แนวทางในการลดต้นทุนสินค้าเกษตร

 

จากประสบการณ์ที่มีโอกาสได้เข้าไปช่วยในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการโลจิสติกส์และการจัดการโซ่อุปทานในการลดต้นทุนสินค้าการเกษตรของเกษตรกร ผู้รวบรวมสินค้าเกษตร (คนกลาง) และผู้ประกอบการสินค้าค้าการเกษตร พบว่า ยังมีปัญหาอยู่อีกมาก จึงได้มีการทำวิจัยระดมความคิดเห็นทั้ง 3 กลุ่ม ก็ได้รับคำตอบว่า หากจะต้องการลดต้นทุนสินค้าการเกษตรจะต้องมีการแก้ไขปัญหาตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง ควรดำเนินการ ดังนี้ 

ด้านเกษตรกร มีปัญหา 1. ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ 

2. สภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยในการเพาะปลูก 

3. แรงงานคนไทยหายาก จึงต้องใช้แรงงานต่างด้าว  

4. น้ำหนักของผลผลิตลดลงระหว่างการเคลื่อนย้ายขนส่ง

5. จากโรคเชื้อรา แบคทีเรีย หรือแมลงศัตรูพืช ดังนั้น แนวทางที่เกษตรกรต้องการให้ช่วยเหลือและพัฒนาให้เกิดการลดต้นทุนคือ 

1) การพัฒนาความรู้ด้านการเกษตรสมัยใหม่ ด้วยการฝึกอบรม การศึกษาดูงานในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ และจัดให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างเกษตรกร นักวิชาการ และผู้ประกอบการ ในเรื่องการฟื้นฟูสภาพดิน การตรวจวิเคราะห์ดิน การใช้ปุ๋ย วัสดุปรับปรุงดิน การวางแผนการผลิต การเตรียมดินที่เหมาะสม การจัดหาเมล็ดพันธุ์ การเลือกใช้วัสดุสำหรับการเพาะกล้าที่เหมาะสม การเลือกใช้วิธีการกำจัดและควบคุมวัชพืช โรคและแมลงศัตรูพืชให้เหมาะสม การใช้ปุ๋ยเคมีให้ถูกหลักการ และการให้ความสำคัญกับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ตลอดจนวิธีการเพิ่มผลผลิตปริมาณและคุณภาพของผลผลิตอย่างคงเส้นคงวา 

2) การให้ความรู้เกี่ยวกับทำการตลาดยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการหาแหล่งการจัดจำหน่ายใหม่ ๆ การหาพันธมิตรทางการค้าทั้งใน-ต่างประเทศ ที่ผ่านมาส่วนใหญ่มักรอให้มีการตกลงซื้อขายทั้งไร่ 

3) การพัฒนาระบบการปฏิบัติทางการเกษตรให้ได้มาตรฐานการผลิต การใช้เทคโนโลยีในการผลิตที่ปลอดภัย 

ส่วนผู้รวบรวมสินค้าเกษตร (คนกลาง) และผู้ประกอบการสินค้าการเกษตร มีปัญหา 

1) ผลผลิตจากเกษตรกรไม่ได้คุณภาพและปริมาณที่ต้องการ 

2) สินค้าทางการเกษตรที่มีอายุค่อนข้างจำกัด ผลผลิตมักเป็นตามฤดูกาลหรือเกษตรกรนิยมปลูกทำให้เกิดสภาพล้นตลาด 

3) การเก็บรวบรวมสินค้าเกษตรในแต่ละแห่งในแต่ละช่วงฤดูกาล บางช่วงฤดูอากาศร้อน บางช่วงฤดูอากาศเย็น จึงทำให้ผลผลิตเมื่อเวลาขนส่งเกิดความเสียหายเมื่อส่งต่อไปยังผู้ประกอบการ 

