ธาตุอาหารที่จำเป็นและการใช้ปุ๋ยเคมีในสับปะรด
สับปะรดเป็นพืชที่ต้องการธาตุไนโตรเจน และโพแทสเซียมสูง ถ้าขาดไนโตรเจนจะเริ่มแสดงอาการที่ ใบอ่อนจะมีสีเขียวจาง ๆ แต่ใบแก่ยังคงมีสีเขียวเข้ม ต่อมาใบที่งอกใหม่จะมีขอบสีแดง แต่บัวใบสีเหลืองซีดถึงช่วงนี้แล้วต้องรีบแก้ไขโดยให้ปุ๋ยทันที มิฉะนั้นจะทำให้ผลผลิตลดลงมาก หน่อและตะเกียงจะไม่เกิดเลย ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตเป็นแหล่งไนโตรเจน ที่หาได้ง่ายและราคาไม่แพงนัก
ถ้าขาดโพแทสเซียม ปลายใบจะไหม้ จะมีจุดไหม้ที่ใบแก่ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและเหี่ยวแห้งไป ผลมีขนาดเล็กสุกช้า และมีปริมาณกรดในเนื้อสับปะรดน้อยมาก ธาตุโพแทสเซียมนี้ได้จากปุ๋ยโพแทสเซียมซัลเฟตเป็นส่วนใหญ่ ความต้องการธาตุฟอสฟอรัสในสับปะรด นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับธาตุอาหารหลักทั้งสอง เพราะส่วนใหญ่ในดินมีฟอสฟอรัสเพียงพออยู่แล้ว แต่ถ้าในดินขาดธาตุฟอสฟอรัสแล้วจะทำให้ต้นไม่แข็งแรง หน่อและตะเกียบจะลดจำนวนลงมาก
อาการขาดธาตุเหล็ก เริ่มจากใบอ่อนมีสีซีดคล้ายขาดไนโตรเจนและมีรอยแต้มสีแดงขึ้นทั่วไป มีสีน้ำตาลที่ปลายรากและไม่มีรากแขนงให้เห็น ผลจะแก่เร็วขึ้น แต่มีกรดในเนื้อต่ำ การแก้ไขอาการขาดธาตุเหล็กนั้นโดยการใช้เหล็กซัลเฟตฉีดพ่นในอัตรา 1-3 ในบริเวณที่มีแมงกานีสสูงหรือในดินที่มีระดับความเป็นกรด-ด่างที่สูงกว่า 5.8 จะพบอาการขาดธาตุเหล็กอยู่เสมอในดินทรายที่มีอินทรียวัตถุต่ำจะพบอาการขาดธาตุทองแดง และสังกะสีอาการปรากฏคือที่ยอดของใบอ่อน จะบิด เบี้ยวใบจะแคบ และมีสีเหลืองอ่อนความ ทนทานของผล ต่อแสงแดดจะลดลง ทำให้ผิวเปลือกไหม้เกรียมเป็นหย่อม ๆ แก้ไขโดยใช้สังกะสีซัลเฟตและทองแดงซัลเฟตในรูปสารละลายฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้นและใบ ปุ๋ยที่จะใส่ให้สับปะรดนับเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมความเป็นกรด-ด่างของดิน การใช้ปุ๋ยเคมีในรูปแคลเซียมจะมีส่วนเพิ่มความเป็นด่าง ในขณะเดียวกันการใช้ปุ๋ยเคมีที่อยู่ในรูปซัลเฟตจะเพิ่มความเป็นกรดในดิน การให้ปุ๋ยสับปะรดนั้นผู้ปลูกแต่ละรายก็ใช้ปุ๋ยแตกต่างกันไป เนื่องจากสภาพดิน และปัจจัยอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะใช้ปุ๋ย 3-4 ครั้งต่อรุ่น ปุ๋ยที่ใช้มากคือ ปุ๋ยไนโตรเจนและปุ๋ยผสมสูตรต่าง ๆ เช่น 12-4-18+ธาตุอาหารเสริม
ปุ๋ยสำหรับสับปะรด กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำการใส่ปุ๋ยดังนี้ คือ
สับปะรดรุ่นแรก ครั้งที่ 1 ก่อนปลูกใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอก 1 ตันผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตสูตร 0-3-0 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ โรยเป็นแถวหลังไถแปรตามแนวร่องปลูกเพื่อปรับปรุงดินสำหรับกระตุ้นการออกราก
ครั้งที่2 หลังปลูก1-2 เดือนหรือระยะเริ่มออกรากใส่ปุ๋ยสูตรที่มีสัดส่วนไนโตรเจนสูง เช่น สูตร 21-0-0 หรือ 16-20-0 อัตรา 7-10 กรัมต่อต้น ใส่ดินโคนต้นฝังหรือกลบปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกในขณะดินมีความชื้นเพียงพอ
ครั้งที่ 3 หลังปลูก 4-6 เดือน ใส่ปุ๋ยครบสูตรที่มีสัดส่วนโพแทสเซียมสูง 3:1:4 เช่นสูตร 12-4-18+ธาตุอาหารเสริม, 15-5-20, 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง ซึ่งไนโตรเจนไม่ควรเกิน 15% ป้องกันสารไนเตรทตกค้างอัตรา 10 กรัมต่อต้น ใส่บริเวณกาบใบล่างในขณะกาบใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ย
ครั้งที่4 ก่อนบังคับผล1-2 เดือน ให้ธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมได้แก่ แคลเซียม โบรอน โดยฉีดพ่นเข้าทางใบ
ครั้งที่ 5 หลังบังคับผลประมาณ 3 เดือน ใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) หรือโพแทสเซียมซัลเฟต (0-0-50) อัตรา 7-10 กรัมต่อต้น ใส่บริเวณกาบใบล่างในขณะกาบใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ย
สับปะรดที่ไว้หน่อ(หลังเก็บผลรุ่นแรก)
- หลังจากเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 21-0-0 หรือ 16-20-0 บริเวณกาบใบล่างอัตรา 10กรัมต่อต้น เพื่อบำรุงต้นตอและเร่งหน่อ
- ระยะดูแลรักษาต้นตอจนถึงระยะบังคับผล และระยะเก็บเกี่ยวใส่สูตรและอัตราเดียวกับต้นรุ่นแรก (ครั้งที่ 3-5) ถ้ามีฝนให้ใส่ที่กาบใบหน้าแล้งอาจใช้วิธีฉีดพ่นทางใบ
ข้อมูลจาก http://charitphomkum-amin999.blogspot.com/2011/09/blog-post_14.html
####
iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025
1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที
2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ
3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน)
สอบถามเพิ่มเติม
โทร 090 592 8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น