ปุ๋ยพืชสด

 ปอเทือง มะแฮะ ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม

"พืชปุ๋ยสด" ก็คือปุ๋ยที่ได้จากการสลายตัวของพืชที่ยังสดหรือยังเขียวอยู่ โดยทั่วไปหมายถึงการปลูกพืชเช่นพืชตระกูลถั่วที่ตรึงธาตุไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ได้จนเจริญเติบโตพอแล้วทำให้สลายตัวในดิน

เป็นปุ๋ยให้แก่พืชหลัก ซึ่งผลิตได้ในไร่นาโดยแรงงาน และธรรมชาติ การใช้ปุ๋ยพืชสดนั้นได้มีผู้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลานานแล้ว โดยมีรายงานว่ามีผู้รู้จักใช้ปุ๋ยพืชสดก่อนสมัยโรมันเรืองอำนาจ

ปัจจุบันการใช้ปุ๋ยพืชสดได้รับความสำเร็จเป็นอย่างดีในหลายประเทศจนเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย เช่น ในประเทศจีนถือว่าปุ๋ยพืชสดนั้นเป็น"อาหารธรรมชาติ สำหรับพืชและดิน"

โดยนิยมใช้ปุ๋ยพืชสดอยู่ 4 ระดับดังต่อไปนี้ คือ

1. ทำการหว่านและไถกลบในแปลงเดียวกัน

2. เก็บเกี่ยวพืชที่ใช้ทำปุ๋ยพืชสดแล้วนำไปไถกลบในแปลงอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าเดิม 3-4 เท่าตัวรากของพืชที่เก็บเกี่ยวไปแล้ว จะยังคงเหลืออยู่เป็นการคงความอุดมสมบูรณ์ในแปลงเดิมได้บ้าง

3. ต้นพืชที่ใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดนำมาผสมกับหญ้าและโคลน แล้วนำมากองทำเป็นปุ๋ยหมัก ตามมุมแปลง หรือใช้ในบ่อผลิตก๊าซชีวภาพ

4. ทำการปลูกพืชที่ใช้ทำเป็นปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกข้าว เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ก็ไถกลบลงไปในแปลง 

ในทวีปเอเชียมีหลายประเทศที่เกษตรกรใช้ปุ๋ยพืชสดได้แก่ จีน ไต้หวัน อินเดีย บังคลาเทศ และฟิลิปปินส์ ทั้งแหนแดง และพืชตระกูลถั่ว เช่น โสนพันธุ์ต่างๆ (Garrityand Flinn. 1987.)

ความสำคัญและประโยชน์ของพืชปุ๋ยสด ในการปลูกพืชบำรุงดินนั้นเกษตรกรจะได้รับประโยชน์จากพืชปุ๋ยสดที่เหมาะสมซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ดังต่อไปนี้

1. เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดินในการไถกลบพืชปุ๋ยสด โดยเฉพาะดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขาดอินทรียวัตถุมาก และเป็นการชดเชยอินทรียวัตถุในดินที่สูญเสียไป เนื่องจากการเพาะปลูก

ซึ่งขาดอินทรียวัตถุมาก และเป็นการชดเชยอินทรียวัตถุในดินที่สูญเสียไป เนื่องจากการเพาะปลูก

2. ช่วยเพิ่มธาตุอาหารไนโตรเจนแก่ดิน โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วซึ่งมีจุลินทรีย์ประเภทแบคทีเรีย Rhizobium spp. อาศัยอยู่ในปมรากซึ่งสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาได้

เมื่อไถกลบพืชพวกนี้ลงไปในดินก็จะได้ธาตุไนโตรเจนค่อนข้างสูง

3. ช่วยในการอนุรักษ์ธาตุอาหารในดิน พืชที่ปลูกเป็นพืชปุ๋ยสด จะดูดกินหรือใช้ประโยชน์จากปุ๋ย ซึ่งตกค้างจากการใส่ให้พืชเศรษฐกิจอันเป็นพืชหลัก เป็นการป้องกันการสูญเสียธาตุอาหารไม่ให้

