สาเหตุที่พืชไม่เขียว ไม่ได้เกิดจากขาดไนโตรเจนอย่างเดียว!!

 สาเหตุที่พืชใบไม่เขียว เกิดจากอะไรได้บ้าง?

1.ต้นไม้ใบเหลืองเพราะให้น้ำมากเกินไป

หากไม่มีเวลาจนละเลยการรดน้ำต้นไม้ไปเลยก็ไม่ดี หรือถ้าใส่ใจในการรดน้ำมากจนเกินไป ก็ไม่ดีกับพืชด้วยเช่นเดียวกัน เพราะการรดน้ำมากจนเกินไปทำให้พืชรากเน่า แสดงอาการใบเหลืองได้

วิธีการแก้ต้นไม้ใบเหลืองจาก เรื่องการให้น้ำ

หากไม่ต้องการให้เกิดปัญหาต้นไม้ใบเหลือง พี่น้องควรจะทำการศึกษาลักษณะการให้น้ำที่เหมาะสมกับสายพันธุ์ของต้นไม้ที่กำลังปลูกอยู่ก่อน เพื่อจะได้ทราบว่าควรให้น้ำในปริมาณเท่าไหร่ในแต่ละวัน จะได้ไม่ให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจนทำให้เกิดปัญหาตามมา

2.สาเหตุจากฝนตกหนักต่อเนื่อง

หากเกิดฝนตกอย่างหนักและต่อเนื่อง และเกิดน้ำท่วมขังที่โคนต้น หรือเกิดน้ำท่วมแปลง ทำให้น้ำเข้าแทนที่ออกซิเจนที่อยู่ในดิน ส่งผลให้พืชขาดอากาศ หายใจไม่ได้ทำให้พืชดูดซับธาตุอาหารไปใช้เลี้ยงต้นไม่ได้ และขาดสารอาหารตามมา สุดท้ายพืชก็จะเกิดอาการใบเหลืองขึ้นมาได้ มักจะพบในใบที่มีอายุมากกว่าหรือใบที่อยู่ทางโคนของกิ่งในแต่ละกิ่งย่อย และเหลืองเข้มมากขึ้น และต่อมาใบแห้งและต้นไม้ยืนต้นตาย บางครั้งต้นไม้อาจจะแสดงอาการใบเหี่ยว ใบลู่ลง ห้อย ไม่สดชื่น ซึ่งก็คืออาการของน้ำท่วมขังรากเช่นกัน

วิธีการแก้ต้นไม้ใบเหลืองจาก ฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง

ให้เริ่มต้นโดยการระบายน้ำที่ท่วมขังออก และพรวนดินเพื่อเปิดรากให้ได้รับอากาศ ทำให้ดินแห้งอย่างเร็ว เพื่อลดการชุ่มน้ำที่บริเวณราก โดยในระหว่างนี้งดการให้ปุ๋ย รอจนกว่าต้นไม้เริ่มแตกใบใหม่ รวมถึงงดเหยียบบริเวณราก และทำการตัดแต่งกิ่งออก คงเหลือแต่ใบที่ดีไว้ เพื่อให้ต้นไม้แตกใบใหม่ได้เร็วขึ้น หลังจากนั้นให้รอจนกว่าต้นไม้แตกใบใหม่แล้วระยะหนึ่งเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของต้นไม้ แล้วค่อยฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริม การฉีดพ่นทางใบจะช่วยให้ต้นไม้สามารถดูดซับสารอาหารทางใบไปใช้ได้ต่อไป

3.การขาดธาตุอาหารพืช

หากต้นไม้หรือพืชผักที่กำลังปลูกอยู่ขาดธาตุอาหารที่จำเป็นแล้ว อาจจะทำให้มีอาการต้นไม้ใบเหลืองในลักษณะที่แตกต่างกันได้หลายรูปแบบ เช่น

ใบอ่อนหรือใบยอดมีสีเหลือง เส้นใบยังคงมีความเขียวและมีขนาดเล็กกว่าปกติ โดยจะแสดงอาการออกทั้งทางใบและผล โดยผลจะเล็ก ผิวไม่สวย มีจำนวนลดลง และกิ่งแห้งตาย ลักษณะนี้อาจเกิดจากการขาดเหล็ก (Fe) ในพืชได้

อาการที่ใบล่างหรือใบแก่ก่อน แสดงว่าธาตุนั้นมีการเคลื่อนย้ายได้ดีในพืช เช่น โพแทสเซียม (K) แมกนีเซียม (Mg) มักพบอาการที่ปลายใบก่อนตามมาที่ขอบใบจึงลุกลามเข้ากลางใบ สีใบจะเริ่มเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นน้ำตาล

อาการที่ใบบนหรือใบยอดก่อน แสดงว่าธาตุนั้นไม่มีความสามารถในการเคลื่อนย้ายภายในพืช คือเคลื่อนย้ายจากใบล่างสูใบบนไม่ได้ ได้แก่ แคลเซียม (Ca) และโบรอน (B) 

