รู้ก่อน! แก้ไขทัน! แนะวิธีสังเกตอาการพืชขาดธาตุอาหาร

เคล็ดลับเกษตรกรยุคใหม่

รู้ก่อน! แก้ไขทัน! แนะวิธีสังเกตอาการพืชขาดธาตุอาหาร

พี่น้องเกษตรกรเคยสงสัยกันมั้ยคะว่า เหตุใดพืชผลในพื้นที่ทำกินที่เราปลูกไว้อย่างใส่ใจ ทั้งรดน้ำ ใส่ปุ๋ยอย่างดีแต่ผลผลิตที่ได้นั้นกลับน้อย แถมยังไม่มีคุณภาพ ทำให้สูญเสียทั้งเงินลงทุนและแรงกายแรงใจ ซึ่งการที่เกิดปัญหาเหล่านี้ แท้จริงแล้วมาจากการที่พืชขาดธาตุอาหารที่ต้องการนั่นเอง วันนี้เราจะพาไปสังเกตอาการต่างๆ ที่พืชผลมักจะส่งสัญญาณออกมา เมื่อเกิดการขาดธาตุอาหาร เพื่อช่วยให้เสริมความต้องการปุ๋ยให้กับสวนที่รักของเราได้อย่างทันการณ์ครับ

– พืชผลขาดไนโตรเจน (N)

อาการ :   เนื่องจากเป็นธาตุอาหารที่เคลื่อนย้ายง่ายในพืช  เมื่อพืชขาดธาตุไนโตรเจน ก็จะพยายามเคลื่อนย้ายจากใบล่างๆ ขึ้นไปยังส่วนยอด อาการใบเหลืองเพราะขาดธาตุชนิดนี้จึงมักแสดงให้เห็นในใบส่วนล่าง โดยใบจะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เริ่มจากบริเวณปลายใบหากขาดไนโตรเจนรุนแรงจะทำให้ใบแก่ตาย เหลือเพียงใบอ่อน และส่งผลให้พืชผลโตช้า ออกดอกออกผลน้อยลง

วิธีการดูแล : ให้ใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนลงไป เช่น ปุ๋ยคอก หรือเติมดินที่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบก็ได้เช่นกัน แต่ควรเติมให้พอดี ไม่อย่างนั้นพืชจะอวบน้ำ ต้นอ่อน และล้มง่าย

–พืชผลขาดฟอสฟอรัส (P)

อาการ : ใบแก่จะมีสีม่วงแดง ส่วนด้านใต้ใบจะมีสีเขียวเข้ม ขอบใบม้วนงอไหม้ ต้นโตช้า ผอมสูง พืชบางชนิดอาจมีลำต้นบิดเป็นเกลียว ดอกและผลที่ออกมาไม่สมบูรณ์ หลุดร่วงจากขั้วได้ง่าย ผลผลิตที่ได้มีความหยาบแข็งเพราะมีไฟเบอร์มาก และค่อนข้างจะสุกช้ากว่าปกติ

วิธีการดูแล : สามารถใส่ปุ๋ยคอกได้ เพราะมีฟอสฟอรัสอยู่เช่นกัน หรืออีกวิธีให้ใส่ปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ลงไป โดยโรยเป็นจุดหรือโรยเป็นแถบให้ลึกลงไปในดินบริเวณราก ไม่ควรคลุกเคล้าให้เข้ากับดินเพราะจะทำให้ปุ๋ยทำปฏิกิริยากับธาตุต่างๆ ในดินเร็วเกินไป

–พืชผลขาดโพแทสเซียม (K)

อาการ : ใบแก่จะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีด ขอบใบม้วนงอ และมีจุดสีน้ำตาลไหม้ขึ้นจากปลายใบสู่กลางใบ  ต้นโตช้า หักล้มง่าย และผลผลิตจะแก่ช้ากว่าปกติ

วิธีการดูแล :ให้เพิ่มปุ๋ยหรืออินทรียวัตถุอื่นๆ ที่มีธาตุอาหารโพแทสเซียมเข้าไป พร้อมกับการสร้างสมดุลของปุ๋ย NPK ให้มากขึ้น

–พืชผลขาดแมกนีเซียม (Mg)

อาการ : ใบแก่จะมีจุดประสีเหลืองอยู่ทั่วทั้งใบ ขอบใบจะมีจุดสีน้ำตาล ปลายใบจะแห้ง ใบเริ่มมีสีซีดลง แต่เส้นใบยังคงเขียวอยู่ ต้นพืชจะมีขนาดเล็กลงมาก ต้นเปราะหักง่าย และผลแก่ช้ากว่าปกติ