ดังนั้น แนวทางในการลดต้นทุน คือ 

1) ต้องมีการควบคุมผลผลิตทางการเกษตรตั้งแต่ต้นทาง โดยทำความตกลงกับนายหน้าและเกษตรกร ในการที่จะคัดเกรดคุณภาพสินค้าและจำนวนผลผลิตที่จะนำออกสู่ท้องตลาด เนื่องจากมีผลผลิตของแต่ละพื้นที่ออกมาพร้อม ๆ กันจะทำให้ราคาถูกลงได้ จึงควรหาแนวทางในการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เช่น แปรรูป ส่งเสริมให้ผลิตปริมาณน้อย แต่ตามความต้องการของตลาดมีมาก สามารถตั้งราคาสูงได้ เป็นต้น

2) จัดกลุ่มลูกค้าแบ่งตามพื้นที่โดยแบ่งเป็นกลุ่มลูกค้ากรุงเทพฯ และกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด 

3) เลือกประเภทของรถขนส่งสินค้าให้เหมาะสมกับพื้นที่ในการขนส่งโดยพิจารณาเงื่อนไขการจำกัดช่วงเวลาในการเดินรถ และคำนวณและศึกษาระยะทางว่าเส้นทางไหนที่จะสะดวก และสั้นที่สุด

4) ถ้าบรรทุกสินค้าได้เต็มคันสามารถลดต้นทุนในการขนส่งได้แน่นอน เมื่อรถมาเร็วขึ้น สินค้าก็จำหน่ายได้เร็ว รวมทั้งสามารถตั้งราคาขายได้ก่อน และประการสุดท้าย คือ การเป็นพันธมิตรทางการค้า (Partner) กันจริง ๆ มิใช่ ผู้ค้าขายระหว่างกัน ในการตรวจสอบและส่งต่อของข้อมูลพืชผลทางการเกษตรในแต่ละพื้นที่ผ่านระบบเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารในการทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ อินเตอร์เน็ท หรือโซเซียลเน็ทเวิร์ค ซึ่งจะช่วยให้การไหลของข้อมูลในเครือข่ายทั้งระบบโลจิสติกส์และซัพพลายเชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยได้รับผลประโยชน์เชิงธุรกิจร่วมกันอย่างลงตัว

ข้อมูลจาก https://www.dit.go.th/region/NAKHON%20RATCHASIMA/Knowledge_Detail?id=78

####

iLab.work ผู้ให้บริการ ตรวจวิเคราะห์ค่า ดิน น้ำ ปุ๋ย ในรูปแบบออนไลน์ ที่ใช้บริการง่ายที่สุด เพียงแค่นับ 1 2 3 ภายใต้มาตฐาน ISO/IEC 17025

1. เลือกชุดตรวจแนะนำ หรือเลือกเองตามต้องการที่ www.ilab.work ระบบจะคำนวณค่าใช้จ่าย ในการตรวจวิเคราะห์ให้ท่านทราบขณะเลือกทันที

2. ส่งตัวอย่าง ดิน น้ำ หรือ ปุ๋ย ที่ต้องการตรวจวิเคราะห์ไปที่ iLab [ห้องปฏิบัติการ อัยย์แลป (iLab) เลขที่ 94/1 ม.8 ต.ตระคร้ำเอน อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี 71120] ทาง ไปรษณีย์ หรือ เคอรี่ หรือ แฟรช ตามที่ลูกค้าสะดวก และ ชำระเงินค่าตรวจ

3. รออ่านผลตรวจวิเคราะห์ออนไลน์หน้าเว็บไซต์ (ผลตรวจออกใน 3-15 วัน) 

สอบถามเพิ่มเติม

โทร 090 592 8614

ไลน์ไอดี @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ลำดับการทำงานของธาตุอาหารพืช (Biochemical Sequence) - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

ว่าด้วยเรื่อง ธาตุอาหารของพืช ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต - iLab.work ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย ตรวจน้ำ ตรวจกากอุตสาหกรรม

12 อาการต้นไม้ขาดธาตุอาหาร พร้อมวิธีดูแลต้นไม้ให้ฟื้นคืนชีพ