อาการเกิดที่ใบทั่วลำต้น เกิดทั้งใบแก่และใบอ่อน แม้ว่าใบแก่จะแสดงอาการมากกว่า แต่อาการไม่แสดงชัดเจนก็ตาม ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และกำมะถัน (S) โดยเฉพาะไนโตรเจนพบอาการขาดบ่อย ซึ่งมีอาการที่ใบแก่หรือใบล่างจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเป็นรูปตัววี (V) เริ่มจากปลายใบเข้าสู่ส่วนแกนกลางของใบและลุกลามขึ้นสู่ใบบน

วิธีการแก้ต้นไม้ใบเหลืองจาก การขาดธาตุอาหารพืช

เมื่อทราบลักษณะอาการขาดธาตุอาหารของพืชในเบื้องต้นแล้ว ก็ควรที่จะใส่ใจในการเพิ่มธาตุอาหารให้กับพืชในส่วนที่ขาดมากขึ้น และควรรู้ว่าควรจะใช้ปุ๋ยชนิดไหนอย่างไรจึงจะปลอดภัย เช่น ในพืชหลายชนิดต้องการธาตุอาหารรอง-เสริม และวิตามินต่าง ๆ ซึ่งการขาดธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยเหล่านี้ จะส่งผลผลกระทบทั้งในเรื่องการเจริญเติบโต เช่น โตช้ากว่าปกติ หรือการให้ผลผลิตที่ด้อยคุณภาพ รวมถึงปริมาณผลผลิตอาจได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น  

4. ต้นไม้ใบเหลือง เพราะให้ปุ๋ยมากเกินไป​

การใส่ปุ๋ยมากเกินไป ทำให้พืชเกิดอาการน็อกปุ๋ย จนทำให้มีอาการใบเหลืองได้ การใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณมากเกินไป ทำให้เกิดอาการผิดปกติทั้งกับดิน ราก และใบของพืชได้ในระยะยาว และอาจทำให้ต้นไม้ที่ปลูกตายได้ โดยหลังจากใส่ปุ๋ยต้องให้น้ำตามให้ชุ่มทุกครั้ง

วิธีการแก้ต้นไม้ใบเหลือง เพราะให้ปุ๋ยมากเกินไป

สำหรับใครที่ยังใช้ปุ๋ยเคมีมากจนเกินไป ต้องระวังการให้ปุ๋ยชนิดนี้กับพืชเป็นพิเศษ เพราะปุ๋ยประเภทนี้อันตรายต่อดิน พืช และผู้ใช้งาน ซึ่งถ้าหากกังวลในเรื่องของการใช้ปุ๋ยเคมีก็ให้หันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำแทน เพราะนอกจากจะทำให้พืชโตไว ดูสมบูรณ์เนื่องจากมีธาตุอาหารรองและจุลธาตุมากกว่าปุ๋ยเคมีแล้ว ยังปลอดภัยต่อเกษตรกรที่ใช้งานอีกด้วย

5. สาเหตุจากเชื้อรา

เรื่องของเชื้อราก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดอาการใบเหลืองได้ โดยเชื้อราจะทำให้พืชเกิดโรครากเน่า โคนเน่า โดยส่วนมากเกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อราไฟทอปธอร่า ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อราที่ทำให้ต้นไม้เกิดอาการผิดปกติในหลาย ๆ ตำแหน่ง ในรากที่กลายเป็นสีน้ำตาล ช้ำ และเน่า โคนต้นจะมีลักษณะเปลือกแตก มีเมือกเยิ้มออกมาจากส่วนเปลือกของต้นที่แตก เมื่อถากเปลือกส่วนที่แสดงอาการ เนื้อไม้จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง ส่วนมากพบอาการบริเวณโคนต้น ตามซอกกิ่ง หรือง่ามกิ่ง หรือกิ่งที่อยู่ต่ำ ๆ ดอกและผลจะเน่าและร่วง ใบ ขอบใบ หรือปลายใบซีด เหลือง เหี่ยวตาย หากเกิดบนยอดอ่อน ยอดอ่อนนั้นจะเน่าแห้งเป็นสีดำ

วิธีการแก้ต้นไม้ใบเหลืองจาก เชื้อรา

ให้ใช้สารป้องกันเชื้อโรครากเน่าที่จะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในดินที่มีความชื้นสูง อากาศร้อน หรือในหน้าที่เป็นฤดูฝนก็ได้ โดยอาจใช้เป็นสารชีวภาพ เช่น สารจุลินทรีย์ไตรโคเดอร์ม่า ซึ่งช่วยในการรักษาโรคพืช ช่วยป้องกันและควบคุมเชื้อโรคพืชได้หลายชนิด เช่น โรครากและโคนเน่า ผลเน่า ใบจุด ใบไหม้ ใบเหี่ยว ราดำ เป็นต้น อีกทั้งยังช่วยทำให้พืชแข็งแรง มีความต้านทานต่อโรค และช่วยเพิ่มการเติบโตของพืช เพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : 

- https://www.sogreen.asia/causes-of-yellowing-tree/

- https://www.baanlaesuan.com/144574/plant-scoop/plants_netrients_2_tree

- https://shop.grotech.co/blog/how-to-take-care-of-yellow-plant-disease/

ข้อมูลจาก https://puimongkut.com/th/site/farmerguide/detail/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?