ถูกชะล้างไปนอกจากนั้นในพืชตระกูลถั่วที่มีระบบรากลึกก็สามารถดูดดึงธาตุอาหารที่อยู่ในดินชั้นล่างขึ้นมาในลำต้น กิ่งก้าน และใบได้ เมื่อทำการไถกลบพืชปุ๋ยสด และสลายตัวแล้วธาตุอาหารเหล่านั้นก็จะตกอยู่

ในดินชั้นบนเป็นประโยชน์แก่พืชเศรษฐกิจอันเป็นพืชหลักต่อไป

4. ช่วยในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ป้องกันการชะล้างพังทลาย การไหลบ่าของหน้าดินอันเนื่องมาจากน้ำและลมซึ่งจะทำให้หน้าดินอันมีความอุดมสมบูรณ์กว่าดินชั้นล่างสูญเสียไป

โดยเฉพาะพืชปุ๋ยสดประเภทเป็นพืชคลุมดินจะช่วยป้องกันได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันวัชพืชที่ไม่ต้องการขึ้นมาแซมพืชหลักได้อันทำให้ไม่เปลืองแรงงานในการกำจัดวัชพืชเหล่านั้นต่อไป

5. ประโยชน์อื่น ๆ การปลูกพืชปุ๋ยสด ยังช่วยให้คุณภาพของพืชหลักหรือพืชเศรษฐกิจดีขึ้น เช่น โปรตีนในข้าวโพดเพิ่มขึ้นเส้นใยฝ้ายดีขึ้นและสามารถช่วยลดปัญหาดินเค็มลงได้

หากได้มีการปลูกพืชบำรุงดินบางชนิดที่ขึ้นได้ในดินเค็มอย่างสม่ำเสมอติดต่อกัน

การใช้ประโยชน์พืชปุ๋ยสด พืชปุ๋ยสดที่นิยมใช้กันมากและแพร่หลายในประเทศไทยนั้น ได้แก่พืชตระกูลถั่วเนื่องจากเป็นพืชที่ส่วนมากขึ้นได้ดีในดินทั่ว ๆ ไป

ใช้ธาตุอาหารในดินน้อย และทนแล้งได้ดี บางชนิดยังสามารถทนต่อดินเค็มได้อีกด้วยจึงใช้ประโยชน์เป็นพืชปุ๋ยสดไถกลบในดินเค็ม โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งมีปริมาณพื้นที่

ดินเค็มมาก ที่สำคัญคือพืชปุ๋ยสดประเภทพืชตระกูลถั่ว สามารถจัดเข้าในระบบพืชปลูก (cropping system) ได้ดี ซึ่งเหมาะแก่การทำการเกษตรในประเทศไทยเป็นอย่างยิ่งกล่าวโดยทั่วไป

อาจใช้ประโยชน์จากพืชปุ๋ยสดได้ลักษณะดังต่อไปนี้

ก. ใช้ในระบบปลูกพืชหมุนเวียน (crop rotation) ในระบบปลูกพืชหมุนเวียนนั้นอาจใช้ได้ในกรณีใดกรณีหนึ่งแล้วแต่สภาพและความเหมาะสมของพื้นที่และภูมิอากาศ คือ

1. ในช่วงเวลาหนึ่งปี ปลูกพืชเศรษฐกิจอันเป็นพืชหลักชนิดหนึ่งสลับกับพืชบำรุงดินชนิดหนึ่ง โดยปลูกพืชหลักในต้นฤดูฝนสลับกับพืชบำรุงดินในปลายฤดูฝน

หรือปลูกพืชบำรุงดินในต้นฤดูฝนแล้วปลูกพืชหลักปลายฤดูฝนเช่น ปลูกถั่วลิสงเป็นพืชหลักในต้นฤดูฝนแล้วปลูกถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วแปป ถั่วแปยีหรือถั่วอื่นๆ ตามในปลายฤดูฝน หรือปลูกปอเทือง

