6 เทคนิค ลดการสูญเสียไนโตรเจน

ธาตุอาหารไนโตรเจน ( N ) หรือที่เกษตรกรเรียกกันว่าธาตุอาหารตัวหน้า เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการมากที่สุด และมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชมากที่สุด แต่กลับเป็นธาตุอาหารที่เกิดการสูญเสียอย่างเปล่าประโยชน์มากที่สุดเช่นกัน เราจึงต้องให้ความสำคัญกับการ ลดการสูญสียไนโตรเจน ให้มากที่สุด


ส่วนใหญ่แล้ว พืชจะดูดซึมธาตุอาหารไรโตรเจนที่มาจากปุ๋ยเม็ด ได้เพียง 30% จากที่มี เท่านั้น ยกตัวอย่าง แม่ปุ๋ย สูตร 46-0-0 มีไนโตรเจน 46% ก็จะเหลือเพียง 13.8% เท่านั้น ซึ่งการสูญเสียไนโตรเจนก็มีด้วยกันหลายสาเหตุ เช่น

เกิดการชะล้างจากน้ำ

เกิดการระเหิดก่อนพืชนำไปใช้

หายไปกับน้ำขัง

สูญเสียหลังเก็บเกี่ยว

ฯลฯ

สำหรับเทคนิคที่ทำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยให้เกิดการสูญเสียที่เปล่าประโยชน์น้อยที่สุด มีด้วยกัน 6 วิธี คือ

สูญเสียจากการชะล้าง

ไม่ใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตกหนัก เพราะจะทำให้น้ำฝนชะล้างธาตุอาหารไนโตรเจน

ใช้ปุ๋ยในรูปแบบของแอมโมเนียม

สูญเสียจากการระเหิด

ไม่ใส่ปุ๋ยในวันที่อากาศร้อนหรือมีแสงแดดจัด เพราะจะทำให้ปุ๋ยไนโตรเจนระเหิดหายไปในอากาศได้

พรวนดินกลบหลังใส่ปุ๋ย จะช่วยลดการโดนแดด และทำให้เกิดการระเหิดได้

สูญเสียจากน้ำขัง

ไม่ใส่ปุ๋ยในที่มีน้ำขัง หรือลดปริมาณน้ำหลังใส่ปุ๋ยลง

สูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว

ไถกลบเศษซากพืชทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ไนโตรเจนยังคงอยู่ในดิน

เนื่องจากปัญหาราคาปุ๋ยเคมีที่สูงขึ้น การใช้เทคนิค ลดการสูญเสียไนโตรเจน จะทำให้พืชได้รับธาตุอาหารครบถ้วนมากที่สุด จะเป็นลดต้นทุนของเกษตรได้มากขึ้น

ข้อมูลจาก https://idesignorganic.com/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?