วิธีการดูแล : ควรตรวจสอบดินในแปลงปลูกเพิ่มเติม เพราะอาการที่พืชขาดธาตุอาหารชนิดนี้มักเกิดจากการที่ดินมีสภาวะเป็นกรด หลังจากนั้นให้เพิ่มปุ๋ยหรืออินทรียวัตถุอื่นๆ ที่มีธาตุอาหารแมกนีเซียมเข้าไป

–พืชผลขาดโมลิบดินัม (Mo)

อาการ :  ใบจะผิดรูป ม้วนงอเข้าหากัน มีขนาดเล็กกว่าปกติ ขอบใบเหลืองซีด มีจุดด่างกระจายอยู่ทั่วใบ ถ้าในใบอ่อนจะมีลักษณะเรียวยาว ลำต้นแคระแกร็น ติดดอกเล็ก หากติดผล ผลก็จะร่วงอย่างรวดเร็ว

วิธีการดูแล : ให้สารประกอบโซเดียมโมลิบเดทหรือแอมโมเนียมโมลิบเดทกับพืช ทั้งในรูปแบบของปุ๋ยที่ใส่ลงในแปลงปลูก และผสมกับน้ำฉีดพ่นให้พืชโดยตรง

–พืชผลขาดสังกะสี (Zn)

อาการ : พืชที่ขาดธาตุอาหารชนิดนี้ มักเกิดขึ้นในสภาพอากาศที่ชื้นและเย็น โดยใบจะมีจุดสีเหลืองๆ ล้อมรอบจุดสีน้ำตาลคล้ายราสนิม หากมีอาการแบบนี้พืชจะดูดซับออกซิเจนน้อยลง ทำให้เติบโตช้า ลำต้นป้อม ไม่ค่อยออกดอก ถ้ามีผลจะสีซีด เปลือกหนา และมีน้ำน้อย

วิธีการดูแล : บำรุงด้วยปุ๋ยที่มีแร่ธาตุสังกะสีเป็นส่วนประกอบ

เรือกสวนไร่นาของพี่น้องเกษตรกรท่านไหนที่กำลังประสบปัญหาพืชผลขาดธาตุอาหาร รีบจัดโดรนเกษตรรุ่นใหญ่ DJI AGRAS T30 ไปกู้สถานการณ์ด่วนเลยครับ เพราะโดรนของเราสามารถหว่านพ่นปุ๋ยเพื่อเพิ่มธาตุอาหารที่พืชผลต้องการได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ ด้วยความเร็ว 75-100 ไร่/ชม. ลุยได้ทุกพื้นที่ แบบไม่ต้องกลัวตก! บอกเลยว่ามีโดรนเกษตรตัวนี้ตัวเดียว รับรองเอาอยู่แน่นอนครับ

– มาตรวัดปริมาณน้ำแบบใหม่ แม่นยำ พร้อมคำนวณจุดน้ำหมดและระยะทางกลับที่ใกล้ที่สุดเพื่อประหยัดแบตเตอรี่

– ใช้งานร่วมกับ Phantom 4 RTK เพื่อวางแผนการบินผ่านสมาร์ตโฟนได้  โดยจัดการเส้นทางการบินในรูปแบบแผนที่สามมิติ ช่วยสร้างเส้นทางการบินที่แม่นยำ

– กันน้ำกันฝุ่นได้ ในระดับ IP67 หมดกังวลกับปัญหาฝุ่นเข้าและน้ำยากัดกร่อน สามารถล้างทำความสะอาดด้วยน้ำได้โดยตรงทั้งลำ

– ดีไซน์พับเก็บได้ ลดการใช้พื้นที่ 80% มาพร้อมชุดพับแขนออกแบบใหม่ ใช้งานง่าย และปลอดภัย

– กล้อง FPV ด้านหน้า-หลัง พร้อมไฟสปอร์ตไลท์ส่องสว่าง ช่วยให้ผู้ใช้งานดูวิดีโอถ่ายทอดสด จากกล้องความละเอียดสูงผ่านหน้าจอบนรีโมตฯ ได้ทันที

– เรดาร์ทรงกลม กันชนได้รอบทิศทาง สามารถบินหลบหลีกสิ่งกีดขวางให้อัตโนมัติ ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการทำงานได้เต็มที่

– แบตเตอรี่รุ่นใหม่ ความจุ 29,000 mAh ชาร์จได้ถึง 1,000 รอบ และรองรับการชาร์จเร็วภายใน 10 นาที

– ถังหว่านเมล็ด ความจุ 35 ลิตร รองรับการใส่ปุ๋ยที่หลากหลาย และการหว่านมีความแม่นยำมากขึ้น ช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากกว่าเดิม

ข้อมูลจาก https://dronekaset.phantomthailand.com/

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

มาดูความแตกต่างระหว่างปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์

3 เหตุผลที่คนทำการเกษตรควรใช้บริการตรวจดินมืออาชีพ!

แต่ละภาค...ปลูกอะไรดี?