โสน ถั่วเขียว หรือถั่วอื่น ๆ ในต้นฤดูฝน แล้วปลูกพืชหลักปลายฤดูฝน เช่น ข้าวโพด และพืชไร่อื่นๆ

2. ในช่วงเวลาสองปีปลูกพืชหลักหนึ่งชนิดสลับกับพืชบำรุงดินหนึ่งชนิดกรณีเช่นนี้พืชบำรุงดินที่นำมาปลูกนั้นส่วนมากจะเป็นพืชคลุมดิน โดยปลูกพืชหลักในปีหนึ่งและพืชปุ๋ยสด

ในปีที่สองสลับกันไปเป็นระบบที่ใช้กับพื้นที่ที่ความลาดเท เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลาย เช่น ปลูกถั่วแปปสลับกับถั่วแดงหลวง เป็นต้น

ข. ระบบปลูกพืชแซม (intercropping) เป็นการปลูกพืชปุ๋ยสดแซมในแถวพืชหลัก โดยปลูก ในเวลาเดียวกันหรือเหลื่อมเวลากันในพื้นที่เดียวกันในหนึ่งปี

โดยมีหลักเกณฑ์ว่าพืชหลักและพืชปุ๋ยสดต้องสามารถอยู่ด้วยกันได้ไม่เป็นปฎิปักษ์ต่อกัน เช่น ปลูกโสน ปอเทือง ถั่วเหลือง หรือถั่วเขียว แซมในแถวข้าวโพดซึ่งเป็นพืชหลัก เป็นต้น

ค. ระบบปลูกพืชแบบแถบพืช (strip cropping) เป็นการปลูกพืชหลายๆ ชนิดในเวลาเดียวกัน ในแปลงเดียวกันโดยแบ่งเป็นแต่ละแถบของพืชแต่ละชนิดสลับกันไปเรื่อย ๆ เช่นเป็นแถบ

ข้าวโพด จำนวน 5 แถว ต่่อมาปลูกกระถินริมรั้วเป็นแนวแบ่งเขตกว้างประมาณ 1.50 เมตร ต่อมาเป็นแถบ ปอเทือง 5 แถว เป็นพืชปุ๋ยสดแล้วกั้นด้วยรั้วกระถินอีก ต่อมาเป็นแถบถั่วเหลืองใช้ความกว้างเท่ากันกับ

ปอเทืองและข้าวโพด แล้วกั้นด้วยรั้วกระถินอีกเช่นนี้ต่อไปจนกว่าจะหมดชนิดของพืชที่เราปลูกแล้วจึงย้อนกลับมาเริ่มต้นข้าวโพดใหม่อีก เป็นต้น การปลูกพืชแบบนี้ก็จะมีโอกาสได้ทำการบำรุงดินโดยพืชปุ๋ยสด

ได้ในเวลาเดียวกัน มักใช้ระบบปลูกพืชแบบนี้ในแถบที่มีความลาดเท โดยปลูกตามแนวเส้นระดับ มักพบในแถบภาคเหนือของประเทศไทย

ง. ระบบปลูกพืชแบบพืชคลุมดิน (cover crops) พืชปุ๋ยสดในระบบปลูกพืชแบบนี้ มักเป็นพืช ปุ๋ยสดตระกูลถั่วประเภทพืชคลุมดินเพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดิน มักนิยมใช้ใน

 สวนผลไม้ สวนปาล์มน้ำมัน และสวนยางพาราในแถบภาคใต้ โดยที่เมื่อไม้ยืนต้นอันเป็นพืชหลักยังต้นเล็กอยู่ก็นำเอาเมล็ดพืชคลุมดินไปหว่านเพื่อป้องกันการชะล้างหน้าดิน และป้องกันกำจัดวัชพืชมิให้ขึ้นอีกด้วย

เช่น ปลูกพืชคลุม คุดซู คาร์โลโปโกเนียม ไมยราบไร้หนาม ถั่วลาย เป็นต้น ในแปลงไม้ยืนต้น ดังกล่าว

ข้อมูลจาก http://r07.ldd.go.th/nan01/amazing/plant/main-plant.html

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (Biochemical Sequence) - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