดขึ้นได้อย่างไร ขออธิบายให้ท่านทราบย่อๆ ดังนี้ ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นเมืองเกษตรกรรม เกษตรกร ส่วนใหญ่ปลูกพืชซึ่งสร้างรายได้หลัก 6 ชนิดดังนี้
1. มันสำปะหลัง ในอดีตที่ผ่านมาตอนเปิดป่าใหม่ๆ ดินยังอุดมสมบูรณ์ เกษตรกรเคยปลูกมันสำปะหลังได้แค่ 8-10 ตัน ขายได้ราคา กก.ละ 50 สตางค์ ถึง 1 บาท จะมีรายได้เฉลี่ยไร่ละ 6,000 ถึง 10,000 บาท แต่ในปัจจุบันดินเสื่อมโทรมทำให้เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังได้ 2-3 ตัน/ไร่ ขายได้ กิโลกรัมละ 1 ถึง 1.20 บาท ถึงแม้ราคาจะดีกว่าแต่ผลผลิตตกต่ำทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการปลูก มันสำปะหลังเพียง 2,000 บาท ถึง 4,000 บาท ต่อ 1 ไร่/ปี เท่านั้น (ทำให้เงินหายจากระบบไปถึง 6,000 บาทไร่)
2. อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้เข้าประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท อ้อยก็เช่นกัน ในอดีตช่วงเปิดป่าใหม่ เกษตรกรปลูกอ้อยได้ผลผลิตถึง 25-30 ตัน/ไร่ ราคาในช่วงนั้นตันละ 300-400 บาท แต่ปัจจุบันเกษตรกรปลูกอ้อยได้ 6-8 ตัน/ไร่ ขายได้ตันละ 500-600 บาท ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมีรายได้เฉลี่ยไร่ละ 3,000-5,000 บาท1ต่อปีเท่านั้น (เงินหายจากระบบไปถึง 6,000 บาท/ไร่)
3.ข้าว ก็เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศไทย ช่วงที่ดินอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ชาวนาปลูกข้าวได้โดยเฉลี่ยทั่วประเทศ 80-120 ถัง/ไร่ ขายข้าวได้เกวียนละ 4,000-5,000 บาท ปลูกข้าว 1 ครั้งจะขายข้าวได้ประมาณ 4,500 บาท ต่อ 1 ไร่ แต่ในปัจจุบันชาวนาปลูกข้าวได้เฉลี่ย 34 ถัง/ไร่ ถึงแม้ราคาข้าวจะดีเกษตรกรสามารถขายข้าวได้ถึงเกวียนละ 8,000-9,000 บาท แต่เมื่อผลผลิตตกต่ำสารเคมีมากก็ยังทำให้เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย ต่อการปลูกข้าว 1 ครั้งมีรายได้เพียง 2,500-3,000 บาทนั้น (ทำให้เงินหายไปถึง 3,000 บาทไร่)
4. ยางพารา เคยมีช่วงหนึ่งเกษตรกรขายได้กิโลกรัมละเกือบ 100 บาท แต่ปัญหาน้ำยางออกน้อย หน้ายางตายนึ่ง กรีดแล้วไม่มีน้ำยางออกเนื่องจากสภาพดินเสื่อมโทรม (ยางพารา 1 ไร่ มี 76 ต้น ในอดีตกรีดได้ทุกๆ ต้น แต่ปัจจุบันหน้ายางตายนึ่งเกือบครึ่ง) ทำให้เกษตรกรขาดทุนและต้องหันไป พึ่งพืชอื่น เช่น ประเทศมาเลเซียโค่นยางทิ้งทั้งหมดเพราะปัญหาหน้ายางตายนึ่ง แล้วหันมาปลูกปาล์มน้ำมันแทน
5. ผลไม้ทุกๆ ชนิด ตอนปลูกเปิดป่าใหม่ๆ ก็มีผลผลิตสูงเมื่อดินเสื่อมโทรมก็เกิดปัญหามากมาย เช่น โรคแมลงทำลายมาก รสชาติไม่ดี เมื่อเจอปัญหาต่างๆ ก็หันมาใช้สารเคมีตกค้างในผลผลิต ก่อให้เกิดปัญหามากมาย
6.กลุ่มพืชไร่ เช่น ถั่วเหลือง ฝ้าย ข้าวโพด ละหุ่ง ตอนเปิดป่าใหม่ปลูกได้ผลดี ต่อมาดินเสื่อมก็เจอปัญหา มากมาย จนกระทั่งไม่มีผลผลิตพอที่จะใช้ในประเทศจนต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งๆ ที่เมืองไทยเป็น เมืองเกษตรแท้ๆ นี้ยังไม่นับรวมถึงกลุ่มพืชผักและไม้ดอก
สรุปได้ว่าต้นเหตุความยากจนของเกษตรกรคือ ดิบเสื่อมสภาพนั้นเอง ฉะนั้นภาครัฐ จะต้องเร่งหาทางแก้ไขโดยการแก้จนถาวรพร้อมให้ข้อมูลวิธีแก้ไขแบบสูตรสำเร็จแก่เกษตรกร
ข้อมูลจาก http://www.vigotech.in.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=539815951&Ntype=8
####
iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025
1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที
2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ
3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน)
สอบถามเพิ่มเติม
โทร 090 592 8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น